การปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ [ปิยังกรสูตร และอรรถกถา]
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
๖. ปิยังกรสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ
[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบทแห่งพระธรรมอยู่.
[๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทพระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
[๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 404
อรรถกถาปยังกรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปยังกรสูตรที่ ๖ ตอไปนี้ :-
บทวา เชตวเน ความวา พระอนุรุทธะ อยูในวิหารชื่อโกสัมพกุฏี ทายพระเชตวัน. ธรรม ๒๖ วรรคทานยกขึ้นรวบรวมไวแผนกหนึ่ง ประสงควา ต ในบทนี้วา ธมฺมปทานิ. สมัยนั้น พระเถระ นั่งภายในวิหาร ณ ที่นั้น สวด อัปปมาทวรรคเปนสรภัญญะ ดวยเสียงไพเราะ.
บทวา เอว โตเสส ความวา ไดยินวา นางยักษิณีนั้น อุมบุตรชื่อปยังกระ แสวงหาอาหารอยู ตั้งแต ขางหลังพระเชตวัน มุงตรงตอพระนครโดยลําดับ แสวงหาอยูซึ่งของกินที่เสีย คืออุจจาระ ปสสาวะ น้ําลาย น้ํามูก ถึงสถานที่อยูของพระเถระ ไดฟงเสียง อันไพเราะ. เสียงนั้น ตัดผิวหนังเปนไปจดเยื่อในกระดูก เขาไปถึงหัวใจของ นางหยุดอยู. ครั้งนั้น นางยักษิณีนั้น ไมคิดในการแสวงหาอาหาร นางยืน เงี่ยโสตลงฟงธรรม. สวนยกขทารก ไมมีจิตในการฟงธรรมเพราะเปนหนุม. เขาถูกความหิวเบียดเบียนแลว จึงเดือนมารดาแลวๆ เลาๆ วา เพราะเหตุไร แมจึงยืนไมไหวติงเหมือนตอ ในที่แมมาแลว ไมแสวงหาของเคี้ยว หรือของ บริโภคสําหรับลูก. นางคิดวา บุตรจะทําอันตรายแกการฟงธรรมของเรา จึง ปลอบบุตรนอยอยางนี้วา ปยังกระ อยาสงเสียงดัง.
ในบทนั้น บทวา มา สทฺทมกริ ไดแก อยาไดสงเสียงดัง. นางแสดงศีล ๕ ที่สมาทานแลว ตาม ธรรมดาของคนดวยคาถาวา ปาเณสุ จ ดังนี้.
ในบทเหลานั้น บทวา สฺยมามเส ไดแกเราสํารวม คือเปนผูสํารวมแลว. นางงดเวนจากปาณาติบาต
พระสุตตันตปฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเลม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 405
ดวยบทนี้. งดเวนจากมุสาวาทดวยบทที่สอง. การงดเวนสามอยางที่เหลือดวย บทที่สาม. บทวา อป มุจฺเจม ปสาจโยนิยา นางยักษิณีกลาววา ลูก เราละเวร ๕ เหลานี้ ที่เกิดขึ้นในยักขโลกเสียแลว ปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย แลว จึงจะพนจากกําเนิดยักษปศาจซึ่งมีภิกษาหายาก ทั้งจะพากันอดตาย.
จบอรรถกถาปยังกรสูตรที่ ๖
ขออนุโมทนาครับ
อันต่อไปนี้จบอย่างมีความสุขครับ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
ปุนัพพสุสูตร
นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม
[๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน. ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับพระธรรม
[๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้นจะล่วงเลย แม่ไปเสีย ลูกของตนเป็นที่รักในโลก ผัวของตนเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและมรณะ จงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ
[๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันก็จักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความสุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทำความสว่างไสวแก่เทวดา และ มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่
[๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่ เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริญ ปุนัพพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตราก็จงฟังแม่
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
การได้ฟังพระธรรมเป็นลาภที่ประเสริฐยิ่ง
แต่บางภูมิ บางสมัย ยากที่จะได้ฟัง
ขณะนี้ยังมีเสียงพระธรรม อยู่ในภูมิที่พร้อมจะฟัง ควรฟังอย่างยิ่ง ฟังเพื่อเข้าใจความจริง เพื่อละความไม่รู้ ความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับว่าเป็นสัตว์บุคคล
กราบขอบพระคุณท่านผู้เผยแพร่พระธรรม ด้วยความเคารพในกุศลธรรมค่ะ