ชาติของจิต
ลักษณะของจิตประการที่ ๔ คือ จิตแม้ทุกดวง ชื่อว่าจิตเพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควรโดยอำนาจแห่งสัมปยุตตธรรม
เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท แต่ว่าจิตดวงหนึ่งๆ ไม่ได้ประกอบด้วยเจตสิกพร้อมกันทั้ง ๕๒ ประเภท จึงทำให้จิตต่างๆ กันไปตามเจตสิกพร้อมกันทั้ง ๕๒ ประเภท จึงทำให้จิตต่างๆ กันไปตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยมากน้อยต่างๆ กัน ตามจำนวนและประเภทของจิตเหล่านั้น จิต ๘๙ ดวงซึ่งต่างกันนั้น จำแนกออกเป็นประเภทของชาติ คือ สภาพของจิตที่เกิดขึ้นนั้นต่างกันเป็น ๔ ชาติ คือ ...
เป็นกุศลจิต ๑
เป็นอกุศลจิต ๑
เป็นวิบากจิต ๑
เป็นกิริยาจิต ๑
ในวันหนึ่งๆ นั้นมีกุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง วิบากจิตบ้าง และกิริยาจิตบ้าง จิตซึ่งจำแนกเป็นชาติต่างๆ นั้นเป็นไปตามสภาพของจิต ไม่ใช่เป็นชาติชั้นวรรณะเช่น ชาติไทย จีน แขก แต่สภาพจิตที่เป็นกุศลนั้น ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหนขณะใด จิตนั้นก็เป็นกุศล และจิตที่เป็นอกุศลนั้นไม่ว่าจะเกิดกับใคร จะเป็นสมณะ ชีพราหมณ์ ชาติ ชั้น วรรณะ ผิวพรรณใด จิตที่เป็นอกุศลก็ต้องเป็นอกุศลเปลี่ยนสภาพไม่ได้ นี่คือสภาพของปรมัตถธรรม เมื่อจิตประกอบด้วยสัมปยุตตธรรม คือเจตสิกที่เป็นอกุศล จิตจึงเป็นอกุศล เมื่อจิตประกอบด้วยโสภณเจตสิก จิตจึงเป็นกุศล หรือกุศลวิบาก หรือโสภณกิริยาตามชาติของจิต
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป