ปกิณณกเจตสิก
ปกิณณกเจตสิก
ปกิณฺณก (เรี่ยราย คละกัน เบ็ดเตล็ด) + เจตสิก (สภาพที่เกิดกับจิต)
เจตสิกที่เรี่ยรายทั่วไป หมายถึง เจตสิก ๖ ดวง ซึ่งเกิดได้กับจิตทั้ง ๔ ชาติ แต่ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง ได้แก่
๑. วิตก
๒. วิจาร
๓. อธิโมกข์
๔. วิริยะ
๕. ปีติ
๖. ฉันทะ
วิตกเจตสิก เป็นสภาพที่ตรึกหรือจรดในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๕๕ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง รูปฌานที่ ๒, ๓, ๔, ๕ ทั้ง ๓ ชาติรวม ๑๒ ดวง และอรูปฌานจิตทั้ง ๑๒ ดวง
วิจารเจตสิก เป็นสภาพที่ตรองหรือเคล้าเคลียในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๕๘ ดวง (โดยพิสดาร ๖๖ ดวง) เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง รูปฌานที่ ๓, ๔, ๕ ทั้ง ๓ ชาติ รวม ๙ ดวง และอรูปณานจิตทั้ง ๑๒ ดวง
อธิโมกขเจตสิก เป็นสภาพที่ปักใจในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๗๘ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวงและโมหมูลจิตวิจิกิจฉาสัมปยุตต์ ๑ ดวง
วิริยเจตสิก เป็นสภาพที่พากเพียรไม่ท้อถอยในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๗๓ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง มโนธาตุ ๓ ดวง และสันตีรณจิตทั้ง ๓ ดวง
ปีติเจตสิก เป็นสภาพที่ปลาบปลื้ม เอิบอิ่มในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๓๕ ดวง (โดยพิสดาร ๕๑ ดวง) เว้นจิตที่ไม่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาทั้งหมด (ในฌานที่ ๔ มีโสมนัสเวทนา แต่ไม่มีปีติ เพราะเห็นโทษ ของปีติว่าเป็นสภาพที่หยาบ)
ฉันทเจตสิก เป็นสภาพที่ใคร่ที่จะกระทำ หรือพอใจในอารมณ์ เกิดกับจิตได้ ๖๙ ดวง เว้น อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และโมหมูลจิต ๒ ดวง
กราบขอบพระคุณท่านทั้งสอง โดยความเคารพยิ่ง และจะค่อยๆ ศึกษาค่ะ