ไม่เข้าใจ....
เคยฟังว่า ธรรมใดเป็น อนันตรูปนิสสยปัจจัย
ธรรมนั้นไม่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย
หมายความว่าอย่างไร?
ในอรรถกถาอธิบายว่า ปัจจัย ๓ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มีลักษณะของความเป็นปัจจัยต่างกัน เป็นปัจจัยวิสภาคกันไม่ระคนกัน คือ เมื่อเป็นปัจจัยหนึ่งแล้วจะไม่เป็นสองปัจจัยที่เหลือครับ
ขออธิบายตามความเข้าใจครับ ถูกหรือผิดประการใด ขอได้โปรดพิจารณาครับ
อนันตรูปนิสสยปัจจัย จิตที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยให้จิตดวงหลังที่เหมาะสมเกิดขึ้นสืบต่อ โดยความที่เป็นปัจจัยที่มีกำลัง เช่น กุศลจิตในชวนวิถีที่ ๑ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้กุศลจิตจิตในชวนวิถีที่ ๒ เกิดขึ้นสืบต่อทันทีไม่มีระหว่างคั่น แม้เว้นจากธรรมบางอย่าง จิตก็ยังเกิดดับสืบต่อได้ เช่น เจตสิกฝ่ายอกุศลที่ไม่เกิดกับกุศลจิต แต่เว้นจากจิตเกิดดับสืบต่อกันโดยอนันตรูปนิสสยปัจจัยแล้ว ย่อมไม่มีทั้งจิตและเจตสิกครับ
ปกตูปนิสสยปัจจัย อุปนิสัยที่เคยกระทำมาแล้ว เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ให้การกระทำสิ่งนั้นเจริญขึ้นได้เช่น เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย จึงเข้ามาเพื่อศึกษาพระธรรม ภายหลังจึงมีการเจริญกุศลทุกประการ ศรัทธาที่เกิดกับกุศลจิตนั้นดับไปแล้ว ไม่ได้เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้กุศลทุกประการอื่นๆ ที่เจริญในภายหลังเกิดสืบต่อทันที แต่ก็สะสมอยู่ในจิตจนเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้กระทำสิ่งนั้นมากขึ้น บ่อยขึ้นในเวลาต่อมา ส่วนในด้านอกุศลก็โดยนัยเดียวกันครับ
จิตและเจตสิกเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย ซึ่งขณะนี้ก็มีจิตและเจตสิกเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ในโลกนี้ไม่มีอะไรรวดเร็วยิ่งกว่าจิตค่ะ
อนุโมทนา ครับ
คัมภีร์มหาปัฏฐาน (ปัจจัย 24) เป็นส่วนที่เข้าใจยากที่สุดในพระอภิธรรมปิฎก ผู้ที่เข้าใจแจ่มแจ้งก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา จนกระทั่งในอนาคตก็จะไม่มีผู้ใดในโลกมนุษย์เข้าใจได้เลย
ขณะนี้ ที่ มศพ. จะมีชั่วโมง "พื้นฐานปัจจัยสภาพธรรม" ทุกวัน อาทิตย์ เวลา 13.00 - 14.00 น.
ท่านที่สนใจขอเชิญร่วมสนทนาธรรมได้ครับ