จิตตสังเขปบทที่ ๘ ...เจตสิกทำให้จิตวิจิตร
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 พ.ค. 2551
หมายเลข 8596
อ่าน 1,270
จิตตสังเขปบทที่ ๘
ลักษณะของจิต ๔ ประการ คือ
๑. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์
๒. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี
๓. ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นสภาพธรรมอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก
๔.อนึ่ง จิตแม้ทุกดวงชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควรโดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม
วิจิตร คือ ต่างๆ ไม่เหมือนกัน และที่วิจิตร คือ ต่างๆ กันนั้นโดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม ต้องมีเหตุที่ทำให้จิตต่างกัน ฉะนั้น อะไรเป็นเหตุให้จิตต่างกัน จิตเป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีเจตสิกเป็นปัจจัยปรุงแต่ง เจตสิกเป็นปรมัตถธรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต ฉะนั้น เจตสิกซึ่งเป็น สัมปยุตตธรรมที่เกิดกับจิตนั่นเองทำให้จิตต่างๆ กันไป
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป