พระศรีอาริยเมตตรัย
ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง พระลักษณะของพระศรีอาริยเมตตรัย ไว้อย่างไรบ้าง
ในจักรวัตติสูตรพระพุทธองค์ทรงเล่าว่า ในอนาคตจักมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า เมตตรัย มาตรัสรู้ แต่ไม่ได้แสดงพระลักษณะของพระองค์ไว้ เข้าใจว่าต้องมี ลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ คือ ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
โปรดอ่านข้อความโดยตรง
พระเมตไตรย์ซึ่งจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ถัดไปนั้น ได้พบพระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕ และได้รับพยากรณ์แล้วว่าจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทราบว่าในสมัยที่ได้พบพระโคดมนั้นเป็นพระโพธิสัตว์พระนามว่าอะไร จะอ่านได้จากพระไตรปิฎกส่วนไหนครับ
ยังไม่พบข้อความที่กล่าวถึงเรื่องนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีปรากฏในคัมภีร์รุ่นฎีกาและรุ่นหลังๆ เช่น อนาคตวงค์และปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น
พระรัตนตรัย
1. บางครั้งเกิดความรู้สึกลบหลู่พระรัตนตรัย มีความทุกข์มาก ความคิดนี้ต่างจากความลังเลสงสัยหรือไม่
2. ต้องปฏิบัติหรือแก้ไขอย่างไร
3. จะมีวิบากอย่างไรครับ
การลบหลู่พระรัตนตรัยด้วยกายวาจาหรือใจเป็นอกุศลกรรม ต่างจากความลังเลสงสัยคือ เพียงการสงสัยไม่ปลงใจเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ไม่เป็นอกุศลกรรม เมื่อมีการผิดพลาดพลั้งไปและรู้ตัวว่าผิด ควรกล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย เป็นการแก้ไขได้ระดับหนึ่ง วิบากของอกุศลกรรมทุกประเภทให้ผลเป็นทุกข์ เช่น นำเกิดในทุคติภูมิและทำให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดีทางตา ทางหู เป็นต้น
ทุกท่านที่เกิดยุคนี้ จะได้ไปนิพพานทั้งหมดไหม
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
จากความเห็นที่ 8 การหลบหลู่พระรัตนตรัย ควรแก้ไขด้วยการขอขมา และวิบากย่อมส่งผลได้แต่ถ้าไม่ขอขมาจะกั้น การบรรลุธรรมและการไปสุคติภูมิ แต่ถ้าขอขมาต่อพระรัตนตรัย ไม่กั้นมรรคผล (บรรลุ) และการไปสุคติภูมิครับ ลองอ่าน ต.ย การขอขมาครับ
เรื่อง การขอขมา อดโทษ ต่อพระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 78
ข้อความบางตอนจาก
อุทุมพริกสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความผิดที่ท่านผู้เป็นคนโง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว เธอจึงได้กล่าวกะเราอย่างนั้น เพราะเธอเห็นโทษแล้วจึงยอมรับผิด เรายกโทษแก่เธอ ผู้ใดเห็นโทษ สารภาพโทษตามความเป็นจริง ถือความสังวรต่อไป นี้เป็นความเจริญ ในพระวินัยของพระอริยเจ้า นิโครธะ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม
เรื่อง เมื่อขอขมาแล้วย่อมเป็นประโยชน์กับผู้ขอขมา
[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 94
ข้อความบางตอนจาก ...
อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
ลำดับนั้น เขาจึงได้พูดคำนั้นกะนิโครธปริพาชก และแม้สันธานคฤหบดีนั้น ก็ได้มีความคิดอื่นอีกว่า ปริพาชกนี้ เมื่อเราไม่พูด ก็จักไม่ขอขมาพระศาสดา และการไม่ขอโทษนั้น จักเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขา ในอนาคต แต่เมื่อเราพูดแล้วเขาจักขอขมา การขอขมานั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เขาตลอดกาลนาน ดังนี้ ทีนั้น เขา จึงได้กล่าวคำนั้นกะนิโครธปริพาชก.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
จากความเห็นที่ 10 ทุกท่าน ที่เกิดยุคนี้ จะได้ไปนิพพาน ทั้งหมด ไหม? ทุกคนในยุคนี้สนใจธรรมทั้งหมดหรือเปล่า และคนที่สนใจธรรมทุกคน เข้าใจถูกตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือเปล่า? คนที่เข้าใจถูกต้องบรรลุทุกคนหรือเปล่าในชาตินี้?
ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎก ครับ
เรื่อง สัตว์ทั้งหลายบรรลุนิพพาน มีมากหรือน้อยหรือบรรลุหมด
[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 147
คลิกอ่านรายละเอียดที่...
ข้อความบางตอนจาก คณกโมคคัลลานสูตร
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ตอบ ความเห็นที่ 8
1. กล่าวคำขอขมา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และต่อไปจะสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ทำอีก ความคิดลบหลู่ เป็นโทสเจตสิก ต่างจากความลังเลสงสัยเป็นวิจิกิจฉา เป็นโมหเจตสิก
2. ฟังธรรมให้เข้าใจ จึงจะเห็นถูก
3. วิบากกรรมเป็นเรื่องของอาจินไตย ไม่ควรคิด แต่ให้รู้ว่าอกุศลจิตมีโทษ เป็นจิตที่เศร้าหมองให้ผลเป็นทุกข์
ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย
[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 742
คลิกอ่านรายละเอียดที่...
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์