คลินิคธรรมดี

 
เจตพัฒน์
วันที่  22 เม.ย. 2551
หมายเลข  8395
อ่าน  2,233

สวัสดีครับ ผมเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ครับ มีกัลยาณมิตรแนะนำมาทาง e-mail ครับ ผมมีปัญหา อยากขอความคิดเห็นจากสมาชิกกัลยาณมิตรทุกท่านครับ คือ ผมเป็นหมอครับผมตั้งใจอยากเปิดคลินิคที่วัดสักแห่ง แล้วรักษาฟรีครับ รักษาใครก็ได้ อาจเป็นเปิดเฉพาะวันอาทิตย์ครับ ผมอยากได้ไอเดียครับ ว่าจะบริหารคลินิคอย่างไรดี คือ คอนเซ็บของผม อยากเปิดรักษาฟรีจริงๆ ผมไม่รับเงินตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น อยากช่วยเหลือคนยากจริงๆ ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านที่ตั้งใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในความเห็นของผมคิดว่า การช่วยเหลือผู้อื่นไม่ต้องเลือกบุคคล สถานที่ หรือวันเวลา ควรกระทำในชีวิตประจำวัน ทุกครั้งที่มีโอกาส เล็กๆ น้อยๆ ก็ทำไปอนึ่งเคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านได้ปรารภกับหมอที่เกษียณอายุแล้วว่า จะบริจาคบ้านของท่านเป็นสถานพยาบาล และชวนคุณหมอที่รู้จักกันมาทำประโยชน์โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งก็น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง แต่ยังไม่ทราบว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ ..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 เม.ย. 2551

อยากให้คุณไปรักษาฟรีที่ต่างจังหวัด ตามชนบทที่ขาดแคลนหมอ เพราะคนจนและเด็กเยอะ เช่นที่สังขละบุรี เด็กกะเหรี่ยง น่าสงสาร เวลาป่วยก็หาหมอยาก ไม่มีหมอรักษา ชาวบ้านก็รักษาตามมีตามเกิดค่ะ ที่กรุงเทพฯ มีหมอเยอะอยู่แล้ว ไปช่วยรักษาคนป่วยที่กันดารขาดแคลนหมอดีกว่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 เม.ย. 2551

กุศลทุกประการควรเจริญครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ป้าจาย
วันที่ 23 เม.ย. 2551

อนุโมทนาค่ะ คิดเหมือนนางสาวไทยคนล่าสุดเลย เรื่องเปิดฟรีคลีนิค ลองเลือกเปิดในชุมชมขาดแคลน ใกล้บ้านก่อนนะคะ จะได้ไม่ลำบากแก่ตัวน้องหมอเอง คิดดีแล้ว ลงมือทำเลย อย่าปล่อยให้โอกาสในการทำกุศลล่วงเลยไป เพราะอกุศลจะเข้ามาแทนที่ ทำไปสักพัก จะได้แนวทางจากการปฏิบัติเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 23 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 23 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 23 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ กุศลใดที่ได้เกิดขึ้นแล้วควรรีบขวนขวายทำ เพราะกุศลและอกุศลเกิดสลับกันไปมาตลอดเวลา หากปล่อยให้ล่วงไปอกุศลก็เข้าแทนที่ ทำให้เราพลาดในการประกอบกุศลไปอย่างน่าเสียดาย!

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prissna
วันที่ 23 เม.ย. 2551

ขอเล่าเรื่องคุณหมอท่านหนึ่ง ท่านรับราชการอยู่ใน รพ.ของรัฐท่านเซ้งตึกแถวเก่าๆ ด้วยเงินออม เพื่อมาทำคลีนิคอดีต ท่านเคยไปรับงานนอกที่ รพ.ดังๆ หลายแห่งแต่ในที่สุด ท่านบอกว่าทนระบบราชการอย่างเดียวพอแล้วไม่อยากทนระบบเอกชนอีก ท่านคิดว่าบริหารเองดีกว่าที่ผ่านมา ท่านเจอมรสุมมากมาย ทั้งค่าใช้จ่าย ระเบียบราชการ เวลานัด เป็นต้น ...

แต่ก็พยายามปรับตัวไปตามสถานการณ์ ปัจจุบัน ค่ายาแพงมากเพราะยาราคาถูก บางครั้งมีผลข้างเคียงมากหมอไม่มีทุนเก็บสต็อกยามากๆ บางครั้งก็ต้องใช้วิธีเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ไปซื้อยาเอง ... โดยแนะนำแหล่งที่ขายยาไม่แพงเช่นร้านยาแถวๆ รพ.ศิริราชค่ารักษาไม่คิดเงิน แต่ยาที่หมอพอมีเช่นยาอันตราย ที่ราคาไม่แพงมากก็ขายราคาทุนเพราะยาบางตัว (ควบคุม) และคนใช้น้อย มักจะหาซื้อยากบางคนหมอก็ไม่คิดเงิน แถมยาให้ด้วย (ดูตามกำลังทรัพย์) หมอยังชีพอยู่ด้วยการรับราชการ แต่เห็นว่า รพ.ของรัฐหนาแน่นมากท่านใช้วิธีแนะนำคนไข้ที่พอช่วยตัวเองได้ในเรื่องการเดินทางและค่ายาแต่ต้องการเวลาในการวินิจฉัยโรคแบบไม่ต้องแข่งกับเวลาให้มาที่คลีนิค (หากสมัครใจ) เพราะที่ รพ.รัฐคนแน่นมาก เช่น ออก โอพีดี ๗ โมงถึงเที่ยง ตรวจคนไข้ ๕๐-๖๐ คนบางวันถึงบ่ายโมงแล้วไม่ได้ทานข้าวเพราะ ยังตรวจของวันนั้นไม่หมดท่านเล่าแบบอารมณ์ดีว่า หมอก็หิว ... คนไข้ก็หิว ... หัวอกเดียวกัน

รับคนไข้ได้ (วันอาทิตย์วันเดียว) จำนวนจำกัดทุกวันนี้ผ่านมาเกือบ ๑๐ ปี เคยถามท่านว่าเหนื่อยไหม คิดจะหยุดทำไหมท่านตอบว่า"เหนื่อยกายไม่เท่าไร ... เหนื่อยใจมากกว่า แต่จะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่ไหวจริงๆ "

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 23 เม.ย. 2551
ต้องขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ คุณหมอเป็นบุคคลที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะตั้งใจเป็นหมอรักษาให้กับบุคคลทั้งหลายโดยไม่รับสิ่งตอบแทนใดๆ เลย

มีโรคอยู่ ๒ อย่าง คือ โรคทางกาย กับ โรคทางใจ ในบรรดาโรคทั้งสองนั้น โรคทางกาย เมื่อเป็นขึ้นมา ต้องอาศัยการรักษาพยาบาลจากคุณหมอ ดังนั้น เมื่อมีโอกาสในการรักษาคนไข้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นย่อมเป็นโอกาสที่ดีที่คุณหมอได้เจริญกุศลโดยไม่เลือกบุคคล ไม่เลือกสถานที่ จะเป็นสถานที่ใดก็ได้ครับ

สำหรับโรคทางใจ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมไม่พ้นจากโรคทางใจ ผู้ที่ไม่เป็นโรคทางใจเลย ก็คือ พระอรหันต์ครับ เมื่อเป็นโรคทางใจ ต้องรักษาด้วยความเข้าใจพระธรรม นั่น ก็คือ ปัญญาครับ

ถ้าหากว่าคุณหมอได้ศึกษาธรรมมีความเข้าใจธรรมแล้ว นั่นย่อมเป็นโอกาสที่คุณหมอจะได้รักษาทั้งโรคทางกาย ตามวิธีการทางการแพทย์ และคุณหมอยังสามารถให้ข้อคิดธรรม ที่ได้ยินได้ฟังมา ถ่ายทอดหรือแนะนำให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการ (ค่อยๆ ) รักษาโรคทางใจ ให้กับผู้ป่วยได้ด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 23 เม.ย. 2551

คุณหมอยังสามารถ ให้ข้อคิดธรรม ที่ได้ยินได้ฟังมา ถ่ายทอดหรือแนะนำ ให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย

คุณคำปั่น มองการณ์ไกล ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เจตพัฒน์
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็นครับ ช่วยเป็นกำลังใจให้ตั้งมั่นทำกุศลได้มากครับ ผมชอบความคิดที่เปิดคลินิคอย่างเดียว เขียนเฉพาะใบสั่งยา คนไข้ไปซื้อเอง ไม่คิดค่าตรวจรักษา

ข้อดี

1. ไม่ต้องลงทุนสร้างคลินิคเลย ไปวัด หาลานวัดรองรับผู้ป่วยได้ มีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝน ก็พอแล้ว ไม่ต้องลงทุนซื้อยา

2. ไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บรักษายา คุณภาพยา การจัดซื้อยา

3. ไม่ต้องยุ่งกับเงินมากนัก ปัญหาก็น้อยลง

4. คนไข้สามารถมาหาหมอได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา

5. ค่ารักษาถูกลงเพราะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหมอ 50-100 บาท เสียแต่ค่ายาอย่างเดียว

ข้อเสีย

1. คนไข้ไม่สะดวก เพราะมาหาหมอแล้ว ยังต้องไปร้านขายยาอีก

2. ยาบางตัวมีราคาแพงถ้าไปซื้อเอง เมื่อเที่ยบกับไปรพ จ่ายแค่ 30 บาท

ดังนั้นผู้มารับบริการจะเป็นบุคคลฐานะปานกลาง ก็คือมีเงินจ่ายค่ายา ซึ่งคนกลุ่มนี้ถ้าผมไม่เปิดคลินิคธรรมดี เขาก็มีเงินรักษาได้โดยไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับคนจนที่ไม่มีเงิน แม้แต่สามสิบบาท ซึ่งไม่มีโอกาสใช้บริการ

การแก้ไข

1. เปิดคลินิคช่วงแรกๆ แบบมีแต่ใบสั่งยาอย่างเดียว และมีตู้รับบริจาค คนไข้ฐานะปานกลางอาจมีความพึงพอใจกับการบริการของหมอ คือไม่เอาเปรียบคนไข้ เขาก็ยินดีบริจาคให้มากน้อยแล้วแต่ศรัทธา ต่อมาก็จะมีเงินมากพอที่จะจัดซื้อยาให้บุคคลยากจนเอง

ถ้ากัลยาณมิตรท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือวิเคราะห์ ก็เชิญได้นะครับ เพื่อเป็นไอเดีย เปิดคลินิคธรรมดีต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เจตพัฒน์
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ส่วนเรื่องการรักษาคนไข้ตามป่าเขา กะเหรี่ยง คงสุดวิสัยของผมที่จะช่วยเหลือ เพราะไกลมากครับ

ความจริงแถวนั้นก็มีหมอใจบุญคอยช่วยเหลืออยู่เหมือนกัน

ถ้าคิดอีกแง่หนึ่ง คนเมืองเองก็มีทุกข์ไม่แพ้ชาวเขา อาจมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะกิเลสมันรุมเร้าตลอดเวลา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prissna
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ขออนุญาติแนะนำเพิ่มจากความเห็นส่วนตัวนะคะ ควรมิควรอย่างไร คุณหมอกรุณาพิจารณาการใช้สถานที่ คือ วัด ควรระมัดระวังคะ เพราะเป็นที่ของสงฆ์ต้องไม่เป็นการรบกวนสงฆ์และการปฏิบัติสมณะธรรมคุณหมอควรปรึกษามรรคทายกของวัดก่อน

ส่วนการรับบริจาคนั้นควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดเพราะคนเราคิดต่างๆ กันมีทั้งแง่ดีแง่ร้าย ยิ่งทำในวัดแล้วด้วยยิ่งต้องระวังเรื่องเงินบริจาค ควรมีคนที่ทำหน้าที่แทนเช่น เขียนใบเสร็จรับเงิน และเก็บเงินและควรมีรายงาน รายรับรายจ่าย สู่สาธารณะสม่ำเสมอไม่ควรติดประกาศรับบริจาคเด็ดขาดหากคนไข้ศรัทธาในความจริงใจของคุณหมอ เขาจะถามเองค่ะการรักษาคนไข้ลักษณะนี้โดยมากคนไข้ต้องช่วยตัวเองได้ระดับหนึ่งเช่นมีญาติรับส่ง หรือช่วยตัวเองได้ ไม่ใช่คนอาการหนัก (ต้องเอ็ดมิท) เรื่องฐานะ คนรวยมากๆ คงไม่มา คนฐานะปานกลางอาจมาแล้วอยู่รักษานานๆ หรือหายไปเลย แต่บางคนมาครั้งเดียวเลิกก็มีคะ เป็นเรื่องนานาจิตตังจริงๆ บางคน ไม่มีเงินเลย คุณหมออาจช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นให้ อย่างละเอียดก่อนแนะนำไปหาหมอเฉพาะทาง (เป็นการแบ่งเบาภาระ คุณหมอ ของรัฐ)

คุณหมอคงทราบว่าคนไข้บางคนถูกวินิจฉัยโรคผิดๆ เพราะความเร่งรีบนอกจากไม่หายแล้ว ยังเป็นหนักกว่าเดิม เพราะไม่ได้ถามให้ละเอียดก่อนเช่นปวดหัว ปวดท้อง เกิดได้จากหลายเหตุเช่น อาจเกิดจากความเครียด หรืออาการทางประสาทก็ได้ เป็นต้นควรแนะนำส่งต่อไปให้จิตแพทย์ ดูความสะดวกของเขาว่าอยู่ใกล้ที่ไหนหากมีหมอที่รู้จักกัน ก็แนะนำให้ด้วยก็ดี เขาจะได้อุ่นใจว่าไม่ไปเก้อ

ขอเล่าเรื่องคุณหมอท่านเดิมเพิ่มเติมนะคะเคยมีเด็กไปรักษา เห็นท่านคุยกับเด็ก เล่นกับเด็กสักพักหนึ่งแล้วบอกผู้ปกครองว่า เด็กไม่สบตา อาจเป็นออร์ทิสติก ท่านแนะนำผู้ปกครองว่าควรพาไปหาคุณหมอชื่อ ... รพ ... เป็นต้น

บางครั้งคนไข้ประจำ ชื้อส้มไปฝาก ๑ ถุงบางคนซื้อก๋วยเตี๋ยวไปฝาก บอกว่าทานแล้วอร่อยมาก เลยซื้อฝากคุณหมอคุณหมออย่าลืมทานนะคะ คือเขากตัญญูและตอบแทนตามกำลังของเขา

วันหนึ่งข้าพเจ้าเห็น กองกระเช้าดอกไม้ นาฬิกาและรูปภาพกองอยู่ที่มุมห้องมี ฝุ่นจับเขรอะ เลยถามว่า ทำไมไม่เอามาตกแต่งคลีนิกละคะท่านตอบว่า..หมอไม่ค่อยมีสุนทรีย์ คนไข้ให้มาก็รับไว้ไม่อยากให้เสียน้ำใจเลยออกความเห็นว่า น่าจะเอามาใช้นะคะ เช่นแขวนไว้หรือเอามาวางในจุดที่เหมาะ ถ้าคนให้มาเห็นเขาจะได้เกิดกุศลจิตว่าเขาได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อหมอบ้างท่านก็เห็นด้วย และให้ช่วยแนะว่าจะเอาอะไรวางที่ไหน เป็นต้น

คนไข้คนไหนศึกษาพระธรรมท่านจะคุยด้วยนานๆ ถามความเห็นที่ได้จากการศึกษาพระธรรมท่านเคยกล่าวว่า

โรคกาย ... เป็นปลายเหตุ แต่โรคใจเป็นต้นเหตุ ท่านว่าคนไข้ที่ศึกษาธรรมเข้าใจ ... รักษาง่ายกว่ายิ่งรู้ว่าการเจริญสติคืออย่างไร ... ยิ่งไม่น่าเป็นห่วง และรู้สึกปิติมากที่เห็นเขาสบายทั้งกายและใจ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
suwit02
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ความคิดเห็นที่ 13 โดย : prissna

ขออนุญาตแนะนำเพิ่มจากความเห็นส่วนตัวนะคะ

ขอเล่าเรื่องคุณหมอท่านเดิมเพิ่มเติมนะคะเคยมีเด็กไปรักษา เห็นท่านคุยกับเด็ก เล่นกับเด็กสักพักหนึ่งแล้วบอกผู้ปกครองว่า เด็กไม่สบตา อาจเป็นออร์ทิสติก ท่านแนะนำผู้ปกครองว่าควรพาไปหาคุณหมอชื่อ ... รพ ... เป็นต้น

บางครั้งคนไข้ประจำ ชื้อส้มไปฝาก ๑ ถุงบางคนซื้อก๋วยเตี๋ยวไปฝาก บอกว่าทานแล้วอร่อยมาก เลยซื้อฝากคุณหมอคุณหมออย่าลืมทานนะคะ คือเขากตัญญูและตอบแทนตามกำลังของเขา


ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
เจตพัฒน์
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ขอบคุณครับสำหรับความเห็นข้างต้น จริงๆ ผมก็ตั้งใจจะปรึกษาเจ้าอาวาสวัดก่อนแน่ๆ อยู่แล้วครับ ผมอยากถามหลายๆ ความเห็น มาเรียบเรียงให้ชัดเจน จะได้แจ้งเจ้าอาวาสให้ถูกต้องครับ โครงการนี้ผมว่าน่าจะใช้เวลาเป็นปีครับ ถ้าเพื่อนกัลยาณมิตรมีความเห็นอีก ก็เชิญได้เลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
dron
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคุณหมอ ผู้แนะนำ และผู้รวมตอบในกระทู้ทุกท่านครับ ซาบซึ้งใจครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตนะครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
lichinda
วันที่ 24 เม.ย. 2551

ไปช่วยตรวจตามโรงพยาบาล คนไข้เยอะ มีประวัติคนไข้ให้ดูด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
devout
วันที่ 25 เม.ย. 2551

การรักษาคนไข้ตามปกติที่ทำอยู่ทุกๆ วันก็เจริญกุศลได้ไม่ใช่หรือค่ะ ถ้าท่านเห็นว่า คนไข้คนไหนยากจนขัดสน ก็อาจสงเคราะห์โดย การไม่คิดค่ารักษา หรือลดราคาให้เป็นพิเศษ ก็จะทำให้คนจนมีที่พึ่งมากขึ้น

ควรเจริญกุศลเล็กน้อยๆ ในชีวิตประจำวันให้เป็นอุปนิสัยดีกว่าคิดถึงกุศลใหญ่ๆ นะคะ อาศัยปัจจัยที่มีอยู่แล้วนั่นแหละค่ะใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยไม่ต้องสร้างปัจจัยขึ้นมาใหม่ ถ้าท่านเป็นแพทย์ที่ดีมีเมตตา ก็จะมีคนไข้เข้ามารักษาที่คลินิกเพิ่มขึ้นค่ะ แต่ถ้าท่านทำงานให้กับโรงพยาบาล ก็อาจใช้วันหยุดนั้นทำงานให้ฟรีก็ดีนะคะ เพราะเท่าที่ทราบโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งยังขาดแคลนแพทย์อยู่มาก

ขออนุโมทนาและขอให้มั่นคงต่อเจตนารมณ์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
suwit02
วันที่ 25 เม.ย. 2551

ตัวอย่างกระทู้ ระดมสมอง ... ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
pornpaon
วันที่ 25 เม.ย. 2551

ยิ่งอ่านยิ่งรู้สึกดีในการช่วยให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆ ของแต่ละท่าน ที่ให้กับคุณหมอ

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาทั้งของคุณหมอและทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
บักกะปอม
วันที่ 25 เม.ย. 2551

ก่อนจะทำอะไร ควรปรึกษาผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ที่มีคุณธรรม อาจจะต้องหลายๆ สาขาด้วย ... ควรเข้าใจว่า กัลยาณมิตร คือ ผู้ที่จะไม่แนะนำไปในทางที่เสื่อมเสียเด็ดขาด

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
devout
วันที่ 25 เม.ย. 2551

เผอิญได้อ่านบทความที่เพื่อนส่งมาให้ เป็นเรื่องราวของนายแพทย์ท่านหนึ่ง เห็นว่า น่าสนใจ เลยถือโอกาสนี้โพสต์มาแทนความคิดเห็นนะคะ ...

คุณหมอ 5 บาท ... อีกหนึ่งคนดีในสังคม

ไม่นานมานี้ผมได้ดูรายการจมูกมด ซึ่งเขาสัมภาษณ์ รศ.นพ. สภา ลิมพาณิชญ์การ อาจารย์ประจำโรงเรียนเวชนิทัศน์ โรงพยาบาลศิริราช ผู้ซึ่งได้ฉายาว่า " หมอ 5 บาท " ใครฟังแล้วต้องประทับใจ คุณหมอท่านให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ใช่คนเรียนเก่ง อยากจะเรียนถ่ายรูปเพราะหลงใหลการถ่ายภาพ แต่ครอบครัวต้องการให้เป็นหมอ ครั้นเมื่อสอบเข้าได้ จึงใช้เวลาในการศึกษานานกว่าเพื่อนๆ โดยจบที่หลังนักเรียน แพทย์ร่วมรุ่น 2 ปี ท่านรับราชการมาจนกระทั่งเกษียณ ได้รับบำนาญปัจจุบันเดือนละ 22,000 บาท และมีเงินค่าสอนอีกเดือนละ 20,000 บาท แต่ต่อมาทางมหาวิทยาลัย ขาดแคลนเงิน ก็ขอลดค่าสอนเหลือเดือนละ 12,000 บาท แต่ปีงบประมาณใหม่คือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ท่านจะไม่ได้ไปสอนอีกแล้ว เนื่องจากมีปัญหาทาง ด้านสุขภาพ เงินจำนวนนี้ต้องถูกตัดออกไป เหลือเพียงบำนาญล้วนๆ

เมื่อจบการศึกษาแพทย์และทำงานได้สักพัก ท่านอาจารย์หมอก็เช่าห้องแถวไม้ใน ซอยระนอง 1 เขตดุสิตของเพื่อน เปิดเป็นคลินิกโดยขึ้นป้ายว่า " สำนักงานแพทย์ " โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 นี่ก็ปาเข้าไปเกือบ 40 ปีแล้ว แม้ท่านอาจารย์หมอ จะย่างเข้าวัยชราแล้ว แต่ท่านก็ยังเปิดบริการทางการแพทย์ของท่านอยู่ ที่น่าอัศจรรย์ คือท่านเก็บค่าบริการ หรือค่ารักษาครั้งละ 5 บาทรวมค่ายาด้วย รายใดที่จะต้องใช้ยาดี ราคาแพงก็ไม่เกิน 70 บาท นั่นหมายความว่า ยาต้องดีและราคาแพงจริง คุณหมอเล่า ว่า เหตุที่คิดราคาได้ถูกเพราะซื้อยาได้ถูกยาดี เรื่องยานั้นคุณหมอซื้อกับเจ้าประจำมี ส่วนลดด้วย เพราะคุณหมอไม่ต้องการให้ผู้ป่วยไปซื้อยารับประทานเอง ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การตรวจวินิจฉัยที่ละเอียดของหมอ 5 บาทต่างหาก คนไข้ก็หายเป็นปกติทุก ราย ส่วนคนที่ไม่หาย เมื่อกลับมาหาท่านอีกครั้งพอไล่เลียงกันเข้า อาจารย์หมอสภา ก็บอกว่า " จับได้ทุกครั้งว่ากินยาไม่ครบมื้อ ให้กิน 4 เวลา กินเสีย 2 เวลา เลยต้อง กำชับให้กินให้ถูกต้อง ... แล้วก็หายทุกราย "

ยิ่งกว่านั้นถ้าคนไข้ไม่มีเงินจริงๆ แม้แต่ค่ายาคุณหมอก็ไม่คิด หรือหากมีไม่พอ ก็มี เท่าไรก็เท่านั้น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการเคยทำข่าวเรื่องของคุณหมอมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เคยสัมภาษณ์คนไข้ของคลินิก 5 บาทแห่งนี้ ชื่อคุณป้ามารศรี อายุ 72 ปี เจ้าของร้าน ทำผมแถวๆ ซอยระนอง 1 ท่านเป็นคนไข้ที่รักษากับคุณหมอมานานกว่า 40 ปี เล่าว่า รักษาตั้งแต่สมัยเพื่อนคุณหมอมาเปิดคลินิก จนถึงคุณหมอสภามาเช่าคลินิกของเพื่อน ต่อ ส่วนใหญ่ก็จะมาด้วยโรคหวัด แต่วันนี้ไม่ได้มาด้วยโรคหวัด แต่ระคายเคืองตา คุณหมอบอกว่าเป็นตาแดง ก็นอกจากคุณป้าแล้ว ลูกสาวหรือหลานสาวหรือแม้แต่ ทหารที่ทำงานอยู่ในบ้านก็มารักษา " คุณหมอสภารักษาดี คิดถูก แล้วก็หายด้วยนะ " บางทีเป็นหวัด 20 - 30 บาทก็หายแล้ว ลูกชายป้าเป็นหวัดไปหาหมอที่โรงพยาบาล เอกชนยังตั้ง 1,400 ... ป้ามานี่แค่ 40 บาท บางคนบ้านอยู่ไกลยังมารักษาเพราะรักษา กันชิน ... เวิ้งนี้ของหมอสภาทั้งนั้น "

ลูกค้าของคุณป้ามารศรีเล่าให้ฟังพร้อมโชว์ยารักษาในถุงให้ดู ผู้สัมภาษณ์ได้ถามคุณ หมอว่าเดือนหนึ่งมีกำไรเท่าไหร่รักษาแบบนี้? คุณหมอบอกว่าไม่เคยคิด บัญชีก็ไม่เคย ทำ คนถามเลยบอกว่า " อ้าว ... ไม่ทำบัญชีแล้วจะรู้ว่าต้นทุนเท่าไหร่ จ่ายไปเท่าไหร่ ถ้าเดือนไหนเงินไม่พอจ่ายค่ายา ทำอย่างไรครับ?" คุณหมอบอกว่า " ก็ไปกด (เอที เอ็ม) เอาเงินบำนาญออกมาใช้ " ผู้สัมภาษณ์เกาหัว แล้วบอกว่า " แล้วคุณหมอจะทำ ไปทำไม? " ไม่น่าเชื่อ อาจารย์หมอตอบว่า "เพราะคิดว่า ... มันเป็นหน้าที่!" ฟังแล้วอึ้ง ไปเลย ... ผมเองเดาเอาว่าคุณหมอท่านคงคิดว่าเมื่อตอนเรียนแพทย์ หลวงท่านก็ดูแล เรื่องค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียน ก็ไม่ค่อยเก็บเหมือนไปเรียนโรงเรียนเอกชนที่ค่าเล่าเรียน แพทย์แพงมาก พอจบมีงานทำ เกษียณแล้วทางราชการก็มีบำนาญเลี้ยงดูจนกว่าชีวิต จะหาไม่ ตายไปแล้วคนอยู่ข้างหลังก็ได้บำเหน็จตกทอดอีกด้วย ดังนั้นอะไรพอช่วย เหลือประชาชนพี่น้องเพื่อนร่วมชาติได้ ท่านก็ทำด้วยความเต็มใจและได้ทำอย่างต่อ เนื่องมาเนิ่นนานแล้ว

คุณหมอกระทำโดยไม่ได้หวังในความร่ำรวย แต่กระทำเพราะถือเป็นหน้าที่แห่งตน ทั้งๆ ที่หลวงท่านก็ให้หยุดพักผ่อนนานแล้ว แต่คุณหมอท่านไม่ยอม เพราะสงสารพี่ น้องเพื่อนร่วมชาติ คนคิดอย่างอาจารย์สภาฯ มีอยู่ ผมเคยเห็น ... แต่น้อย น้อยมากๆ อาจารย์หมอไม่เคยทวงบุญคุณ ไม่เคยประกาศยกย่องตนเองว่า เป็นผู้กล้าวีรบุรุษที่ เสียสละให้ชาติบ้านเมือง ไม่เคยทวงบุญคุณ ดูคุณหมอแล้ว ... น้ำตาซึม ภาวนาให้คน ไทยคิดเหมือนคุณหมอมีจำนวนมากขึ้น ... และมากขึ้น บ้านเมืองเราจะได้เจริญก้าวหน้า ไปอย่างอบอุ่นด้วยความเมตตามากกว่านี้

ร้อยเอกจอห์น มิลเลอร์ นักรบในหนังเรื่อง Saving Private Ryan ได้ถึงแก่กรรมไป แล้ว เพราะตายในที่รบ ไม่ได้กลับไปทำหน้าที่เป็นครูตามที่ได้ตั้งใจไว้ แต่นักรบ อย่างอาจารย์หมอสภาฯ ที่ชาวบ้านเรียกขานว่า " หมอ 5 บาท " นั้น ภารกิจท่านยังไม่ สิ้น ทุกวันตอนเย็น คุณหมอพาร่างสูงวัยของท่านค่อยๆ เดินอย่างช้าๆ เพื่อมาเปิด คลินิกในซอยระนองของท่าน ซึ่งเป็นสนามรบส่วนตัวของ "ไฟว์บาท ด๊อกเตอร์" (ฝรั่งเรียกอย่างนั้น) ท่านต้องลงประจำโต๊ะตรวจซึ่งเปรียบเสมือน 'หลุมบุคคลนอนยิง ที่มั่นในสมรภูแห่งนี้ คว้าอาวุธประจำกายคือ สเททโทสโคปหรือหูฟังขึ้นคล้องคอ และเครื่องมือที่จำเป็น พร้อมลั่นกระสุนยิงสู้รบประจัญบานต่อต้านเจ้าโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นศรัตรูตัวร้ายของพี่น้องประชาชนต่อไปอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง โดยไม่ไหวังเหรียญ ตราหรือเกียรติยศใดๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
suwit02
วันที่ 25 เม.ย. 2551
ที่นี่น่ารื่นรมย์ สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 เม.ย. 2551

แนะนำคุณเจตพัฒน์ว่า เราควรศึกษาสรรพคุณของธรรมโอสถให้รู้คุณรู้โทษด้วยครับเพราะความรู้ทางการแพทย์ การจัดการบริหาร และทุนทรัพย์ ผมคิดว่า คุณหมอคงจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าคลินิคนี้จะได้ชื่อว่า "คลินิคธรรมดี" ตัวยาที่เยียวยาใจ คงจะขาดหรือพร่องไปไม่ได้ ถ้าขาดไป การรักษาทั้งกายและใจก็คงจะไม่สมบูรณ์แน่นอนครับ ขอร่วมอนุโมทนาในกุศลเมตตา กุศลกรุณาอีกครั้งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
oom
วันที่ 26 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ ที่คุณหมอมีจิตที่เป็นกุศลมีเมตตา อยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ดิฉันอ่านข้อความแล้วตื้นตันใจแทนคนไข้จริงๆ ค่ะ

ถ้าคุณหมอเปิดคลีนิกธรรมดี ดิฉันยินดีช่วยบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ตามกำลังที่สามารถช่วยได้ หรืออาจช่วยด้วยแรงกายได้ เพราะดิฉันก็เคยเรียนและทำงานด้านการพยาบาลมีประสบการณ์มาพอสมควร อาจจะช่วยได้บ้าง

ขอให้คุณหมอทำตามเจตนารมณ์ให้ได้น่ะค่ะ เพื่อช่วยคนที่ตกทุกข์ได้ยากอีกมากมายที่รอความเมตตาจากคุณหมอ โดยเฉพาะคนอยากจน ยิ่งในยุคปัจจุบันค่าครองชีพสูงมาก ข้าวสารถังละ 500 - 600 บาท คนที่รับจ้างรายวันรายได้วันละ 200 บาท ยังซื้อข้าวสาร 1 ถังไม่ได้เลย

ดิฉันก็ทำงานอยู่โรงพยาบาล เห็นคนไข้แล้วก็สงสารโดยเฉพาะพวกกรรมกรหาเช้ากินค่ำ ถ้าวันไหนมารอหมอตรวจ วันนั้นก็ไม่มีรายได้แล้ว เพราะไม่ได้ทำงาน ถ้าดิฉันเป็นหมอ ดิฉันก็คิดว่าจะทำเหมือนคุณหมอเหมือนกัน แต่เสียดายทำบุญมาน้อย จึงไม่มีโอกาสได้เรียนแพทย์ แต่ก็ยินดีที่จะช่วยอย่างอื่นได้

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 26 เม.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 11 โดย เจตพัฒน์

ขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็นครับ ช่วยเป็นกำลังใจให้ตั้งมั่นทำกุศลได้มากครับ ผมชอบความคิดที่เปิดคลินิคอย่างเดียว เขียนเฉพาะใบสั่งยา คนไข้ไปซื้อเอง ไม่คิดค่าตรวจรักษา

ข้อดี

1. ไม่ต้องลงทุนสร้างคลินิคเลย ไปวัด หาลานวัดรองรับผู้ป่วยได้ มีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝน ก็พอแล้ว ไม่ต้องลงทุนซื้อยา

2. ไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บรักษายา คุณภาพยา การจัดซื้อยา

3. ไม่ต้องยุ่งกับเงินมากนัก ปัญหาก็น้อยลง

4. คนไข้สามารถมาหาหมอได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา

5. ค่ารักษาถูกลงเพราะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหมอ 50-100 บาท เสียแต่ค่ายาอย่างเดียว

ข้อเสีย

1. คนไข้ไม่สะดวก เพราะมาหาหมอแล้ว ยังต้องไปร้านขายยาอีก

2. ยาบางตัวมีราคาแพงถ้าไปซื้อเอง เมื่อเที่ยบกับไปรพ จ่ายแค่ 30 บาท

ดังนั้นผู้มารับบริการจะเป็นบุคคลฐานะปานกลาง ก็คือมีเงินจ่ายค่ายา ซึ่งคนกลุ่มนี้ถ้าผมไม่เปิดคลินิคธรรมดี เขาก็มีเงินรักษาได้โดยไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับคนจนที่ไม่มีเงิน แม้แต่สามสิบบาท ซึ่งไม่มีโอกาสใช้บริการ

การแก้ไข

1. เปิดคลินิคช่วงแรกๆ แบบมีแต่ใบสั่งยาอย่างเดียว และมีตู้รับบริจาค คนไข้ฐานะปานกลางอาจมีความพึงพอใจกับการบริการของหมอ คือไม่เอาเปรียบคนไข้ เขาก็ยินดีบริจาคให้มากน้อยแล้วแต่ศรัทธา ต่อมาก็จะมีเงินมากพอที่จะจัดซื้อยาให้บุคคลยากจนเอง

ถ้ากัลยาณมิตรท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือวิเคราะห์ ก็เชิญได้นะครับ เพื่อเป็นไอเดีย เปิดคลินิคธรรมดีต่อไป


ท่านควรรู้ว่าท่านมีกำลังแค่ไหนที่จะช่วยคนอื่นได้โดยไม่ต้องทำตนให้ลำบาก เพราะท่านไม่อาจช่วยทุกคนได้ ใครที่จำเป็นต้องซื้อยาแพงแต่เราไม่มีกำลังพอก็ต้องวางเฉยด้วยว่าเป็นผลกรรมผู้นั้นเอง สำคัญคือท่านได้ช่วยแล้วเท่าที่ท่านจะสามารถ ... ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
เจตพัฒน์
วันที่ 26 เม.ย. 2551
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
vitat
วันที่ 27 เม.ย. 2551

อ้างอิงจาก : หัวข้อ โดย เจตพัฒน์

สวัสดีครับ ผมเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ครับ มีกัลยาณมิตรแนะนำมาทาง e-mail ครับ ผมมีปัญหา อยากขอความคิดเห็นจากสมาชิกกัลยาณมิตรทุกท่านครับ คือ ผมเป็นหมอครับผมตั้งใจอยากเปิดคลินิคที่วัดสักแห่ง แล้วรักษาฟรีครับ รักษาใครก็ได้ อาจเป็นเปิดเฉพาะวันอาทิตย์ครับ ผมอยากได้ไอเดียครับ ว่าจะบริหารคลินิคอย่างไรดี คือ คอนเซ็บของผม อยากเปิดรักษาฟรีจริงๆ ผมไม่รับเงินตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น อยากช่วยเหลือคนยากจริงๆ ขอบคุณครับ


ขออนุโมทนาด้วยครับ ลองศึกษาแนวทางของ”สันติอโศก” (สมณะโพธิรักษ์) สิครับ ในเรื่องของสาธารณโภคี (สาราณียธรรม ๖ประการ) ในเรื่องของสาธารณโภคี (สาราณียธรรม ๖ประการ)

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
บักกะปอม
วันที่ 27 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาการทำความดีเป็นสิ่งที่ดี พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความดีทุกระดับแต่ควรดูความเหมาะสมและกำลังของตนด้วย

จะได้ไม่เกิดความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่นหากมีความมั่นคงในคุณความดีเมื่อมีโอกาส ก็เจริญกุศลตามกำลังทุกที่ ทุกเวลา ทุกคน ทุกโอกาส เมื่อกุศลจิตเกิดและปัจจัยพร้อมความดี ทำเท่าไร ก็ไม่พอ จึงไม่ควรรอ ไม่ควรเลือกชีวิตนี้น้อยนัก อีกไม่นานก็ตายความมั่นคงในกุศลกรรม และพระธรรมวินัย เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตไปในทางที่ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
namarupa
วันที่ 27 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอค่ะ ยังไงๆ ก็เก็บวันอาทิตย์ไว้ลองมาฟังธรรมที่มูลนิธิ ฯ ดูก่อนสิค่ะ คุณหมอจะได้รับประโยชน์มากๆ และเมื่อคุณหมอฟังพระธรรมค่อยๆ เข้าใจขึ้นแล้ว ก็อาจจะมีไอเดียดีๆ เกิดขึ้นได้ อย่าเพิ่งผลีผลามไปทำอะไรที่แม้ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี

แทนที่จะเป็นกุศลก็อาจจะกลับกลายเป็นอกุศลไปเสียก็ได้ อย่างน้อยๆ นอกจากจะได้เจริญเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้ว ก็อาจจะพูดธรรมช่วยเกื้อกูลคนไข้ได้ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
ก่อบุญ
วันที่ 23 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนากับคุณหมอด้วยครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ