สมมติเทศนาและปรมัตถเทศนา [อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร]

 
แล้วเจอกัน
วันที่  14 เม.ย. 2551
หมายเลข  8217
อ่าน  2,492

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 159

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร

ในเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคบสฺส นี้ เป็นโวหารกถา

(กล่าวเป็นโวหาร) . จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี ๒ อย่าง

คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒ อย่างนั้น สมมติ-

เทศนามีอย่างนี้คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา

มาร. ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

สติปัฏฐาน.

ในเทศนา ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา

แก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดง

ปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนา โดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้.

พึงทราบอุปมาในข้อนั้นดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษา

ท้องถิ่น พรรณนาความแห่งพระเวท ๓ บอกด้วยภาษาทมิฬแก่ผู้ที่เมื่อเขาสอน

ด้วยภาษาทมิฬก็รู้ความ บอกด้วยภาษาแก่ผู้ที่รู้ด้วยภาษาใบ้เป็นต้นอย่างใด

อย่างหนึ่ง ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบ

แหลมย่อมเรียนศิลปะได้รวดเร็วฉันนั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า พระพุทธเจ้าผู้มี

พระภาคดุจอาจารย์ พระไตรปิฎกอันตั้งอยู่ในภาวะที่ควรบอก ดุจไตรเพท

ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ ดุจความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น

เวไนยสัตว์ผู้สามารถแทงตลอดด้วยสมมติและปรมัตถ์ ดุจมาณพผู้รู้ภาษา

ต้องถิ่นต่างๆ การแสดงด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจการ

บอกด้วยภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Sea
วันที่ 14 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ