อาบัต ๗ กอง
ได้ฟังเสมอว่า อาบัต ๗ กอง แต่ในหนังสือ วินัย ทำไมถึงมีแปด คือ
๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. อนิยต ๔. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๕. ปาจิตตีย์ ๖. ปาฏิเทสนียะ ๗. เสขิยวัตร ๘. อธิการณสมถะ
ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิดอย่างไร ขอความกรุณาอธิบายด้วยคะ
อาบัติมี ๗ กอง ส่วนอธิกรณสมถะ คือธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับเรื่องที่เกิดขึ้นค่ะ
๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. อนิยต ๔. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๕. ปาจิตตีย์ ๖. ปาฏิเทสนียะ ๗. เสขิยวัตร ๘. อธิการณสมถะ เพิ่ม ทุกกฏ ถุลลัจจัย ทุพภาสิต ๓ อาบัตนี้อยู่ในประเภทไหนในอาบัต ๗ หรือเป็นข้อพิเศษไม่ใช่อาบัต ขอความกรุณาอธิบายด้วยคะ
ทั้ง ๗ ที่ท่านยกมาเป็นสิกขาบทที่ควรศึกษา แต่ความก้าวล่วงในสิกขาบทนั้นๆ เป็นอาบัติ อาบัติทุกกฏ เนื่องกับสิกขาบททั้งหมด คือปาราชิก สังฆาทิเสส เป็นต้น สำหรับอาบัติถุลลัจจัย เนื่องในปาราชิกและสังฆาทิเสสก็มี เป็นสิกขาบทโดยเฉพาะก็มี เช่น ภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ ต้องอาบัติถุจจจัย ส่วนอาบัติทุพภาษิตเนื่องในสิกขาบทปาจิตตีย์ คือ โอมสวาทสิกขาบทครับ
ตามที่เข้าใจ หมายความว่า สิกขาบท ๒๒๗ ข้อ แบ่งเป็นหมวดได้ ทั้งหมด ๘ หมวด เมื่อล่วงสิกขาบทในข้อปาราชิก ก็มีอาบัติแต่ละขั้นจากความเห็นที่ ๔ คืออาบัติทั้งหมด ๑๐ หัวข้อ เมื่อล่วงสิกขาบทปาราชิก ก็อาบัติปาราชิก แต่ในปาราชิกสิกขาบทก็มีข้อปลีกย่อยมากมาย อาจไม่ถึงปาราชิกแต่เป็นทุกกฏหรือถุลลัจจัยก็ได้
ขอช่วยตรวจสอบความเข้าใจด้วยคะ อีกอย่างเรื่องของศีลที่แบ่งเป็นศีล ๑ บ้าง ศีล ๒ จนกระทั่งกล่าวโดยนัยของศีล ๙ ไม่ทราบหาอ่านได้เล่มไหนในพระไตรปิกฏ
ขออนุโมทนาคะ