การรักษาอุโบสถเพียงกึ่งหนึ่ง [เรื่องพระนางสามาวดี]

 
แล้วเจอกัน
วันที่  15 เม.ย. 2551
หมายเลข  8239
อ่าน  2,062

บุญ คือ การรักษาอุโบสถเพียงกึ่งหนึ่งนำไปเกิดเป็นเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน๑-หน้าที่ 274

ข้อความบางตอนจาก...

เรื่องพระนางสามาวดี

ก็ในสมัยนั้นแล เมืองโกสัมพี มีเศรษฐี ๓ คน คือ โฆสก-

เศรษฐี, กุกกุฏเศรษฐี, ปาวาริกเศรษฐี, เศรษฐีเหล่านั้น เมื่อวัสสูป-

นายิกาใกล้เข้ามาแล้ว, เห็นดาบส ๕๐๐ มาจากหิมวันตประเทศ กำลัง

เที่ยวไปเพื่อภิกษาในพระนคร ก็เลื่อมใส จึงนิมนต์ให้นั่ง ให้ฉันแล้ว

รับปฏิญญาให้อยู่ในสำนักของตนตลอด ๔ เดือน ให้ปฏิญญาเพื่อต้องการ

แก่อันมาอีก ในสมัยที่ชุ่มด้วยฝน (ฤดูฝน) แล้วส่งไป. จำเดิมแต่นั้น

แม้ดาบสทั้งหลาย อยู่ในหิมวันตประเทศตลอด ๘ เดือนแล้ว จึงอยู่ใน

สำนักของเศรษฐีเหล่านั้น ตลอด ๔ เดือน. ดาบสเหล่านั้น เมื่อมาจาก

หิมวันตประเทศในเวลาอื่น เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ในแดนอรัญ จึง

นั่งที่โคนต้นไทรนั้น. บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าคิดว่า

"เทวดาผู้สิงอยู่ในต้นไม้นี้ จักมิใช่เทวดาผู้ต่ำศักดิ์, เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่

ทีเดียวพึงมีที่ต้นไทรนี้; เป็นการดีหนอ, ถ้าหากเทวราชนี้พึงให้

น้ำควรดื่มแก่หมู่ฤษี." เทวราชนั้นได้ถวายน้ำดื่มแล้ว. ดาบสคิดถึงน้ำอาบ.

เทวราชก็ได้ถวายน้ำอาบแม้นั้น. ต่อจากนั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าก็คิดถึง

โภชนะ เทวราชก็ถวายโภชนะแม้นั้น. ลำดับนั้น ดาบสนั้นได้มีความปริ-วิตกนี้ว่า "เทวราชนี้ให้ทุกสิ่งที่เราคิดแล้ว, เออหนอ เราพึงเห็นเทวราช

นั้น." เทวราชนั้น ชำแรกลำต้นไม้ แสดงตนแล้ว. ขณะนั้น ดาบส

ทั้งหลายถามเทวราชนั้นว่า " ท่านเทวราช ท่านมีสมบัติมาก สมบัตินี้

ท่านได้แล้ว เพราะทำกรรมอะไรหนอ?"

เทวราช. ขออย่าซักถามเลย พระผู้เป็นเจ้า.

ดาบส. จงบอกมาเถิด ท่านเทวราช.

เทวราชนั้นละอายอยู่ เพราะกรรมที่ตนทำไว้เป็นกรรมเล็กน้อย

จึงไม่กล้าจะบอก, แต่เมื่อถูกดาบสเหล่านั้นเซ้าซี้บ่อยๆ ก็กล่าวว่า

"ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง" ดังนี้แล้ว จึงเล่า.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 เม.ย. 2551

ประวัติเทวดา

ได้ยินว่า เทวราชนั้นเป็นคนเข็ญใจคนหนึ่ง แสวงหาการงาน

จ้างอยู่ ได้การงานจ้างในสำนักของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็อาศัย

การงานนั้นเลี้ยงชีวิต. ต่อมา เมื่อถึงวันอุโบสถวันหนึ่ง อนาถบิณฑิก-

เศรษฐี มาจากวิหารแล้ว ถามว่า " ในวันนี้ ใครๆ ได้บอกความเป็น

วันอุโบสถแก่ลูกจ้างคนนั้นแล้วหรือ?" คนในบ้านตอบว่า " ข้าแต่นาย

ยังไม่ได้บอก." อนาถบิณฑิกะกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหุง

หาอาหารเป็นไว้สำหรับเขา." คราวนั้น คนเหล่านั้นก็หุงข้าวสุกแห่ง

ข้าวสารกอบหนึ่งไว้เพื่อชายนั้น. ชายนั้นทำงานในป่าตลอดวันนั้น มา

ในเวลาเย็น เมื่อเขาคดข้าวให้ ก็ยังไม่บริโภคโดยพลันก่อน ด้วยคิดว่า

" เราเป็นผู้หิวแล้ว" คิดว่า "ในวันทั้งหลายอื่น ความโกลาหลใหญ่

ย่อมมีในเรือนนี้ว่า ' ขอท่านจงให้ข้าว ขอท่านจงให้แกง ขอท่านจงให้

กับ,' ในวันนี้ ทุกคนเป็นผู้เงียบเสียง นอนแล้ว, พากันคดอาหารไว้

เพื่อเราคนเดียวเท่านั้น; นี้เป็นอย่างไรหนอ?" จึงถามว่า " คนที่เหลือ

บริโภคแล้วหรือ?" คนทั้งหลายตอบว่า " ไม่บริโภค พ่อ."

ผู้รับจ้าง. เพราะเหตุไร?

คนทั้งหลาย. ในเรือนนี้ เขาไม่หุงอาหารในเย็นวันอุโบสถทั้งหลาย.

คนทุกคน ย่อมเป็นผู้รักษาอุโบสถ, โดยที่สุด เด็กแม้ผู้ยังดื่มนม ท่าน

มหาเศรษฐี ก็ให้บ้วนปาก ให้ใส่ของมีรสหวาน ๔ ชนิด๑ ลงในปาก

ทำให้เป็นผู้รักษาอุโบสถแล้ว, เมื่อประทีปซึ่งระคนด้วยน้ำหอม สว่างอยู่

เด็กเล็กและเด็กใหญ่ทั้งหลายไปสู่ที่นอนแล้ว ย่อมสาธยายอาการ ๓๒;

แต่ว่า พวกเรามิได้ทำสติไว้ เพื่อจะบอกความที่วันนี้เป็นวันอุโบสถแก่

ท่าน, เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงหุงข้าวไว้เพื่อท่านคนเดียว, ท่านจงรับ

ประทานอาหารนั้นเถิด.

ผู้รับจ้าง. ถ้าการที่เราเป็นผู้รักษาอุโบสถในบัดนี้ ย่อมควรไซร้

แม้เราก็พึงเป็นผู้รักษาอุโบสถ.

คนทั้งหลาย. เศรษฐีย่อมรู้เรื่องนี้.

ผู้รับจ้าง. ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงถามเศรษฐีนั้น.

คนเหล่านั้น ไปถามเศรษฐีแล้ว เศรษฐีกล่าวอย่างนี้ว่า "ชาย

นั้นไม่บริโภคในบัดนี้ บ้วนปากแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย จัก

ได้อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง." ฝ่ายคนรับจ้างฟังคำนั้น ได้กระทำตามนั้นแล้ว.

เมื่อเขาหิวโหยแล้ว เพราะทำงานตลอดทั้งวัน ลมกำเริบแล้วในสรีระ, เขา

เอาเชือกผูกท้อง จับที่ปลายเชือกแล้วกลิ้งเกลือกอยู่. เศรษฐี สดับ

ประพฤติเหตุเช่นนั้น มีคนถือคบเพลิงให้คนถือเอาของมีรสหวาน ๔ ชนิด

มาสู่สำนักของชายนั้น ถามว่า " เป็นอย่างไร? พ่อ."

ผู้รับจ้าง. นาย ลมกำเริบแก่ข้าพเจ้า.

เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงลุกขึ้น เคี้ยวกินเภสัชนี้.

ผู้รับจ้าง. นาย แม้ท่านทั้งหลายรับประทานแล้วหรือ?

เศรษฐี. ความไม่สบาย ของพวกเราไม่มี: เจ้าเคี้ยวกินเถิด.

เขากล่าวว่า "นาย ข้าพเจ้า เมื่อทำอุโบสถกรรม ไม่ได้อาจเพื่อ

จะทำอุโบสถกรรมทั้งสิ้นได้, แม้ในอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่งของข้าพเจ้าอย่า

ได้เป็นของบกพร่องเลย" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ปรารถนา (เพื่อจะเคี้ยวกิน) .

ชายนั้น แม้อันเศรษฐีกล่าวอยู่ว่า "อย่าทำอย่างนี้เลยพ่อ" ก็ไม่

ปรารถนาแล้ว, เมื่ออรุณขึ้นอยู่ ทำกาละแล้ว เหมือนดอกไม้ที่เหี่ยวแห้ง

ฉะนั้น เกิดเป็นเทวดาที่ต้นไทรนั้น. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น

ครั้นกล่าวเนื้อความนี้แล้ว จึงกล่าวว่า " เศรษฐีนั้นเป็นผู้นับถือพระ-

พุทธเจ้าว่าเป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือพระสงฆ์

ว่าเป็นของเรา. สมบัตินั้นข้าพเจ้าได้แล้ว ด้วยผลอันไหลออกแห่ง

อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอาศัยเศรษฐีนั้นกระทำแล้ว."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
olive
วันที่ 18 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ