หัวใจคือ?

 
แล้วเจอกัน
วันที่  28 เม.ย. 2551
หมายเลข  8463
อ่าน  2,353

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

หัวใจของการศึกษาธรรมคือ เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ไม่ว่าศึกษาธรรมหรือได้ยินได้ฟังพระธรรมจากส่วนใดควรเข้าใจความจริงว่า ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประวัน ไม่ว่าพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมก็คือสภาพธรรมขณะนี้เอง ปัญญาขั้นการฟังที่เห็นถูกจึงเริ่มด้วยความเข้าใจว่าธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน การฟังพระธรรมไม่ว่ามากหรือน้อยก็ย่อมเข้าใจว่าไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นคือ เข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ นี่คือหัวใจ

ส่วนเครื่องบำรุงหัวใจคือ อบรมบารมีในชีวิตประจำวัน ขัดเกลากิเลส เจริญกุศลทุกๆ ประการฟังด้วยความเห็นถูกเพื่อเข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้ หวังว่าคงไม่ลืมหัวใจ ถ้าเข้าใจความจริงก็จะเข้าใจว่า หัวใจมีจริงไหม? ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
shumporn.t
วันที่ 28 เม.ย. 2551

หัวใจของการศึกษาธรรมคือ เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 28 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Pararawee
วันที่ 28 เม.ย. 2551

หัวใจไม่มีค่ะ มีแต่ปรมัตถธรรม อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บักกะปอม
วันที่ 28 เม.ย. 2551


หัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่พ้นไปจากปรมัตถธรรมอันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพานซึ่งก็คือ นามธรรม และรูปธรรม ที่เข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนสภาพธรรมที่เกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ การไม่รู้สภาพธรรมตามความจริงคือ อวิชชา เป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย มีสภาพธรรมที่พ้นทุกข์ได้จริง พ้นจากสังสารวัฏฏ์ คือ นิโรธ และหนทางเดียว ที่จะดับทุกข์ได้จริง พ้นจากสังสารวัฏฏ์ คือมรรค ๘

มรรคมีองค์ ๘ คือ การเจริญสติปัฏฐาน
ปรมัติธรรม ๔ และ อริยสัจจ์ ๔ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
หากเข้าใจแก่นแท้ ทุกคาถาในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ จะไม่ขัดกันเลยเพราะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสทุกระดับสูงสุดก็คือ ไม่มีกิเลสอีกเลย ซึ่งก็คือ พระนิพพานอันเป็นสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกได้ทรงพิสูจน์แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 28 เม.ย. 2551

หัวใจของศาสนาพุทธคือ

1. สอนให้ละความชั่ว

2. สอนให้ทำความดี

3. อบรมจิตให้ผ่องใส

เบื้องต้นของการศึกษาธรรมะจุดประสงค์เพื่อรู้แล้วละ เพื่อเป็นคนดี และทำความดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
lichinda
วันที่ 28 เม.ย. 2551

ทำไมบางท่านว่ามีหัวใจ บางท่านว่าไม่มีหัวใจ นี่เราจะไม่เอาบัญญัติกันเลยหรือไง รอยเท้าสัตว์น้อยใหญ่ก็รวมลงอยู่ในรอยเท้าช้าง คือ รูป-นาม คือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เห็น ได้ยิน ฯลฯ เพราะชวนวิถีจิตเกิดดับซ้ำกัน ๗ ขณะ อย่ากลัวเลยว่าจะไม่มีสภาพธรรมปรากฏให้รู้ ทาน ศีล ภาวนา ก็เพื่อระลึกรู้สภาพธรรมในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Idoitforyou
วันที่ 29 เม.ย. 2551

หัวใจมีจริงไหม

ความจริงมี ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ

หัวใจมีจริงไหม เมื่อว่าโดยความจริงแท้แล้ว (ปรมัตถสัจจะ) มีแต่นามธรรมและรูปธรรม อาจจะกล่าวว่านี่ไงหัวใจ มีเมื่อไหร่ก็เมื่อคิด ขณะหลับสนิท หัวใจอยู่ไหน ขณะเห็น หัวใจมีไหม ขณะได้ยิน ได้กลิ่น...เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมเท่านั้น หัวใจที่เป็นก้อนๆ ก็เป็นเพียงการประชุมรวมกันของธาตุดิน...ลม

ดังนั้น สิ่งที่มีจริงคือรูปธรรม แต่บัญญัติสมมติให้เข้าใจกัน ตรงกันว่าเรียกว่า หัวใจ จริงโดยสมมติขึ้นเพื่อให้เข้าใจ ตรงกัน จึงควรเข้าใจว่าอธิบายโดยนัยไหน คือถ้าอธิบายโดยการอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หัวใจไม่มี มีแต่สภาพธรรม แต่อธิบายเพื่อสื่อให้เข้าใจโดยสมมติก็มีจริงอีกนัยหนึ่งครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 2 พ.ค. 2551

ศึกษาธรรม....เพื่อความเห็นตรง

เพื่อความไม่ติด

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
narong.p
วันที่ 4 พ.ค. 2551

สิ่งสำคัญ (จะเรียกว่าหัวใจก็สุดแท้แต่) ในการศึกษาพระธรรม คือ เพื่อ ละ ขั้นต้นก็เพื่อละความไม่รู้ (เจริญปัญญาซึ่งมีหลายขั้น) ต่อๆ ไปก็คือการละอกุศลชนิดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ความเห็นผิด ครับท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 พ.ค. 2551

"ขั้นต้นก็เพื่อละ ความไม่รู้ (เจริญปัญญาซึ่งมีหลายขั้น) ต่อๆ ไปก็คือการละอกุศลชนิดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ความเห็นผิด" ความไม่รู้เป็นรากเหง้าแห่งอกุศลธรรมทั้งปวง เป็นสิ่งที่ละยากที่สุด และเป็นสิ่งที่จะละได้เป็นลำดับสุดท้าย ด้วยอรหัตตมรรค

ดังนั้น สิ่งที่จะต้องละเป็นลำดับแรก คือ ความเห็นผิด เพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นผิด ย่อมนำไปสู่ข้อปฏิบัติที่ผิดๆ ค่ะ ซึ่งไม่ใช่หนทางที่จะนำออกจากสังสารวัฏฏ์

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ