พระอรหันต์มีสติตลอดเวลาไหมครับ
คุณ lichinda ต้องทำการบ้านแล้วนะคะ
ด้วยการอ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป
คำตอบอยู่ในนั้นทั้งหมดเลยค่ะ
เอ ทำไมหมู่นี้ คุณ Lichinda ตั้งกระทู้ วนเวียนพันไปพันมา น่าจะรออภิปรายแต่ละกระทู้ให้กระจ่างแจ้งไปตามลำดับ ผมไม่มีพื้นฐานในพระอภิธรรม แต่สนใจติดตามอ่าน พอเจอหลายกระทู้ที่เนื้อหากลืนกันไป
ก็เริ่มงงๆ โปรดเห็นใจคนรู้น้อย แต่อยากเกาะติดไปด้วย รอกันหน่อยนะครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอพระสัทธรรม ทำให้ใจของคุณเบิกบาน
ผมอ่านปรมัตถธรรมสังเขปหลายรอบ ขณะนี้ก็อ่าน ที่ยกมาโพส ก็นำมาจากปรมัตถธรรมสังเขป ผมได้รับหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปมากีเล่ม ก็แจกเขาหมดไปขอที่บ้านธัมมะก็หมด แต่ไม่เป็นไร ผม Load จาก web บ้านธัมมะขึ้นหน้าจออยู่แล้ว คุณบอกหน้ามาเลย ผมกำลังจะหาที่อ้างอิงว่า " พระอรหันต์ไม่มีสติตลอดเวลาอยู่ครับ " ทำให้ผมสงสัยว่าควรกล่าวอย่างนี้หรือไม่ ไม่พูดจิตที่เป็นชาติวิบากนะครับ แต่พูดชาติที่เป็นกริยาจิต ขอบคุณมากครับคุณ devout ที่สนทนาด้วย เราศึกษาธรรมต้องสงสัย นักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นต่างๆ ก็เป็นคนช่างสงสัยจริงไหมครับ ถ้าผมพูดผิดทุกท่านไม่ต้องเกรงใจ ได้เคยมีวาสนาตามอาจารย์มัณฑเลย์ พุกาม ย่างกุ้ง หงสา ช่วยกันหอบหิ้วของต่างๆ หลายท่านคงเคยเห็นกัน แต่ไม่เป็นไร ผมอยากเห็นธรรมมากกว่า ไม่ต้องมีตัวตน ถึงรู้ก็นิ่งเสีย เข้าสู่กระแสธรรมธารา
ถ้าพูดโดยเข้าใจแล้ว ก็จะใช้คำว่า พระอรหันต์ เป็นผู้มีปรกติไม่หลงลืมสติตลอดเวลามากกว่าครับ แต่ถ้าจะพูดว่า พระอรหันต์มีสติเกิดตลอดเวลา จะเป็นโดยนัยว่า ตลอดเวลาที่เป็นชวนจิตก็ได้ แต่อาจจะละไว้ในฐานที่ผู้ที่มีพื้นฐานแล้วสามารถเข้าใจได้ครับหรือจะเป็นโดยนัยว่า ทุกครั้งที่สติเกิดนั้น ไม่มีทั้งกุศล หรืออกุศลที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลโดยตลอดก็ได้ เพราะท่านดับพืชเชื้อ คืออวิชชาที่จะทำให้หลงลืมสติเป็นสมุจเฉทแล้วครับ ซึ่งจะให้ดี ถ้าเราได้พิจารณาวิถีจิตของพระอรหันต์แต่ละขณะโดยละเอียด เราก็อาจจะเข้าใจได้ดีขึ้นครับ และจะเลียงการใช้คำว่า มีสติเกิดตลอดเวลาไปในตัว เพราะความจริงแม้จิตของพระอรหันต์จะมี 2 ชาติ แต่กระนั้น สติก็ไม่ได้เกิดตลอดเวลา คือสติของท่านไม่ได้เกิดทุกขณะจิตนั่นเองครับเช่น จักขุทวารวิถีของพระอรหันต์ (แบบคร่าวๆ )
อตีตภวังค์ เป็น วิบากจิต (มีสติเกิดร่วมด้วย) ภวังคจลนะ เป็น วิบากจิต (มีสติเกิดร่วมด้วย) ภวังคุปปัจเฉทะ เป็น วิบากจิต (มีสติเกิดร่วมด้วย)
ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็น กิริยาจิต (ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
จักขุวิญญาณจิต เป็น วิบากจิต (ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
สัมปฏิจฉันนจิต เป็น วิบากจิต (ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
สันตีรณจิต เป็น วิบากจิต (ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
โวฏฑัพพนจิต เป็น กิริยาจิต (ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
ชวนจิต เป็นกิริยาจิต (มีสติเกิดร่วมด้วย) (ยกเว้น หสิตุปปาทจิต ไม่มีสติเกิดร่วมด้วย)
ตทาลัมพณจิต เป็นวิบากจิต (.............................) * * *
สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า....
อเหตุกจิตของพระอรหันต์ทั้ง ๑๘ ดวงไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย (เพราะไม่ประกอบด้วยเหตุ) จิตที่เหลือนอกนั้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตหรือมหากุศลญาณวิปปยุตค่ะ
ตรง * * * นี้ผมยังไม่แน่ใจว่า ตทาลัมพณจิตของพระอรหันต์จะมีสติเกิดร่วมด้วยหรือไม่เรียนถามท่านผู้รู้ช่วยกรุณาตอบเป็นธรรมทานให้ด้วยครับ เพราะเมื่อกลับไปคิดดูเริ่มลังเลใจว่า จะเป็นสันตีรณจิตที่ทำตทาลัมพณกิจทางปัญจทวาร หรือว่าจะเป็นมหาวิบากญาณสัมปยุตต์ เพราะถ้าเป็นไปตามนี้ ก็คงจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่มากระทบ ทำให้สามารถเป็นได้อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงไม่อาจจะสรุปแน่ชัดลงไปได้
ข้อความบางตอนจาก...
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
เมื่อครบองค์ดังกล่าว ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้ ตทาลัมพนะที่เกิดนี้จะเป็น กุสลวิบากหรืออกุสลวิบากและจะเป็นโสมนัสหรืออุเบกขา ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ อารมณ์ ที่มาประสบนั้นเป็นสำคัญโดยมีข้อจำกัดว่า
ก. อารมณ์นั้นเป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมาก ตทาลัมพนะที่เกิด ย่อมเป็นกุสลวิบาก และเป็นโสมนัสด้วย
ข. อารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ดีอย่างปานกลาง อย่างสามัญทั่วๆ ไป ตทาลัมพนะที่เกิดก็เป็นกุสลวิบากเหมือนกัน แต่เป็นอุเบกขา
ค. แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็น อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีแล้วไซร้ ตทาลัมพนะ ที่เกิดต้องเป็นอกุสลวิบาก และเป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว
ว่าจะอาศัยฟังเป็นหลัก แต่พออ่านกระทู้คุณ lichinda หลายๆ กระทู้ที่ถามวนไปวนมาบ่อยมาก นอกจากต้องอ่านปรมัตถธรรมสังเขปซ้ำบ่อยกว่าเดิมแล้ว สงสัยคงต้องไปรื้อตำราพระอภิธรรมเล่ม ๑ (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) ที่เก็บขึ้นหิ้งนานแล้วมาปัดฝุ่นอ่านคู่กันไปซะแล้ว
การศึกษาพระธรรม เพื่อรู้จักตนเอง (แต่ต้องเข้าใจว่า ไม่มีตน มีแต่ จิต เจตสิก รูป)
ถ้ายังไม่ใจตรงนี้ ก็อย่าเพิ่งใจร้อน ว่าต้องรู้ทั้งหมดโดยเฉพาะจิตของพระอรหันต์ หรือจิตของผู้อื่นเราต่างก็เริ่มศึกษา ยังรู้น้อย จึงควรศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปคู่มืออภิธรรมก็มีแล้ว ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ รู้ ธรรมะไม่ใช่ต้องรู้หมดทุกเรื่องหรือจำหมดทุกเรื่อง (เพราะแต่ละคนสั่งสมมาไม่เหมือนกัน) แต่เรื่องสำคัญคือศึกษาเพื่อเข้าใจ (กิเลส) ของตัวเอง
วันนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวธรรมเตือนใจพวกเราไว้ดังนี้ค่ะ
ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังเกิดขึ้นปรากฏอยู่เฉพาะหน้า พวกเราก็ยังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏกันเลย แต่จะไปพยายามรู้ในสิ่งที่รู้ไม่ได้ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เลยทั้งสิ้น
การศึกษาธรรม ประโยชน์สูงสุดคือการเข้าใจในสิ่งที่มีจริงๆ เพื่อค่อยๆ ละความไม่รู้ ค่อยๆ ละในความเป็นตัวตน การที่รู้ชื่อเยอะๆ รู้เรื่องราวเยอะๆ แต่ไม่เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้เลย
ตัวเองก็ฟังท่านอาจารย์มานานมาก แต่ก็ไม่เคยเบื่อที่จะได้ยินได้ฟังท่านอาจารย์กล่าวธรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเมื่อได้ฟังทุกครั้งก็รู้ว่าความเข้าใจที่มีอยู่แล้วก็มีเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ และแน่นขึ้น แล้วพวกเราควรที่จะเชื่อท่านอาจารย์ดีหรือไม่คะ?
........หรือว่าเรายังพอใจที่จะเป็นผู้ว่ายากคะ?.......
ความคิดเห็นที่ 2 โดย : khampan.a
จุดประสงค์ ก็คือ เพื่อให้เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นธรรมนั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ในตำรา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้อยู่ในตำรา ครับ เพราะเหตุว่า ขณะนี้ทางตา ที่กำลังเห็นก็เป็นธรรม ทางหู ที่กำลังได้ยินก็เป็นธรรม ความไม่พอใจ ความโกรธก็เป็นธรรม ความติดข้องต้องการก็เป็นธรรมดีใจ เสียใจ เศร้าใจ หดหู่ใจ กลัว ก็เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมดเพราะเป็นสิ่งที่มีจริง ครับ
ที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้อยู่ในตำรานั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องฟังไม่ต้องสอบถาม ไม่ต้องสนทนาธรรมกันเลย ในความเป็นจริงแล้วต้องอาศัยการอ่าน การฟัง การสนทนา การสอบถาม การพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ครับ