บังคับบัญชาให้ปัญญาเกิดไม่ได้
สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม
ที่มูลนิธิฯวันอาทิตย์ที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๐
วิชัย ขอสนทนากับพี่สุกัญญา เรื่องของความรู้ความเข้าใจ อย่างเช่นขณะที่ฟังนี้ เข้าใจชั่วขณะที่ฟัง มีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้น แต่ว่าปัญญาขั้นการฟัง แม้แต่ขั้นการฟัง ก็ต้องอาศัยการอบรมการแจ้งขึ้น จึงจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาที่เข้าใจในลักษณะที่เคยได้ยินได้ฟังมาแล้ว รู้ถูกตรงตามที่ได้เคยศึกษา มีลักษณะจริงๆ ที่ปรากฏแก่ปัญญาที่เริ่มจะเกิดขึ้น ในการที่จะรู้ในลักษณะของสัจธรรม เพราะฉะนั้น แม้ในขั้นการฟัง ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
“ปัญญา” เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เราที่สามารถที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจ เกิดได้ แต่เมื่อมีเหตุปัจจัย ได้ยิน ได้ฟังพระธรรม นั่นเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ปัญญาซึ่งยังไม่เกิดเลย สามารถเกิดขึ้นให้เข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องอาศัยการฟังมาก เพราะว่าในชีวิตหนึ่ง แม้ตั้งแต่เกิดจนขณะนี้ มีโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังแค่ไหน ในพระธรรมที่ทรงแสดงถึงสัจธรรมที่มีจริงๆ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เนิ่นนาน เป็นไปกับอวิชชา คือความไม่รู้ แล้วกับปัญญาที่ค่อยๆ รู้ขึ้น จะต้องอาศัยการอบรมแจ้งมากแค่ไหน เพราะฉะนั้นการที่จะฟังเพียงชั่วขณะแล้วจะให้ปัญญารู้มากๆ ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ เพราะอาศัยการสั่งสมความแจ้ง ที่เคยอบรมมาแล้วแม้ในอดีตหรือในชาตินี้ แม้ในขณะที่ฟังนี้ เข้าใจแค่ไหนเพราะว่าแต่ละบุคคลก็สะสมมาต่างกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าฟังแล้วเข้าใจ ก็รู้ว่า ขณะใดที่มีความเข้าใจ ขณะนั้นปัญญาเริ่มทำกิจเกิดขึ้น แต่ว่าปัญญานั้นก็เกิดดับ ดับ ก็คือหลงลืมไปกับอกุศลต่างๆ ก็ได้ แล้วมีเหตุปัจจัยให้สติเกิดอีก ก็รู้ว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกขึ้น แม้ในขั้นการฟังจนกว่า จะมีเหตุปัจจัยที่ปัญญา จะเกิดพร้อมสติ ที่รู้ในลักษณะของสัจธรรม เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งที่เกิดชั่วขณะหนึ่ง วาระหนึ่งที่เกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้นแม้ กุศล ที่ประกอบด้วยปัญญา แม้ในขั้นการฟัง เกิดแล้วก็ดับจนกระทั่งค่อยสั่งสม แล้วค่อยๆ แจ้งขึ้น จนกว่าที่เริ่มรู้ว่าเป็นการที่จะค่อยๆ อบรมเข้าใจจริงๆ จะบังคับให้ปัญญาที่จะให้เกิดมากๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้ ต้องขณะที่ฟังแล้วเข้าใจ ก็อบรมความเข้าใจในการฟังธรรม ให้เข้าใจ ให้มากๆ
สุกัญญา แล้วปัญญาที่เข้าใจผิด มีไหมคะ
วิชัย ถ้าเป็นปัญญาไม่ใช่ความเห็นผิดแน่นอน คือไม่เข้าใจ ครับ ถ้าเข้าใจผิด คือไม่เข้าใจสุกัญญา ...หรือว่าเข้าใจเองวิชัย เมื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น หรือว่าเข้าใจผิด คือไม่เข้าใจสุกัญญา ...คิดเอง อย่างนี้ล่ะคะ คิดเองคิดว่าเข้าใจวิชัย ที่ว่าคิดและเข้าใจผิด คือคิดอย่างไร เพราะขณะที่ฟัง
เราฟังเรื่องของสัจธรรมที่มีจริงๆ แต่ความรู้ ความเข้าใจไม่เพียงพอที่จะรู้ในลักษณะได้ ก็เพียงแค่ขั้นเข้าใจ แต่สิ่งนั้นแหละเมื่ออบรมให้มากขึ้น ปัญญาสามารถจะเกิดขึ้นในลักษณะของสัทธรรมที่มีจริงๆ ที่ได้ยินได้ฟังได้
สุกัญญา อย่างเช่น ลักษณะของสติระลึกสัจธรรม ที่เกิดในชีวิตประจำวัน อย่างเราศึกษาเราก็รู้ว่า สัญญาที่จะรู้ได้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง ที่รู้ได้อย่างตา สิ่งที่ปรากฏทางตา อย่างหู ก็คือเสียงที่ปรากฏทางหู อย่างทางกายก็คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว แล้วสติจะเป็นสัจธรรมที่สามารถจะระลึกได้ในสิ่งเหล่านี้ แล้วเราก็คิดเองว่า สติระลึกสัญญานั้นในทางเหล่านั้น ที่จะรู้อาการสติเป็นสัจธรรม ที่สามารถระลึกสัจธรรมที่ปรากฏได้จริงๆ สติไม่ได้ระลึกธรรมเหล่านั้นจริง แต่จากการศึกษาแล้ว เรามีความเข้าใจในลักษณะปรมัตธรรม ที่สามารถปรากฏได้ในทางเหล่านั้น แล้วเราคิดนึกเอาเองว่า สิ่งที่ปรากฏในทางเหล่านั้นเป็นลักษณะปรมัตธรรมที่เกิดขึ้นจริง คือ เป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นเอง
วิชัย แล้วขณะนั้นรู้ไหมว่า เป็นการคิดเอาเอง
สุกัญญา จริงๆ แล้วจะไม่รู้เลย ถ้าลักษณะของสติไม่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วเราจะไม่รู้ด้วยว่า เราคิดเอาเอง
วิชัย เพราะฉะนั้น การอบรมที่จะให้ปัญญาแจ้งขึ้นนี้ จะรู้ถูกว่าจะขณะใดเป็นการคิดนึกหรือการพิจารณา ซึ่งต่างจากเวลาที่ระลึกรู้ลักษณะจริงๆ ปกติก็คิดอยู่แล้ว เพราะว่าเวลานี้ก็มีสัจธรรมมีแล้ว เกิดแล้วและดับแล้วด้วย แต่ความเข้าใจไม่เพียงพอ
สะสมความเข้าใจต่อไป จนสติเกิด ย่อมเข้าใจความแตกต่างระหว่างสติเกิดและหลงลืมสติ เพราะสติเกิดแล้วนั่นเอง ขณะที่คิดไม่ใช่สติระลึกลักษณะ แต่ไม่ได้ห้ามไม่ให้คิด จนกว่าจะมั่นคงว่าแม้คิดก็เป็นธรรม เพราะสติระลึกรู้ทั่วว่าคิดก็เป็นธรรม