การบอกความดี

 
คุณสงสัย
วันที่  18 เม.ย. 2551
หมายเลข  8304
อ่าน  1,085

การบอกความดีของตนให้ผู้อื่นได้ล่วงรู้ เคยได้ยินมาว่า บัณฑิตไม่ควรกระทำแต่อีกด้านหนึ่ง จะขึ้นอยู่กับสภาพของจิตใจหรือไม่ เช่น ถ้าบอกเพื่อให้ผู้อื่นรู้จิตของผู้ฟังจะได้เป็นกุศลจากการอนุโมทนาบุญนั้น การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ หรือว่าถึงอย่างไรก็ไม่สมควรกระทำ เพราะอาจจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า ผู้บอกกำลังอวดความดีของตัวเอง มีพระสูตรเกี่ยวกับเรื่องการบอกความดีของตนแก่ผู้อื่นด้วยกุศลจิตหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 18 เม.ย. 2551

อยู่ที่เจตนาค่ะ เช่น เราไปทำบุญมาเรามาบอกพ่อ แม่ เพื่อนสนิท เพื่อให้เขาเกิดกุศลจิตและอนุโมทนา ไม่มีเจตนานาโอ้อวด ต่างกับคนที่ทำความดีแล้วอยากให้คนอื่นรู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 เม.ย. 2551

อนึ่งในบางพระสูตร พระศาสดาก็แสดงจริยาของพระองค์เอง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่พระสาวกทั้งหลายก็มี (ท่านใดที่สะดวกโปรด แสดงตัวอย่างด้วยครับ) เช่น ในเรื่อง ขันติวาทีชาดก แสดงถึงอดีตชาติของพระองค์ผู้มีขันติ เพื่อให้ภิกษุที่เป็นผู้มักโกรธได้พิจารณา เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 เม.ย. 2551

บอกความดีของตนเพื่อให้ผู้อื่นอนุโมทนาด้วยจิตอย่างหนึ่งและบอกความดีของตนเพื่อลาภ สักการะ ชื่อเสียงก็ด้วยจิตอีกอย่างหนึ่ง สิ่งใดเป็นกุศลควรทำ สิ่งใดไม่ใช่กุศลไม่ควรทำครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 18 เม.ย. 2551

ความยินดีติดข้องใน สี เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย (กามคุณ ๕) นำมาซึ่งโทสะ พระอนาคามีดับความยินดีติดข้องในกามคุณ ๕ แล้ว จึงดับโทสะได้เด็ดขาด อาหารไม่อร่อย มีขันติ ที่จะไม่บ่นหรือเปล่า ถ้าบ่น บ่น ด้วยจิตอะไร โทสะ เค็มไปนิด หวานไปหน่อย มีขันติไหมที่จะไม่ บ่น ออกมา สภาพธรรมเกิดแล้วดับ ตามปกติในชีวิตประจำวัน ขณะที่บ่น ไม่ใช่ตัวเราขณะที่มีขันติ ไม่บ่น ก็ไม่ใช่ตัวเรา ขันติวาทีดาบส (อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ถูกพระเจ้ากลาปุ (อดีตชาติของท่านพระเทวทัต) สั่งให้เพชฌฆาต ตัดจมูก ตัดหู ตัดมือ ตัดเท้า

ขันติวาทีดาบส ไม่มีความโกรธ ในพระเจ้ากลาปุ เลยไม่เหาะหนีเสียตั้งแต่แรก (ทั้งที่ทำได้) ขันติวาทีดาบสกลับกล่าวกับอำมาตย์ของพระเจ้ากลาปุ (ซึ่งเข้ามาขอโทษพระโพธิสัตว์ และบอกว่าท่านอย่าได้ทำอันตรายแก่เมืองนี้เลย ถ้าจะทำก็จงทำอันตรายแก่พระเจ้ากลาปุคนเดียวเถิด) ว่า " ขอให้พระเจ้ากลาปุ จงมีความสุขความเจริญเถิด " นี่เป็นตัวอย่างให้แก่พุทธบริษัทที่เป็นผู้มักโกรธทั้งหลาย ได้พิจารณาเพื่อจะได้อบรมเจริญขันติในชีวิตประจำวัน ขันติเป็นบานประตู ปิดประตูอบายได้ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ