พรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร ๔
จตุ (สี่) + พรฺหม (ผู้ประเสริฐ ท่านผู้เป็นใหญ่) + วิหาร (เครื่องอยู่)
เครื่องอยู่ของท่านผู้ประเสริฐหรือผู้เป็นใหญ่ ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ก็เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใหญ่ เพราะเป็นคุณธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญ
พรหมวิหาร ๔ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา เพราะอบรมเจริญจนแผ่ไปได้ไม่มีประมาณทั้ง๔ อย่าง มีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์แต่มีความต่างกัน คือ
๑. เมตตา มีสัตว์ซึ่งเป็นที่รักเป็นอารมณ์ (ปิยมนาสัตว์) คือ มีความรัก สนิทสนมเป็นไมตรีไม่รู้สึกรังเกียจในสัตว์บุคคลที่ประสบพบเห็น เมตตา คือ อโทสเจตสิก เป็นปฏิปักษ์ต่อความโกรธ ความพยาบาท
๒. กรุณา มีสัตว์ซึ่งเป็นทุกข์เป็นอารมณ์ (ทุกขิตสัตว์) คือ มีความสงสาร อาทร หวังเกื้อกูลแก่สัตว์บุคคลที่กำลังเป็นทุกข์นั้น
๓. มุทิตา มีสัตว์ซึ่งเป็นสุขเป็นอารมณ์ (สุขิตสัตว์) คือ มีความยินดีปลาบปลื้มกับสัตว์บุคคลที่กำลังประสบกับความสุข มุทิตาคือมุทิตาเจตสิก เป็นปฏิปักษ์ต่ออรติความไม่ยินดีและความริษยา
๔. อุเบกขา มีสัตว์ที่เป็นกลางไม่เป็นที่รักหรือที่ชังเป็นอารมณ์ (มัชฌตต-สัตว์) คือ ความวางเฉยในสัตว์บุคคลทั้งหลาย ซึ่งมีกรรมเป็นของๆ ตน อุเบกขา คือตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นปฏิปักต่อราคะ ความกำหนัดยินดี