การไหวของภวังคจิต
ขณะนอนหลับสนิท แม้ว่าจะมีเสียงจากภายนอกมากระทบโสตประสาทรูป แต่ก็ไม่เป็น ปัจจัยให้เกิดวิถีจิตที่ทำให้จิตได้ยินเกิดขึ้น จึงยังคงเป็นภวังคจิตอยู่ อยากทราบว่า
1. อะไรที่สามารถเป็นปัจจัยให้ภวังคจิตนั้นไหวจนกระทั่งเกิดจิตได้ยินขึ้น
2. ถ้าหลังจากจิตได้ยินนั้นเกิดขึ้นแล้ว อะไรเป็นปัจจัยให้วิถีจิตทางมโนทวารเกิดต่อจึงเกิดเป็นความคิดนึกในฝัน
3. บางคนก็หลับสนิทได้ยาวนานในแต่ละคืน นั่นหมายความว่าภวังคจิตไม่มีการไหวจน ทำให้เกิดวิถีจิต ใช่หรือไม่ เหตุใดภวังคจิตจึงไม่ไหวทั้งๆ ที่ก็มีเสียง มีสี มีการกระทบสัมผัส และบางครั้งก็มีกลิ่น ในขณะนอนหลับ
ขอบคุณครับ
๑. สิ่งที่เป็นปัจจัยให้วิถีจิตเกิดขึ้นอย่างหนึ่งคืออารมณ์ที่มากระทบชัดเจน
๒. เมื่อวิถีทางปัญจทวารเกิดขึ้นและดับไปแล้ว วิถีทางมโนทวารย่อมเกิดขึ้นรู้อารมณ์ต่อเสมอ เป็นความแน่นอนของจิต (จิตตนิยาม) ส่วนความฝันย่อมมีปัจจัยหลายอย่างให้เกิดขึ้น
๓. ผู้ที่นอนหลับยาวนานแม้มีอารมณ์มากระทบก็ไม่มีวิถีจิตเกิดรับรู้ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ วิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่เกิด จึงไม่มีการตื่นขึ้นรับรู้อารมร์นั้นๆ
ผู้ที่สลบหรือถูกวางยาสลบขณะผ่าตัด ขณะนั้นเป็นภวังคจิต เช่นเดียวกับเมื่อนอนหลับสนิทและไม่ฝันใช่ไหมครับ
ผู้ที่สลบหรือถูกวางยาสลบ ขณะนั้นจิตอาจเป็นภวังค์หรือเป็นวิถีจิต คือ เขาอาจจะฝันไปในเรื่องต่างๆ ก็ได้
มีเจตสิกเกิดขึ้นในภวังคจิตไหมค่ะ เพราะเท่าที่ทราบถ้ามีจิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ในส่วนของปฏิสนธิจิตและจุติจิตน่าจะเหมือนกันกับภวังคจิต (คือถ้ามีเจตสิกอะไรเกิดกับภวังคจิต เจตสิกนั้นก็จะเกิดเช่นเดียวกันในปฏิสนธิจิตและจุติจิตใช่ไหมค่ะ)
ขอบคุณค่ะ
จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ของบุคคลเหนึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกัน คือ วิบากจิต เจตสิกที่เกิดร่วมก็มีจำนวนเท่ากัน จิตทุกขณะที่เกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ
ซี่งนั่นก็หมายความว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ชนิด เช่นเดียวกับทวิปัญจวิญญานจิตใช่ไหมคะ ถ้าไม่ใช่ ช่วยบอกรายละเอียดของเจตสิกที่เกิดขึ้นกับภวังคจิตด้วยค่ะ
ขอบพระคุณมาก ค่ะ
อย่างน้อยต้องมี ๗ ชนิด แต่จิตที่ทำกิจภวังค์มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่านั้น เช่น ในมหาวิบากจิตมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ ชนิด มีอัญญสมาน ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐
สำหรับคนที่ป่วยขั้นโคม่านอนไม่รู้สึกตัว แปลว่าจิตอยู่ในภวังค์รึป่าวครับ?