...สะใภ้ใหม่...
เมื่อลูกสาวผ่านวัยเรียน เข้าสู่วัยทำงาน กลับจากทำงาน ลูกจะมีเรื่องมาเล่าให้ฟังทุกวัน เรื่องงานที่ทำบ้าง เรื่องคนที่ทำงานบ้าง แม่นั่งฟัง แล้วสอนลูกว่า "ทำตัวให้เป็นเหมือน สะใภ้ใหม่"
ลูกถามว่า "ทำไงคะ? เคยเป็นแต่ลูกสาวคนเก่า ยังไม่เคยเป็นสะใภ้ใหม่" แม่อึ้งสักครู่ นึกในใจว่า จริงนะ แม่เองก็ลืมไปแล้วเหมือนกัน ตอนนี้แม่ ก็ทำตัวเป็นสะใภ้เก่า หรือจะเข้าทำนอง "แม่ปูสอนลูกปู กระมัง !!"
แม่ (คนนี้) มักจะเป็นเช่นนี้เสมอ ต้องการให้ลูกทำสิ่งที่ถูก ที่ควร แต่แม่ลืมดูตัวเองว่า เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นหรือเปล่า?
มีกาย มีใจหลีกออกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอคือ ไม่ถือตัวและไม่คะนองในตระกูลทั้งหลายค่ะ
เรื่องการสอนสะใภ้ใหม่ก็มีปรากฎในสมัยพุทธกาลเช่นกัน เมื่อครั้งที่ท่านวิสาขามหาอุบาสิกาได้เข้าพิธีแต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร บุตรชายมิคารเศรษฐี ชาวเมืองสาวัตถี ครั้นพิธีการเสร็จสิ้นแล้วจะต้องส่งเจ้าสาวไปบ้านสามี ธนัญชัยเศรษฐีจึงเรียกนางวิสาขา ให้เข้ามานั่งใกล้ๆ แล้วได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อดังนี้...
"แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว
ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก,
ไม่ควรนำไฟภายนอกเข้าไปภายใน,
พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น,
ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้,
พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่ไม่ให้,
พึงนั่งให้เป็นสุข,
พึงบริโภคให้เป็นสุข,
พึงนอนให้เป็นสุข,
พึงบำเรอไฟ,พึงนอบน้อมเทวดาภายใน" ดังนี้แล้ว
๑. ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก... "แม่ เจ้าเห็นโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามีของเจ้าแล้ว อย่าเฝ้ากล่าว ณ ภายนอกคือในเรือนนั้นๆ , เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟชนิดนี้ ย่อมไม่มี."
๒. ไม่ควรนำไฟภายนอกเข้าไปภายใน... "ถ้าหญิงหรือชายทั้งหลาย ในบ้านใกล้เรือนเคียงของเจ้า พูดถึงโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามี, เจ้าอย่านำเอาคำที่ชนพวกนั้นพูดแล้ว มาพูดอีกว่า ‘คนชื่อโน้นพูดยกโทษอย่างนี้ของท่านทั้งหลาย’ เพราะขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟนั่น ย่อมไม่มี."
๓. พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น... "ควรให้ แก่คนที่ถือเครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ส่งคืนเท่านั้น."
๔. ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้... "ไม่ควรให้แก่ผู้ที่ถือเอาเครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ไม่ส่งคืน."
๕. พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่ไม่ให้... "เมื่อญาติและมิตรยากจนมาถึงแล้ว, ชนเหล่านั้น อาจจะใช้คืนหรือไม่อาจก็ตาม, ให้แก่ญาติและมิตรเหล่านั้นนั่นแหละ ควร."
๖. พึงนั่งให้เป็นสุข... "การนั่งในที่ๆ เห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามีแล้วต้องลุกขึ้น ไม่ควร."
๗. พึงบริโภคให้เป็นสุข... "การไม่บริโภคก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี เลี้ยงดูท่านเหล่านั้น รู้สิ่งที่ท่านเหล่านั้นทุกๆ คนได้แล้วหรือยังไม่ได้ แล้วตนเองบริโภคที่หลัง จึงควร."
๘. พึงนอนให้เป็นสุข... "ไม่พึงขึ้นที่นอน นอนก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี, ควรทำวัตรปฏิบัติที่ตนควรทำแก่ท่านเหล่านั้นแล้ว ตนเองนอนทีหลัง จึงควร."
๙. พึงบำเรอไฟ... "การเห็นทั้งแม่ผัวพ่อผัวทั้งสามี ให้เป็นเหมือนกองไฟและเหมือนพระยานาคจึงควร."
๑๐. พึงนอบน้อมเทวดาภายใน... "การเห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามี ให้เป็นเหมือนเทวดาจึงสมควร."
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ในพระไตรปิฎกอธิบายเรื่องสะใภ้ใหม่หมายความว่า ตามปกติเมื่อเราเพิ่งเริ่มเข้าไปในตระกูลของสามี ก็ย่อมเกรงใจ พ่อแม่ของสามี ฉันใด แม้เราก็ควรเป็นผู้มีความประพฤติดังเช่น สะใภ้ใหม่ คือมีความเกรงใจเคารพบุคคลที่อยู่รอบข้าง แม้เพื่อนที่เราสนิทด้วย ซึ่งบางครั้งเมื่อเราสนิมสนมแล้ว ก็จะขาดความเกรงใจ ไม่นึกถึงคนใกล้ชิด แต่เราควรทำตัวเหมือนสะใภ้ใหม่เป้นผู้อ่อนน้อม มีความเกรงใจเคารพ ไม่ว่าในบุคคลใดก็ตาม ที่สนิทหรือไม่สนิทสนมครับ เชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกเพิ่มเติมที่นี่ครับ ..
พึงทำตนเหมือนสะใภ้ใหม่ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เมื่อต้องเป็นสะใภ้ใหม่ย่อมปรับตัวลำบากแน่นอน แต่เพราะว่าเป็นสะใภ้ ความอ่อนน้อม ยอมตามและสงบคำพูดต้องมาก่อน ค่อยๆ เรียนรู้ความเป็นความอยู่ของผู้เป็นญาติแต่ละคนในครอบครัวใหม่ ค่อยๆ หลอมรวมจนเป็นคนในครอบครัวเดียวกันให้ได้ อาศัยเวลาการเป็นตัวของตัวเองมากเกินไปของสะใภ้ใหม่ไม่ทำให้มีคนอยากจะทำความรู้จักเพื่อเข้าใจในตัวเราหรอกค่ะ เพราะสุดท้ายเมื่อปรับตัวเข้าหากันไม่ได้คงลงเอย ด้วยการต่างคนต่างไป ทางใครทางมัน แต่ตราบใดที่ยังต้องทำงานสถานที่แห่งใหม่ที่เราเข้าไปเริ่มต้นด้วย เราย่อมต้องตกอยู่ในฐานะของสะใภ้ใหม่ในบ้านใหม่ (อีกแล้ว) อยู่ดี หากสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายจนดูเหมือนหมดหนทางแก้ไขอย่างที่สุดแล้ว
ตำแหน่งสะใภ้เก่าก็น่ารับเอามาพิจารณา
ขอให้โชคดีค่ะ