การเลี้ยงชีพชอบ ปฎิบัติชอบ
ขอเรียนถามว่า
การขายอาหารที่ประกอบจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ฆ่าเอง และการรับประทานอาหารเนี้อสัตว์เพื่อยังชีวิต ถือเป็นการเลี้ยงชีวิตชอบและปฏิบัติชอบหรือไม่
การขายอาหารที่เว้นจาก กายทุจริต ๓ คือ
การฆ่าสัตว์ ๑
การลักทรัพย์ ๑
การประพฤติผิดในกาม ๑
เว้นจาก วจีทุจริต ๔ คือ
พูดมุสาวาท ๑
พูดหยาบ ๑
พูดส่อเสียด ๑
พูดพ้อเจ้อ ๑
ชื่อว่าเป็น การเลี้ยงชีพชอบ
ส่วนการรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ไม่ผิดศีลธรรม พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกฉันเนื้อสัตว์ ไม่ผิดพระวินัย (ยกเว้นเนื้อบางชนิด เช่น เนื้อสุนัข เนื้องู เป็นต้น) สามารถดูหลักฐานในพระวินัยปิฎกและพระสูตรต่างๆ เช่น อามคันธสูตร สีหสูตรและชีวกสูตร เป็นต้น
พระอภิธรรมได้แสดงไว้ชัดเจนว่า กรรม คือ เจตนา ถ้าไม่มีเจตนาฆ่า การรับประทานเนื้อสัตว์ ไม่เป็นกรรม (ปาณาติบาต)
กรุณายกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องความเห็นผิดเรื่องการกินเนื้อสัตว์ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏก
[เล่มที่ 12] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ 125
ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มของหมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลังเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคำบ้าง รับภิกษาที่เรือนเจ็ดหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาด ใบเดียวบ้าง สองใบบ้างเจ็ดใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้างฯลฯ
ข้อความบางตอนจาก...
มหาสีหนาทสูตร
การไม่กินปลาไม่กินเนื้อ เป็นข้อวัตรของพวกอเจลกชีเปลีอย