ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติจิต เป็นชาติวิบาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 เม.ย. 2551
หมายเลข  8485
อ่าน  2,137

ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติจิต เป็นชาติวิบาก สติปัฏฐานไม่เกิดแน่ ถูกต้องไหม

.. โดย : บักกะปอม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 30 เม.ย. 2551

ปฏิสนธิจิต เกิดเพียงขณะเดียวในชาตินี้ ดับไปแล้ว ไม่อาจจะเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้อีกต่อไป เพราะสติปัฏฐานจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อได้อบรมเจริญวิปัสสนาโดย เริ่มจากการฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

จุติจิต ยังไม่เกิด เมื่อเกิดก็ทำกิจเคลื่อนภพชาติ เมื่อดับไป ปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นผลของกรรมหนึ่งในอดีตก็เกิดต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่น ก็เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้อีกครับ เพราะหลังปฏิสนธิก็เป็นภวังค์ หลังจากภวังค์ดับไป ก็เป็นมโนทวารวัชชนจิต ตามด้วยชวนจิตที่เป็นโลภมูลจิต ที่กระทำกิจยินดีติดข้องในภพชาติ และก็ไม่รู้ว่า หลังจากนั้นจะได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมอีกหรือไม่ครับ

ภวังคจิต เกิดดับสืบต่อจากปฏิสนธิจิต ดำรงภพชาติไปจนกว่าจะเปลี่ยนเป็นวิถีจิตรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต จะมีสติเกิดร่วมด้วย ก็ต่อเมื่อปฏิสนธิด้วยจิตที่เป็นมหาวิบาก รูปฌานวิบาก หรืออรูปฌานวิบาก แต่ก็ยังไม่ใช่สติปัฏฐานอยู่ดี เพราะสตินั้นเกิดกับโลกียวิบากจิต ไม่ได้เกิดกับชวนจิต แต่ปัญญาที่เกิดร่วมกับสติปัฏฐานหลังจากที่ได้อบรมเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ก็อาจจะสามารถที่จะรู้ชัดในภวังคจิตได้ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถแยกการรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ เช่น ทางตา กับ ทางหู ฯลฯ ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 30 เม.ย. 2551

ถูกต้องค่ะ สติปัฏฐานเกิดในขณะที่เป็นชวนวิถี มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 30 เม.ย. 2551
เป็นผู้ตามอ่านเพื่อศึกษา ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 30 เม.ย. 2551

ศึกษาด้วยคน

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 1 พ.ค. 2551

เมื่อสติปัฏฐานเกิดกระทำกิจอะไร

เมื่อปฏิสนธิ ภวังค์ จุติจิตเกิดกระทำกิจอะไร

กิจต่างกัน อารมณ์ต่างกัน จะเกิดพร้อมกันไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บักกะปอม
วันที่ 1 พ.ค. 2551

อ้างอิงจาก คห. ๑ ที่ท่านกล่าวไว้ในเรื่อง ...สตินั้นเกิดกับโลกียวิบาก ไม่เกิดกับชวนจิตขัดแย้งกับ คห. ๒...ว่าสติปัฏฐานเกิดที่ชวนวิถีกรุณาแนะนำด้วยขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
shumporn.t
วันที่ 3 พ.ค. 2551

...สตินั้นเกิดกับโลกียวิบาก ไม่เกิดกับชวนจิตขัดแย้งกับ คห. ๒...ว่าสติปัฏฐานเกิดที่ชวนวิถี

สติเจตสิกเป็นโสภณสาธารณเจตสิก ไม่ใช่แต่เฉพาะกุศลธรรมเท่านั้น สภาพธรรมที่ดีงามแต่ไม่ใช่กุศล ยังมีกุศลวิบากและโสภณกิริยา ซึ่งเป็นเฉพาะพระอรหันต์ผู้ดับกุศลและอกุศลเป็นสมุจเฉทแล้ว.....

สติปัฏฐานเป็นหนทางดำเนิน คือ การจะรู้ความจริงของสภาพธรรมต้อง อบรมสติและปัญญาด้วยสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ กุศลจิตญาณสัมปยุตต้องเกิดที่ชวนวิถี

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 3 พ.ค. 2551

คุณวรรณีได้อธิบายเพิ่มเติมถูกต้องแล้วครับ ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ครับ เพราะผมอธิบายสติที่เกิดกับภวังคจิตซึ่งเป็นชาติวิบาก แต่ว่าไม่ได้อธิบายถึงสติที่เกิดกับชวนวิถีครับ เพราะเหตุว่า ในหัวข้อนั้นพูดถึงภวังคจิต แต่ถ้าคลุมเครือไป ใช้ภาษาไม่รัดกุม ก็ขออภัยด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
shumporn.t
วันที่ 3 พ.ค. 2551

สติปัฏฐานมี ๓ ความหมาย คือ

สติปัฏฐาน เป็นหนทางดำเนินของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลาย ตัวสติเอง เป็นสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน คือ อารมณ์ของสติ เรียกว่า สติปัฏฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม)

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
บักกะปอม
วันที่ 3 พ.ค. 2551

ขอยอมรับว่าพระอภิธรรม เป็นเรื่องยากมากๆ คำตอบของสหายธรรมทุกท่าน มีประโยชน์มากๆ ย้ำเตือนว่า ต้องกลับไปทำการบ้านมาใหม่สุดท้ายขออนุโมทนา ในกุศลวิริยะของทุกๆ ท่านมา ณ ที่นี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 6 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ