การออกจากกิเลสด้วยมรรคโดยเพียงการเห็นลักษณะเดียวนั้นย่อมไม่มี [ธรรมสังคณี]

 
nowbeyond
วันที่  14 เม.ย. 2551
หมายเลข  8230
อ่าน  1,787

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 620

ก็พระโยคาวจรอาศัยธรรมใดธรรมหนึ่ง ในบรรดาลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ก็สมควรเห็นลักษณะทั้ง ๒ นอกนี้อีกทีเดียว ธรรมดาการออกจากกิเลสด้วยมรรคโดยเพียงการเห็นลักษณะเดียวนั้นย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งมั่นแล้วโดยความไม่เที่ยง ย่อมออกไปแม้จาก (กิเลส) โดยความเป็นของไม่เที่ยง แม้โดยความเป็นทุกข์อย่างเดียวหามิได้ ย่อมออกไปจาก (กิเลส) โดยความเป็นอนัตตาด้วยนั่นแหละ แม้ในความตั้งมั่นอยู่โดยความเป็นทุกข์ ก็นัยนี้แหละ. ด้วยประการฉะนี้

การยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์ตั้งแต่ต้นจงยกไว้ ก็วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีพิจารณาธรรมใดๆ ย่อมออกไปดำรงอยู่ในฐานที่ควรบรรลุด้วยสามารถแห่งธรรมนั้นๆ แล้วให้ชื่อมรรคของตน. ในบรรดาลักษณะเหล่านั้น เมื่อพระโยคาวจรออกจากอนิจจลักษณะมรรคก็เป็นอนิมิตตะ เมื่อออกจากทุกขลักษณะ มรรคก็เป็นอัปปณิหิตะ เมื่อออกจากอนัตตลักษณะ มรรคก็เป็นสุญญตะ ดังนี้ ทรงนำนิมิตตมรรคมาแสดงโดยปริยายแห่งพระสูตรด้วยประการฉะนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 16 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 12 ก.ค. 2551

อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ หมายถึงอะไรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 13 ก.ค. 2551

อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เป็นชื่อของพระนิพพาน อนิมิตตะ หมายถึงไม่มีนิมิต คือไม่มีสังขาร อัปปณิหิตะ หมายถึง ไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pichet
วันที่ 3 ก.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 10 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ