โมทนา และ อนุโมทนา
อนุโมทนา หมายถึง พลอยยินดีชื่นชมตาม เมื่อผู้อื่นทำความดี หรือ ยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำ ดังนั้น ก็คือสภาพจิตนั่นเองที่ยินดีชื่นชมในกุศลของผู้อื่น
หากไม่มีสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก ก็จะไม่มีสภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม ที่มีลักษณะพลอยยินดีในกุศลของผู้อื่น ดังนั้นขณะใดที่ชื่นชมยินดีในกุศลของผู้อื่นด้วยจิตที่เป็นกุศลก็กล่าวคำว่าอนุโมทนา หรือ สาธุ หรือ โมทนา สาธุ ก็ได้ครับ
ซึ่งในความหมายแม้คำว่า สาธุ บางนัยก็มีความหมายเหมือนกับอนุโมทนาครับ
ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราไม่กล่าวคำว่าอนุโมทนาหรือกล่าวคำนั้นที่ไม่ใช่คำว่าอนุโมทนา แต่กล่าวคำว่า โมทนาหรือสาธุ แต่สภาพธรรมคือ จิตนั้นที่ยินดีชื่นชมในกุศลของผู้อื่นนั้นไม่เปลี่ยนหรือแม้ไม่กล่าว แต่ก็มีจิตพลอยยินดีในกุศลของผู้อื่นด้วยกุศลจิตครับ
ดังนั้น ธรรมจึงเป็นสัจจะความจริง มีลักษณะและไม่เปลี่ยนแปลง กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศลครับ แม้กล่าวคำว่าอนุโมทนา หรือโมทนา สาธุ หรือสาธุ ธรรมก็ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะครับ จึงกลับมาที่ความเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ขณะที่สภาพธรรมนั้นกำลังเกิดครับ
ขออนุโมทนาครับ
ส่วนมากใช้คำว่าอนุโมทนาค่ะ ยินดีชื่นชมเวลาเห็นใครทำความดี แม้ไม่ได้พูดออกมา แต่ยินดีในใจก็ได้ จิตในขณะนั้นเป็นกุศลค่ะ
การอนุโมทนา เป็นการชื่นชมยินดี ในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำ การอนุโมทนา ย่อมเกิดจากจิตที่อ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง ขณะนั้นจึงเป็นกุศลจิต โดยที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวคำว่า อนุโมทนา ก็ได้ครับ
การอนุโมทนาในกุศลจิตของผู้อื่นนั้น เป็นความประพฤติของคนดี ครับ อีกนัยหนึ่ง การอนุโมทนา ยังหมายความรวมถึงการรับรองด้วย เช่น ในประโยคที่ว่า "ภิกษุทั้งหลายต่างอนุโมทนาสุภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสดีแล้ว รับรองด้วยเศียรเกล้าว่า สาธุ สาธุ (ดีล่ะ ดีล่ะ) ดังนี้แล"
เห็นด้วยกับทุกความเห็นค่ะ ไม่ต้องพูด แค่คิดในใจก็เหมือนกันค่ะ