เรื่องพระอัตตทัตถเถระ - ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๑
สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.
๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ [๑๓๖]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบทเล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 224
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 224
๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ [๑๓๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอัตตทัตถเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตทตฺถ ปรตฺเถน" เป็นต้น
พระเถระพยายามบำเพ็ญประโยชน์
ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสในกาลที่จวนจะปรินิพพานว่า "ภิกษุทั้งหลาย โดยกาลล่วงไป ๔ เดือนแต่วันนี้ เราจักปรินิพพาน. "ภิกษุประมาณ ๗๐๐ รูปซึ่งยังเป็นปุถุชน เกิดความสังเวช ไม่ละสำนักพระศาสดาเลย เที่ยวปรึกษากันว่า " ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะทำอะไร หนอแล"
ส่วนพระอัตตทัตถเถระ คิดว่า "ข่าวว่า พระศาสดา จักปรินิพพาน โดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ก็ตัวเรายังเป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เราจักพยายามเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัต" พระเถระนั้น ย่อมไม่ไปสำนักของภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า "ผู้มีอายุ ทำไม ท่านจึงไม่มาสำนักของพวกกระผมเสียเลย. ท่านไม่ปรึกษาอะไรๆ " ดังนี้แล้ว ก็นำไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุรูปนี้ ย่อมทำชื่ออย่างนี้" พระอัตตทัตถเถระนั้น แม้พระศาสดาตรัสว่า "เหตุไร เธอ จึงทำอย่างนั้น" ก็กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข่าวว่า พระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ข้าพระองค์พยายามเพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ"
ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าบูชาพระศาสดา
พระศาสดา ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่างๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชาเรา ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชาเรา เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๐. อตฺตทตฺถ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
"บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน"
แก้อรรถเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า
"บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณกากณิก๑หนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้งพันทีเดียว ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกากณิกหนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคให้สำเร็จได้, ประโยชน์ของคนอื่น หาให้สำเร็จไม่ ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน เพราะฉะนั้นภิกษุตั้งใจว่า 'เราจะไม่ยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย' ดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงยังกิจมีการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นต้น อันบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ หรือวัตถุมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมเสีย ด้วยว่าภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรให้สมบูรณ์อยู่แล ย่อมทำให้แจ้งซึ่งผลทั้งหลายมีอริยผลเป็นต้น. เพราะฉันนั้น การบำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์แม้นี้ จึงชื่อว่าเป็นประโยชน์ของตนแท้
อนึ่ง ภิกษุใด มีวิปัสสนาอันปรารภยิ่งแล้ว ปรารถนาการแทงตลอดว่า 'เราจักแทงตลอดในวันนี้ๆ แหละ ' ดังนี้แล้ว ประพฤติอยู่. ภิกษุนั้น แม้ยังวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมแล้ว ก็พึงทำกิจของตน ให้ได้. ก็ภิกษุรู้จักประโยชน์ของตนเห็นปานนั้น คือกำหนดได้ว่า ่นี้ เป็นประโยชน์ตนของเรา ' พึงเป็นผู้เร่งขวนขวาย ประกอบในประโยชน์ ของตนนั้น"
ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้น ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เทศนา ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ภิกษุผู้ประชุมกันทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องพระอัตตทัตถเถระ จบ
อัตตวรรควรรณนา จบ
วรรคที่ ๑๒ จบ
ความคิดเห็นที่ 1
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 270
๕. ฉวาลาตสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๔
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
บุคคลไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนพวก ๑
บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดุ้นฟืนเผาศพ ที่ไฟไหม้ปลาย ๒ ข้างตรงกลางก็เปื้อนคูถ ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้านในป่า ฉันใด เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น, ในบุคคล ๒ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๒) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ดีกว่าประณีตกว่า, ในบุคคล ๓ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๓) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ดีกว่าประณีตกว่า, ในบุคคลทั้ง ๔ พวก บุคคล (ที่ ๔) ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด เปรียบเหมือนน้ำนมโค นมส้มดีกว่าน้ำนม เนยข้นดีกว่านมส้ม เนยใส ดีกว่าเนยข้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) ดีกว่า เนยใส ทั้งหมดนั้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) นับว่าเป็นเลิศฉันใด ในบุคคลทั้ง ๔ จำพวก บุคคลจำพวกที่ ๔ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นเลิศ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบฉวาลาตสูตรที่ ๕
อรรถกถาฉวาลาตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฉวาลาตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉวาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้า.
บทว่า มชฺเฌคูถคตํ ได้แก่ ตรงกลางก็เปื้อนคูถ.
บทว่า เนว คาเม กฏตฺถํ ผรติ ความว่า ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้าน เพราะไม่ควรนำเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมี อกไก่ ไม้กลอนหลังคา เสาและบันได เป็นต้น ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในป่า เพราะไม่ควรนำเข้าไปทำขาค้ำกระท่อมในนา หรือขาเตียง เมื่อจับที่ปลายทั้งสองก็ย่อมไหม้มือ เมื่อจับที่ตรงกลาง ก็เปื้อนคูถ.
บทว่า ตถูปมํ ความว่า บุคคลนั้นก็เหมาะสมกัน. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า.
บทว่า ปณีตตโร คือ สูงุสุดกว่า
บทว่า ควา ขีรํ ได้แก่ น้ำมันแต่แม่โค. ในบทว่า ขีรมฺหาทธิ เป็นต้น ความว่า แต่ละอย่างเป็นของเลิศกว่าก่อนๆ ส่วนสัปปิมัณฑะ หัวเนยใสเป็นยอดเยี่ยมในน้ำมันเป็นต้นเหล่านั้น แม้ทั้งปวง. ในบทว่า อคฺโค เป็นต้น พึงทราบว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐ เป็นประมุขสูงสุดและล้ำเลิศ ด้วยคุณทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่พึงทราบว่า ตรัสบุคคลผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบด้วยโคดังนี้.
จบอรรถกถาฉวาลาตสูตรที่ ๕
วันที่ : 24-03-2551
ความคิดเห็นที่ 2 โดย : spob
๕. ฉวาลาตสุตฺตํ
๕. ฉวาลาตสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๔
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
บุคคลไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
บุคคลปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนพวก ๑
บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดุ้นฟืนเผาศพ ที่ไฟไหม้ปลาย ๒ ข้าง ตรงกลางก็เปื้อนคูถ ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้านในป่า ฉันใด, เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น
‘‘ตตฺร, ภิกฺขเว, ยฺวายํ ปุคฺคโล ปรหิตาย ปฎิปนฺโน โน อตฺตหิตาย, อยํ อิเมสํ ทฺวินฺนํ ปุคฺคลานํ อภิกฺกนฺตตโร จ ปณีตตโร จฯ
ในบุคคล ๒ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๒) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ดีกว่าประณีตกว่า
ในบุคคล ๓ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๓) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ดีกว่าประณีตกว่า
ในบุคคลทั้ง ๔ พวก บุคคล (ที่ ๔) ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด
เปรียบเหมือนน้ำนมโค นมส้มดีกว่าน้ำนม เนยข้น ดีกว่านมส้ม เนยใส ดีกว่าเนยข้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) ดีกว่า เนยใส ทั้งหมดนั้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) นับว่าเป็นเลิศ ฉันใด ในบุคคลทั้ง ๔ จำพวก บุคคลจำพวกที่ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นเลิศ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบฉวาลาตสูตรที่ ๕
๕. ฉวาลาตสุตฺตวณฺณนา
อรรถกถาฉวาลาตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฉวาลาตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉวาลาต ได้แก่ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้า.
บทว่า มชฺเฌ คูถคต ได้แก่ ตรงกลางก็เปื้อนคูถ
บทว่า เนว คาเม กฏตฺถ ผรติ ความว่า ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม่ในบ้าน เพราะไม่ควรนำเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระ มี อกไก่ ไม้กลอนหลังคา เสา และบันได เป็นต้น ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในป่า เพราะไม่ควรนำเข้าไปทำขาค้ำกระท่อมในนา หรือขาเตียง เมื่อจับที่ปลายทั้งสองก็ย่อมไหม้มือ เมื่อจับที่ตรงกลาง ก็เปื้อนคูถ.
บทว่า ตถูปม ความว่า บุคคลนั้นก็ เหมาะสมกัน
บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า
บทว่า ปณีตตโร คือ สูงุสุดกว่า
บทว่า ควา ขีร ได้แก่ น้ำมันแต่แม่โค.
ในบทว่า ขีรมฺหา ทธิ เป็นต้น ความว่า แต่ละอย่างเป็นของเลิศกว่าก่อนๆ . ส่วนสัปปิมัณฑะหัวเนยใสเป็นยอดเยี่ยมในน้ำมันเป็นต้นเหล่านั้น แม้ทั้งปวง.
ในบทว่า อคฺโค เป็นต้น พึงทราบว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐเป็นประมุขสูงสุดและล้ำเลิศ ด้วยคุณ ทั้งหลาย. บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่พึงทราบว่าตรัสบุคคล ผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบด้วยโคดังนี้.
จบอรรถกถาฉวาลาตสูตรที่ ๕
ฏีกาฉวาลาตสูตร
ในฉวาลาตสูตรที่ ๕ มีอธิบายดังนี้,
คำว่า ฉวาลาตํ ท่อนฟืนเผาศพ หมายถึง ท่อนฟืน ในสถานที่เผาซากศพฯ เพราะฉะนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงอธิบายว่า สุสาเน อลาตํ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้าฯ
ข้อความว่า มชฺฌฏฺฐาเน คูถมกฺขิตํ ตรงกลางก็เปื้อนคูถ หมายถึง ท่อนฟืนขนาด ๘ องคุลี (นิ้ว) ปลายทั้งสองติดไฟ ตรงกลางเปื้อนคูถ
คำว่า กฏฺฐตฺถํ ครื่องไม้ หมายถึง กิจที่ต้องทำด้วยไม้ฯ
ข้อความที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายๆ
ฏีกาฉวาลาตสูตร จบ
ท่าน Spob ครับ
สองพันปีมาแล้ว พระศาสดาได้ตรัสคำเป็นต้นว่า
‘‘จตฺตาโรเม, ภิกฺขเว, ... " พระสุรเสียงนั้นๆ ย่อมผ่านพระโอษฐ์พระศาสดา แม้ในวันนี้ เราทั้งหลายก็ได้ฟังคำเป็นต้นว่า ‘‘จตฺตาโรเม, ภิกฺขเว, ... " นับว่าเราทั้งหลาย ได้ฟังเสียงคล้ายพระสุรเสียงของพระศาสดาแล้ว ความตรึกเช่นนี้ ย่อมเป็นบาทให้ พุทธานุสสติ หรือ ธัมมานุสสติ บังเกิดแก่เราทั้งหลาย ผู้เลื่อมใสยิ่งในพระบาลี กุศลธรรมเหล่านี้ ของเราทั้งหลาย อาศัยการเชิดชูพระบาลีของท่าน บังเกิดแล้ว
ด้วยผลแห่งกุศลกรรมคือการเชิดชูพระบาลี อันท่านได้กระทำแล้วบ่อยๆ เนืองๆ ขอปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มีนิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นต้น พึงบังเกิดแก่ท่านในอนาคตกาลเทอญ
ขออนุโมทนาครับ
ขอพระสัทธรรม ทำให้ใจของท่านเบิกบาน