สติเกิดที่ใด ต่างกันอย่างไร

 
lichinda
วันที่  6 เม.ย. 2551
หมายเลข  8022
อ่าน  1,756

ชวนจิต ทางปัญจทวารกับชวนจิตทางมโนทวาร ต่างกันอย่างไร (มีผู้กล่าวว่าระลึกรู้สภาพธรรมทางมโนทวาร โดยไม่กล่าวว่าระลึกรู้สภาพธรรมทางปัญจทวารที่ชวนวิถีจิตด้วย) สติเกิดกับปัญจวิญญาณจิตได้ไหม (มีผู้กล่าวว่าสติปัฏฐานเกิดได้ทุกทวาร)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 เม.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ชวนจิตทางปัญจทวารมีปรมัตเป็นอารมณ์ เช่น รูป เสียง..เป็นต้น

ชวนจิตทางมโนทวารมีปรมัตหรือบัญญัติเป็นอารมณ์ก็ได้ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาระดับสูง เช่น วิปัสสนาญาณเกิดที่ชวนจิตทางมโนทวาร สติปัฏฐานไม่เกิดกับทวิปัญจวิญญาณจิต (เห็น ได้ยิน..) เพราะไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย สติปัฏฐานเป็นชาติกุศลเกิดขณะที่เป็นชวนจิต ไม่ใช่ขณะเห็น ได้ยิน.. (ทวิปัญจวิญญาณจิต) ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า สติปัฏฐานเกิดได้ทุกทวาร หมายถึง ทางตาสติปัฏฐานก็เกิดได้ แต่ไม่ได้หมายถึงขณะเห็น แต่ขณะที่เป็นชวนจิต สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ๆ ได้ทางตา ทางหู...

สิ่งที่ควรพิจารณาในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไม่ได้คิดถึงเรื่องทวารว่าทางปัญจทวารหรือมโนทวาร แต่ขณะนั้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยไม่ได้นึกเป็นเรื่องราวเลย ดังนั้น ขอให้ย้อนกลับมาที่สภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน ขณะที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็แยกไม่ออกเลยว่าเป็นทางปัญจทวารหรือมโนทวาร แต่การอบรมปัญญานั้นคือความเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเองว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะมีลักษณะให้รู้โดยไม่ได้คิดนึกเป็นเรื่องราว เพราะขณะที่คิดนึกเป็นเรื่องราวก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนั่นเอง

ขออนุโมทนาครับ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 เม.ย. 2551

สติปัฏฐานเกิดได้ทุกทวาร แต่ไม่เกิดกับอเหตุกจิต

อเหตุกจิตมีทั้งหมด ๑๘ ดวง ปัญจวิญญาณจิต เป็นอเหตุกจิตเพราะไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ และสติจะเกิดโดยปราศจากเหตุไม่ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prissna
วันที่ 7 เม.ย. 2551


ขอเรียนถามค่ะ สติปัฏฐานเกิดได้ทุกทวาร (ทั้ง ๖) ที่เกิดทางใจ เป็นอย่างไรค่ะ สำหรับคนเพิ่งเริ่ม และยังไม่ได้ศึกษา วิปัสสนาขั้นสูงๆ ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดไม่มีการคิดคำว่า "กำลังระลึกทวารไหน" จะเป็นทวารไหน ถ้าสติเกิดไม่มีการคำนึงถึงชื่อเลย สภาพธรรมะกำลังมีจริงและท้าทายให้สติระลึก การศึกษาธรรมะของผู้คนในครั้งพุทธกาลศึกษาธรรมะจากลักษณะจริงหลังจากที่ได้ฟังโดยไม่ต้องจำจากชื่อที่จารึกควรเข้าใจมั่นคงว่า ระลึกได้ก็ธรรมะ ระลึกไม่ได้ก็ธรรมะแม้แต่ชื่อก็ธรรมะ แต่จำเป็นต้องใช้ชื่อเพื่อสื่อให้เข้าถึงตัวธรรมะ

...อนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 7 เม.ย. 2551

สาธุ (แม้จะตามเรื่องที่ท่านพูดกันไม่ค่อยทัน)

ผมขอเสนอกระทู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์มากในการเจริญสติ กระทู้หนึ่งครับ

05157 ผู้ยังไม่รู้ทันในขณะที่ลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ

โดย lichinda

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prissna
วันที่ 7 เม.ย. 2551

ระลึกได้ก็ธรรมะ ระลึกไม่ได้ก็ธรรมะ ขออนุโมทนาค่ะ. เหตุยังไม่สมควรแก่ผล แค่ไหนก็แค่นั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
lichinda
วันที่ 7 เม.ย. 2551

สาธุคุณ แล้วเจอกัน ที่กรุณาตอบเพื่อใช้อ้างอิง ต่อไปกรุณาตอบข้อสงสัย ๓ ต่อไปนี้ ด้วยครับว่า

๑.) หทัยวัตถุเป็นที่เกิดของชวนจิตทางปัญจทวาร และเป็นที่เกิดของชวนจิตทางมโนทวารด้วยใช่หรือไม่? มีความแตกต่างกันอย่างไร?

๒.) ถ้ากล่าวว่า รูป-นาม รู้ได้ด้วยใจ ที่ชวนวาระขณะมีสติ ทั้งทางปัญจทวารและทางมโนทวาร ได้ไหมครับ?

๓.) และที่กล่าวว่า "รู้สภาพธรรมทางมโนทวาร" หมายถึง ชวนวาระทางปัญจทวารด้วยใช่หรือไม่ครับ

๔.) หทัยวัตถุ คือ มโนทวารใช่หรือไม่? สภาพรู้ทางปัญจทวารเกิดที่มโนทวารคือ หทัยวัตถุหรือ จึงกล่าวว่า "รู้สภาพธรรมทางมโนทวาร"?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 7 เม.ย. 2551

๑. จิตทุกดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เกิดที่หทัยวัตถุ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕

๒. ทางปํญจทวาร มีรูปเป็นอารมณ์ ทางมโนทวารมีทั้งรูปหรือนามเป็นอารมณ์

๓. ไม่ใช่ค่ะ ไม่รวมกัน ทางมโนทวารจิตเกิดดับทีละขณะค่ะ

๔. มโนทวารเป็นภวังคุปัจเฉท หทยวัตถุเป็นที่เกิด ไม่ใช่ทวารค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
lichinda
วันที่ 8 เม.ย. 2551

คุณ wannee.s ครับ ชวนวิถีจิตทางปัญจทวารต่างกับชวนวิถีจิตทางมโนทวารไหมครับมโนทวารมีรูปเป็นอารมณ์ได้อย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อิสระ
วันที่ 8 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ตอบความเห็นที่ ๙

ชวนวิถีจิตทางมโนทวารรับอารมณ์ต่อจากทางปัญจทวาร ในวาระแรกมีอารมณ์เดียวกัน ถ้าชวนจิตทางปัญจทวารเป็นประเภทอกุศล ชวนจิตทางมโนทวารที่ต่อกันย่อมเป็นประเภทอกุศลเหมือนกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
lichinda
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับคุณ study

เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร ซึ่งเป็นปสาทรูป ทวารหนึ่งทวารใดดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อคั่น แล้วต่อจากนั้น มโนทวารวิถีจิต คือ จิตที่อาศัยใจ (ภวังคุปัจเฉทจิต) เป็นทวารรู้อารมณ์ก็เกิดขึ้น รู้อารมณ์เดียวกับวิถีจิตทางปัญจทวารที่เพิ่งดับไปแล้วนั้น

ในวาระหนึ่งๆ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวารนั้น ไม่มากเท่ากับวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร และทางมโนทวารนั้นเมื่ออารมณ์ไม่ได้กระทบกับจักขุปสาท เป็นต้น จึงไม่มีอตีตภวังค์ แต่ก่อนที่มโนทวาราวัชชนจิตจะรำพึงถึงอารมณ์ที่วิถีจิตรู้ทางปัญจทวารแล้วดับไปนั้น ภวังคจลนะจะต้องเกิดขึ้นไหวตามอารมณ์นั้นแล้วดับไป แล้วภวังคุปัจเฉทะจึงเกิดขึ้นแล้วดับไป

ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตจึงเกิดขึ้น เป็นมโนทวารวิถีจิตที่ ๑ จิตที่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารนั้นไม่ใช่ปัญจทวาราวัชชนจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจได้ทางปัญจทวารเท่านั้น ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารไม่ได้เลย จิตที่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารมี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจรำพึงถึงอารมณ์ทางมโนทวาร คือ นึกถึงอารมณ์ทางมโนทวาร

ในวันหนึ่งๆ ที่คิดนึกเรื่องต่างๆ นั้น ขณะที่คิดนั้น จิตไม่รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลย เมื่อภวังคจลนะเกิดขึ้นแล้วดับไป ภวังคุปัจเฉทะก็เกิดต่อแล้วดับไป แล้วมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นเป็นมโนทวารวิถีจิตที่ ๑ เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ กุศลจิต หรืออกุศลจิต ซึ่งเป็นชวนวิถีจิตก็เกิดดับสืบต่อซ้ำกัน โดยเป็นจิตประเภทเดียวกันทั้ง ๗ ขณะ เมื่อกุศลชวนวิถีจิตหรืออกุศลชวนวิถีจิตดับไปแล้ว ถ้าเป็นอารมณ์ทางใจที่ปรากฏชัดเจน ตทาลัมพนวิถีจิตก็เกิดต่ออีก ๒ ขณะ

(ปรมัตถธรรมสังเขป หน้า ๔๐)

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
lichinda
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ขณะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับทางจักขุทวารนั้น เป็นจักขุทวารวิถีทั้งหมดทั้ง ๗ วิถี

เพราะต้องอาศัยจักขุทวารจึงเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏทางตาซึ่งยังไม่ดับ ขณะที่กำลังได้ยินเสียง วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้เสียงที่ยังไม่ดับทางโสตทวารทั้ง ๗ วิถีนั้น ก็เป็นโสตทวารวิถี ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยนัยเดียวกัน

(ปรมัตถธรรมสังเขป หน้า ๔๑)

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
lichinda
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ชวนวิถีจิตทางปัญจทวาร มีรูปที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ชวนวิถีจิตทางมโนทวาร ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ แต่ก็รู้อารมณ์เดียวกับทางปัญจทวาร รู้แล้วก็ยึดเอา ถือเอาไว้เป็นอารมณ์ ทั้งๆ ที่หามีรูป-นามไม่ นี่แหละกิเลส ตัณหา ราคะรูปทางมโนทวารเป็นอย่างนี้หรือ

เชิญสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sam
วันที่ 9 เม.ย. 2551

ขออนุญาตเรียนถามคุณ lichinda ครับว่า

วิถีจิตทางปัญจทวารมีรูปเป็นอารมณ์ และ วิถีจิตทางมโนทวารรู้อารมณ์เดียวกับทางปัญจทวาร แล้ว จะกล่าวได้หรือไม่ว่า " วิถีจิตทางมโนทวารไม่มีรูปเป็น อารมณ์" สิ่งใดมีจริง สิ่งใดไม่มีจริงระหว่าง

๑. รูป

๒. นาม

๓. บัญญัติ

ทั้งรูป นาม และบัญญัติ เป็นอารมณ์ของจิตในชีวิตประจำวัน

คุณ lichinda คิดว่าเรา ติดในสิ่งใดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
lichinda
วันที่ 9 เม.ย. 2551

คุณ K ครับ ควรกล่าวว่า

รู้อารมณ์เดียวกับวิถีจิตทางปัญจทวารที่เพิ่งดับไปแล้วนั้น ไม่สมควรกล่าวอย่างอื่น

รูปนั้นระยิบระยับยิ่งกว่าฝุ่นละอองในอากาศ กระทบปสาทรูป ๕ ตลอดเวลา นามก็ระยิบระยับไปกับรูป แยกกัน แต่ก็ยากที่จะประจักษ์ แม้ดับไปแล้ว ใจก็รำพึงนึกถึงรูป-นามที่ดับไปแล้ว มียินดีพอใจ ติดข้อง ด้วยกิเลสตัญหา ปรุงแต่งสวยกว่ารูปจริงๆ เสียอีก สภาพรู้ที่แปรเปลี่ยน ย่อมไม่ใช่รู้รูปที่ยืนให้รู้ทางปัญจทวารแต่จิตได้อาศัยใจ คือ มโนทวาร รู้อารมณ์ รู้รูปที่ดับไปแล้วนั้น จะกล่าวว่าไม่มีรูปเป็นอารมณ์ได้หรือ การนึกถึงรูปที่ดับไป จะกล่าวว่า "ไม่มีรูปเป็นอารมณ์" หรือจะกล่าว "มีรูปที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์" นามไม่มีรูปเป็นอารมณ์มีหรือ

รูป-นาม มีจริง เป็นปรมัตถ์บัญญัติมีจริง การสมมติมีจริง รัก ชอบ โกรธ หลงมีจริง แต่ไม่ใช่ปรมัตถ์

รูป-นาม และบัญญัติ ผมคิดว่าปุถุชนติดข้องใน รูป-นาม และบัญญัติ เสขบุคคลยังติดข้องใน รูป-นาม อยู่ จนกว่าจะเป็นอเสขบุคคลครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
lichinda
วันที่ 10 เม.ย. 2551

คุณ K ครับ

วิถีจิตที่ ๕ คือ โวฏฐัพพนจิต (ได้แก่มโนทวาราวัชชนจิตที่เกิดขึ้นทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร ) เกิดขึ้นเป็นชวนปฏิปาทกะทำการกำหนด คือ กระทำทางให้กุศลจิตฝ่ายโลกีย์ หรืออกุศลจิต หรือมหากิริยาจิตเกิดต่อ (ปรมัตถธรรมสังเขปหน้า ๓๕) จะกล่าวได้ไหมว่าเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร หรือกล่าวได้ไหมว่าเกิดที่หทัยวัตถุแต่เป็นทางปัญจทวาร สมัยปัจจุบันคำว่า มโน, หทัย, จิต หมายถึงใจ วิถีจิตเกิดที่ใจ ปัญจวิญญาณจิตก็รู้ที่ใจ (หูไม่หนวกนอนหลับไม่ได้ยิน)

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Sam
วันที่ 10 เม.ย. 2551

ผมขอตอบตามความเข้าใจที่มีอยู่ในขณะนี้ หากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนประการใดขอเชิญท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับ โวฏฐัพพนจิต เป็นกิริยาจิตที่ทำโวฏฐัพพนะกิจทางปัญจทวาร และทำอาวัชนะกิจทางมโนทวาร ดังนั้น เมื่อจิตดวงนี้ทำโวฏฐัพพนะกิจย่อมเป็นปัญจทวารวิถีจิต ไม่ใช่มโนทวารวิถีจิต จิตดวงนี้และจิตอื่นๆ ที่เหลือ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต) ล้วนเกิดที่หทยวัตถุ แต่เมื่อทำกิจทางปัญจทวารก็เป็นปัญจทวารวิถีจิตครับ หลังจากปัญจทวารวิถีจิตดับไปแล้ว มีภวังคจิตเกิดดับหลายขณะ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกรู้อารมณ์ (รูป) เดียวกับทางปัญจทวารวิถี แล้วมีภวังคจิตขั้นอีก และมโนทวารวิถีจิตวาระต่อๆ มาจะคิดนึกถึงเรื่องราว (บัญญัติ) ของรูปนั้นครับ รูปและนามเป็นปรมัตถธรรม มีสภาวลักษณะของตนๆ จึงมีจริง ส่วนบัญญัติไม่มีลักษณะสภาวะของตนจึงไม่มีจริง บัญญัติมีเมื่อคิดเท่านั้น แต่ปรมัตถธรรมมีจริงตลอดเวลาไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่ เราติดข้องใน นาม รูป และบัญญัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
lichinda
วันที่ 10 เม.ย. 2551

ธรรมะเป็นเรื่องละเอียดนะครับคุณ K พระปัญญาคุณของพระภูมิพระภาคทรงตรัสรู้ ด้วยพระมหากรุณาคุณทรงจำแนกทรงแสดงธรรมจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้ และได้เทศนาไว้ สมควรที่เราต้องศึกษาตาม วิถีจิต เมื่อจำแนก กล่าวโดยกิจ โดยทวาร ก็ต่างกันไป สิ่งที่มีจริงโดยปรมัตถ์โดยบัญญัติ ก็ต้องกล่าวให้ถูกต้อง
การถาม การสนทนาธรรม ก็เป็นสภาพธรรมนะครับ ก็สามารถเจริญสติได้ ถามด้วยจิตเป็นกุศล ตอบด้วยจิตเป็นกุศล แลกเปลี่ยนความเข้าซึ่งกันและกัน ที่คุณตอบมาทำให้ผมนึกได้ว่า โวฏฐัพพนจิตทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร และทำอาวัชนกิจทางมโนทวาร ในการเจริญสติปัฏฐานก็ไม่ต้องรีบไปรู้ละเอียดถึงขั้นนี้ แต่ผมเห็นว่าพอที่จะคลายความสงสัยที่เกิดขึ้น จึงถามเพราะมีผู้กล่าวว่า "ระลึกรู้สภาพธรรมทางมโนทวาร" ผมก็สงสัย ค้นคว้า และถามเรื่องมโนทวารมานานแล้ว ความจริงการรู้สภาพธรรมไม่ใช่ทางมโนทวารอย่างเดียว ทางปัญจทวารก็มี ผมจึงสงสัยว่าผู้กล่าวหมายถึงวิปัสนาญาณขั้นใด หรือโดยจิตเกิดที่หทัยวัตถุ หรือ รวมความว่าใจเป็นมโนทวาร แต่ผมพอทำความเข้าใจได้แล้วว่า เป็นความละเอียดของธรรมะ ซึ่งผู้รู้ได้กล่าวโดยระมัดระวัง ผมอาจจำมาไม่ครบทุกคำ และเข้าใจผิดเอง ด้วยเหตุนี้จึงตั้งกระทู้นี้ในเวทีธรรมเพื่อเชิญทุกท่านสนทนาธรรม
ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
Sam
วันที่ 10 เม.ย. 2551

พระธรรมละเอียดลึกซึ้งยากที่จะทำความเข้าใจแม้เพียงขั้นปริยัติ ดังนั้นการศึกษาและการแสดงธรรมจึงต้องมีความรอบคอบและระมัดระวังมากครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
lichinda
วันที่ 10 เม.ย. 2551

สภาพรู้เป็นภายใน อารมณ์เป็นภายนอก คือ การแยกกันของนามรูป ใครประจักษ์บ้าง เล่าให้ฟังบ้าง ที่ (จิต) ชื่อว่า “หทย” เพราะความหมายว่าเป็นสภาวะอยู่ภายใน จิตเป็นภายใน เพราะเป็นสภาพรู้อารมณ์ที่ปรากฏ อารมณ์เป็นภายนอก เพราะเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ ฉะนั้น การศึกษาเรื่องจิตจึงเป็นการพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ทั้งภายในและภายนอกจึงจะรู้ลักษณะของจิตได้ จิตมีจริง แต่จิตอยู่ไหน จิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นภายใน ในขณะที่เห็น จิตไม่ได้อยู่ข้างนอก สีสันวัณณะกำลังปรากฏภายนอก จิตเป็นสภาพธรรมที่อยู่ภายใน คือเป็นสภาพธรรมที่กำลังรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา (ปรมัตถธรรมสังเขป หน้า ๑๙)

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
reflect
วันที่ 12 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนา คุณ k
 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
lichinda
วันที่ 12 เม.ย. 2551

ความเป็นผู้มีอุปนิสัยชอบสงสัยไต่ถาม คงจะสะสมมาในอดีต รู้แล้วบางที่ก็ยังจะถาม เพื่ออยากจะฟังบ่อยๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 19 เม.ย. 2551
ขณะนี้มีอะไร...
 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
lichinda
วันที่ 20 เม.ย. 2551
ไม่มีใครรู้ด้วยได้ ถามใครไม่ได้ นอกจากตนเอง
 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
ป้าจาย
วันที่ 22 เม.ย. 2551
ขณะนี้ มีรูปและนาม
 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
lichinda
วันที่ 22 เม.ย. 2551

ก็ใครจะรู้แทนกันได้เล่า

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ