วิปัสสนากับสติปัฏฐาน

 
Sam
วันที่  15 พ.ค. 2551
หมายเลข  8652
อ่าน  5,845

ขอเรียนถามครับว่า วิปัสสนากับสติปัฏฐาน เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรและมีความสัมพันธ์กันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 พ.ค. 2551

คำว่า วิปัสสนากับสติปัฏฐาน ในบางแห่งมีความหมายเหมือนกัน ในบางแห่งมีความหมายแตกต่างกัน คือ เหมือนกันโดยนัยที่ว่า สติปัฏฐาน ไม่ใช่กุศลขั้นทาน ศีลหรือสมถภาวนา แต่ เป็นกุศลขั้นวิปัสสนา ต่างกันโดยนัยว่า สติปัฏฐานเป็นขั้นอบรมเจริญสติปัญญา แต่เมื่อปัญญาสมบูรณ์ เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ เรียกว่า วิปัสสนามีความสัมพันธ์กันโดยนัยว่า เพราะมีการอบรมเจริญสติปัฏฐานบ่อยๆ เนืองๆ วิปัสสนาญาณจึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่อบรมสติปัฏฐานวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นไม่ได้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของภาษาที่ใช้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ค. 2551

วิปัสสนา หมายถึงปัญญาที่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมะตามความเป็นจริง เช่น วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ ปัญญาที่แยกนามธรรมรูปธรรม ส่วนสติปัฏฐานเป็นเบื้องต้น เป็นปัญญาที่ยังไม่คมกล้า ยังไม่สามารถแยกขาดจากนามธรรมรูปธรรมได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อนุโมทนา
วันที่ 15 พ.ค. 2551

วิปัสสนา คือเห็นแจ้ง เห็นแจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ สภาพธรรมที่เห็นแจ้งคือสติและปัญญา

สติปัฏฐาน คือ สติและปัญญาที่ระลึกรู้ลักษณะอันเป็นที่ตั้งให้สติและปัญญารู้ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ต่างกันโดยพยัญชนะ ความหมายเหมือนกันแต่เมื่อมีคำว่าญาณต่อท้าย คือ วิปัสสนาญาน

ญาณ คือปัญญา ปัญญามีหลายระดับ สติปัฏฐานมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เป็นปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นปัญญาเบื้องต้นที่จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณระดับต่างๆ

วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์อันเกิดจากการอบรมสติปัฏฐานบ่อยๆ

วิปัสสนาญาณ แยกขาดว่านี้นามธรรมและรูปธรรม แต่สติปัฏฐานยังไม่ได้แยกขาดให้รู้ชัดเจน เพียงแต่รู้ว่าเป็นธรรม แต่จะค่อยๆ ละเอียดมากขึ้น แต่ปัญญายังไม่สมบูรณ์เท่าวิปัสสนาญาณ ดังนั้น วิปัสสนากับสติปัฏฐานบางนัย ความหมายเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณกับสติปัฏฐานเป็นปัญญาที่ต่างระดับกัน แต่ก็ไม่พ้นไปจากปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่งอาศัยสติปัฏฐานที่อบรมจนปัญญาสมบูรณ์ถึงระดับวิปัสสนาญาณ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 พ.ค. 2551

จากที่เคยแสดงความคิดเห็นในกระดานนี้ ว่าสติปัฏฐาน มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ รวมทั้งนิพพานด้วย คงไม่ถูกต้องถ้าจะสรุปว่าสติปัฏฐานไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เนื่องจากสติปัฏฐานไม่ประกอบด้วยปัญญาสมบูรณ์ถึงระดับวิปัสสนาญาณที่จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 16 พ.ค. 2551

สติปัฏฐานมีหลายระดับ คือ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มีครับ

ดังนั้น ขณะที่กำลังอบรมมรรคมีองค์ ๕ เป็นโลกิยะ ไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะที่มรรคเกิดขึ้น สัมมาสติในองค์มรรค เรียกว่า สติปัฏฐาน เป็นโลกุตตระ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 พ.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 16 พ.ค. 2551
ขอบคุณและอนุโมทนาทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Pararawee
วันที่ 16 พ.ค. 2551

วิปัสสนา คือ การรู้แจ้ง (ขณะใดขณะหนึ่งหรือเปล่าคะ)

สติปัฏฐาน คือ สติเกิดรู้สภาพธรรมะที่กำลังปรากฏ (ขณะใดขณะหนึ่ง)

ทำไมจึงบัญญัติสองคำที่แตกต่างคะ ถ้าความคิดเห็นข้างต้นบอกว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน? ขอคำอธิบายสั้นๆ ตรงๆ ได้ไหมคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 16 พ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อนุโมทนา
วันที่ 17 พ.ค. 2551

ประเด็นหนึ่งคือ สัตว์โลกมีการสะสมอัธยาศัยมาต่างกัน บางบุคคลเข้าใจด้วยคำนี้ เหตุผลอย่างนี้ บางบุคคลเข้าใจด้วยคำนี้ ในการอบรมปัญญาเพื่อดับกิเลสนั้น บางครั้ง ก็ใช้คำว่า อบรมสติปัฏฐาน หรือ อบรมวิปัสสนา หรือ อบรมอินทรีย์ ๕ หรือ อบรมอริยมรรค แม้จะต่างกันโดยพยัญชนะแต่ความหมายก็เหมือนกัน คือเป็นการอบรมเจริญปัญญาเพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั่นเอง หากแต่ว่าบุคคลใดเข้าใจในคำใดก็แสดงสิ่งนั้นเพราะสะสมมาต่างกัน เห็นสิ่งเดียวกันคิดปรุงแต่งยังต่างกัน เช่นเดียวกับความเข้าใจแต่ละบุคคลจึงสะสมที่จะทำให้เข้าใจด้วยคำใดต่างกันแต่ก็ไม่พ้นเป็นไปเพื่อการเจริญขึ้นของปัญญา เข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้เหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 18 พ.ค. 2551

เมื่อรอยเท้าของบัณฑิตปรากฏ ... กุลบุตรผู้ฝักใฝ่ในประโยชน์ก็เดินตามรอยนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
narong.p
วันที่ 1 มิ.ย. 2551

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ ในกรณีพูดถึงปัญญาว่ามี ๓ ระดับ

๑. ขั้นฟัง

๒. ขั้นปฏิบัติ

๓. ขั้นวิปัสสนา

ซึ่งสติปัฏฐาน จะเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมในขั้นปฏิบัติ (ถึงเฉพาะสภาพธรรม) ซึ่งเป็นปัญญาระดับที่ทำให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมได้

ส่วนปัญญาขั้นวิปัสนานั้นเป็นปัญญาที่สมบูรณ์ซึ่งสามารถแยกรูปนามได้ในขั้นที่ ๑ ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ระดับ ผู้ที่วิปัสสนาญาณเกิดก็สามารถมีสติปัฏฐานเกิดเนืองๆ ได้ แต่ไม่น่าจะเป็นสิ่งเดียวกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
orawan.c
วันที่ 2 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
baramees
วันที่ 3 มิ.ย. 2551

วิปัสสนา เติมคำว่า ญาณ เป็น วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาระดับสูงต่างจากสติปัฏฐานที่เริ่มอบรม แต่วิปัสสนา คำเดียวไม่มีคำว่า ญาณ ก็หมายถึง สติปัฏฐานนั่นเอง ดังเช่น คำที่ว่าวิปัสสนาภาวนา คือการอบรมเจริญวิปัสสนา หรืออบรมสติปัฏฐานนั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
majweerasak
วันที่ 14 ส.ค. 2551

เห็นด้วยกับ ความคิดเห็นที่ 10 ที่ว่า

"ในการอบรมปัญญาเพื่อดับกิเลสนั้น บางครั้งก็ใช้คำว่า อบรมสติปัฏฐาน หรือ อบรมวิปัสสนา หรือ อบรมอินทรีย์ ๕ หรือ อบรมอริยมรรค แม้จะต่างกันโดยพยัญชนะ แต่ความหมายก็เหมือนกัน คือเป็นการอบรมเจริญปัญญาเพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั่นเอง"

ตามความเข้าใจของผมนั้น ไม่ได้คิดว่า สติปัฏฐาน นั้นมีปัญญาสูงกว่าหรือต่ำกว่า วิปัสสนา เพราะเข้าใจว่า ปุถุชนที่สะสมปัญญามากพอก็สามารถ ก็เจริญสติปัฏฐานได้ ปุถุชนที่บรรลุวิปัสสนาญาณแล้ว ก็เจริญสติปัฏฐาน ต่อได้

พระโสดาบัน ที่มีปัญญามากกว่าปุถุชนที่บรรลุวิปัสสนาญาณ ก็เจริญสติปัฏฐาน

พระสกทาคามี ที่มีปัญญามากกว่าพระโสดาบัน ก็เจริญสติปัฏฐาน

พระอนาคามี ที่มีปัญญามากกว่าพระสกทาคามี ก็เจริญสติปัฏฐาน

และเหมือนเคยได้ยินมาว่า แม้พระอรหันต์ ท่านก็เจริญสติปัฏฐานได้

ดังนั้น สติปัฏฐานจึงมีกำลังของปัญญาที่เกิดร่วมด้วยได้หลายระดับ และไม่น่าจะกล่าวว่า สติปัฏฐานมีระดับปัญญาสูงหรือต่ำกว่า วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Sam
วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ปริศนา
วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
POPO
วันที่ 22 ต.ค. 2552

ขอทราบว่า การเจริญวิปัสสนา หรือ เจริญสติปัฏฐาน ต้องมีการเจริญสมาธิถึงขั้นฌานจิตก่อน จนจิตมีธรรมเอก จึงจะสามารถเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาใช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
toangsg
วันที่ 22 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
prachern.s
วันที่ 23 ต.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 18

การเจริญสติปัฏฐาน ไม่จำเป็นต้องเจริญสมาธิจนถึงฌานเสียก่อน

ในสมัยครั้งพุทธกาล พุทธบริษัททั้งสี่ ท่านมีปกติเจริญสติปัฏฐาน บางท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ท่านไม่มีเวลาไปหลีกเร้นตามป่า ตามถ้ำได้ แต่ท่านก็สามารถเจริญสติปัฏฐาน เป็นพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมาก เช่น นางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
pamali
วันที่ 24 มิ.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ