กรุณาอธิบายคำว่า.....

 
บักกะปอม
วันที่  28 เม.ย. 2551
หมายเลข  8469
อ่าน  1,168

เป็นเรา ด้วย ตัณหาเป็นเรา ด้วย ทิฏฐิเป็นเรา ด้วย มานะ กรุณาอธิบายสภาพความรู้สึก ประกอบกับ ความหมายของศัพท์ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 เม.ย. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บักกะปอม
วันที่ 29 เม.ย. 2551

ขอเรียนถามเพิ่มเติมความเป็นเราด้วยตัณหา (ไม่มีความเห็นผิด) ต้องบรรลุโสดาบันแล้วเท่านั้นใช่ไหม กุศลจิตของปุถุชน ไม่ต่างกับพระอริยะ ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยสติปัฏฐานใช่หรือไม่

ขออนุโมทนาขณะกุศลจิตเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บักกะปอม
วันที่ 29 เม.ย. 2551

กรุณาตอบ คำถามในกระทู้ ๐๘๔๕๙โดย บักกะปอม ด้วย...ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
shumporn.t
วันที่ 29 เม.ย. 2551

เป็นเราโดยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด จะไม่เกิดอีกเลยเมื่อเป็นพระโสดาบัน เป็นเราโดยตัณหา ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ โลภมูลจิตของปุถุชนและ พระเสขบุคคลเหมือนกัน กุศลจิตมีอารมณ์เป็นปรมัตถและบัญญัติเกิดกับบุคคลใด ก็เหมือนกัน พระอริยบุคคลไม่ได้มีปรมัตถอารมณ์ตลอด ท่านมีทั้งบัญญัติและปรมัตถ์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
happyindy
วันที่ 1 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 1 พ.ค. 2551

โลภมูลจิตของปุถุชนและพระเสขบุคคลเหมือนกัน คือเป็นอกุศล แต่พระเสขบุคคลไม่มีอนุสัยกิเลสอันเป็นพืชเชื้อที่จะนำไปสู่อบาย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บักกะปอม
วันที่ 1 พ.ค. 2551

ขอเรียนถามเพิ่มเติม...

๑ ขณะจิตที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ จิตขณะนั้นไม่มีสติปัฏฐานเกิดร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็น บุคคลใดก็ตาม (เช่นพระอรหันต์และปุถุชน) ถูกหรือไม่

๒ กรุณาแนะนำความแตกต่าง ระหว่าง อกุศลมูลจิต และ อนุสัยกิเลส

ขอขอบคุณ และอนุโมทนา ทุกคำตอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
บักกะปอม
วันที่ 1 พ.ค. 2551
ขออภัย...ขอแก้ไข คห. ๓ ....หมายความว่า กรุณาตอบ คำถาม ของบักกะปอม ในกระทู้ของท่านอื่นด้วย
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ค. 2551

๑. ถูกต้องค่ะ

๒. อกุศลจิต หมายถึงจิตที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว ต่างจากอนุสัยกิเลสคือกิเลสที่นอนเนื่อง เป็นกิเลสที่ยังละไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็สามารถทำให้อกุศลประเภทอื่นๆ เกิดขึ้นค่ะ เพราะเป็นกิเลสที่ยังไม่ได้ละ เช่น วิจิกิจฉา เรายังละไม่ได้ มีเหตุมีปัจจัยก็เกิดอีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
บักกะปอม
วันที่ 2 พ.ค. 2551
รับทราบ...ขออนุโมทนาคุณวรรณี ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ