การทำบุญวันเกิด
ทุกครั้งที่มีการไปทำบุญที่วัดใหม่ๆ พระท่านก็จะถามว่ามาบุญเนื่องจากอะไร วันเกิดหรือ? คนส่วนใหญ่มักทำบุญเฉพาะแค่วันสำคัญๆ เช่นวันเกิด ใครมีความคิดเห็นบ้างเกี่ยวกับการทำบุญวันเกิด
การทำบุญ ไม่ต้องรอวาระ โอกาสหรือวันเกิด ทำได้ทันที แม้กุศลเพียงเล็กน้อย การทำบุญวันเกิด เป็นกุศโลบาย ให้มีโอกาสในการทำบุญ ใครจะทำบุญอย่างไร ก็เป็นอัธยาศัยของแต่ละคนไม่ก้าวก่ายกัน แต่ควรแก่การอนุโมทนา ไม่ว่าจะทำเมื่อไร อย่างไร เท่าไร และพึงระลึกว่า การทำบุญ ไม่ใช่แค่การใส่บาตร หรือ ทำบุญวันเกิด การทำบุญ หรือ ปุญญกริยาวัตถุ มี ๑๐ ประการ
วันนี้ เราได้พิจารณาตัวเรา ว่าได้ทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่างแล้วหรือยัง อย่าละโอกาส แม้เพียงเล็กน้อย ในการทำกุศลกรรม เพราะถ้าเราพิจารณาให้ดี จะพบว่า ในวันหนึ่งๆ โอกาสในการทำกุศล หรือ ทำบุญ มีน้อยมาก ไม่ว่า จะประกอบหรือไม่ประกอบด้วยปัญญา
เอาเถอะทำบ้างก็ยังดี..ที่คิดจะทำ บางคนก็ไม่เคยทำเลย ทำเถอะครับบุญหน่ะ..ไม่บาปหรอก...เอะพูดยังไง
เมื่อครั้งยังไม่ศึกษาธรรม จะทำบุญเฉพาะโอกาส หรือวันสำคัญๆ ทำแล้ว ขอให้ได้ผลของการทำนั้น เมื่อได้เข้าใจธรรมบ้าง จึงเข้าใจว่า กุศลทุกชนิดควรเจริญ ไม่ต้องเลือก วัน เวลา และไม่หวังถึงผลของกุศลนั้นๆ เพราะเหตุดี ผลย่อมดีเสมอ
ขณะนี้กำลังเกิด อะไรเกิดจิตที่เป็นกุศลหรือจิตอกุศลหรือจิตประเภทใด ก็เกิดอยู่ทุกขณะและดับไป กุศลเกิดได้ในที่ทั้งปวงและไม่เลือกเวลา อกุศลก็เช่นกัน แต่เป็นธรรมและเป็นธรรมดา
คนส่วนใหญ่ จะเข้าใจว่าการทำบุญ คือ ต้องไปวัดและทำตามวันสำคัญต่างๆ เช่น ทำบุญวันเกิด ทำบุญสงกรานต์ ทำบุญวันวิสาขบูชา หรืออื่นๆ อีกมากมายโดยที่ไม่เข้าใจว่าบุญอย่างอื่น ยังมีอีกมายมายที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน คือบุญกิรยาวัตถุ ๑๐ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การอนุโมทนา การเจริญภาวนา เป็นต้น บุญเกิดได้ทุกขณะที่จิตเป็นกุศล คิดดี พูดดี ทำดี
วันต่างๆ ล้วนเป็นเพียงบัญญัติของโลกที่สมมติกันขึ้นมา แต่กุศลธรรม และสภาพธรรมอื่นๆ ล้วนมีจริง เมื่อเป็นอย่างนี้คิดว่าควรใส่ใจในสิ่งไหนมากกว่ากันครับ
เมื่อก่อนเวลาครบรอบวันเกิดมักจะสงสัยว่า เกิดมาทำไม แล้วจะตายยังไง ตายแล้วจะไปไหนและอื่นๆ อีกมากมายแต่เมื่อมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัย ก็พอจะเข้าใจขึ้นบ้างและประทับใจพระพุทธพจน์คาถานี้เป็นอย่างยิ่ง.
พระปัจฉิมวาจา
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาพวกเธอจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.
ข้อความจากอรรถกถา
จงยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่ไปปราศจากสติ ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมที่เตียง ปรินิพพานประทานพระโอวาท ที่ประทานมา ๔๕ พรรษารวมลงในบท คือ ความไม่ประมาท อย่างเดียวเท่านั้น