มโนกรรม
มโนกรรม
มโน (ใจ) + กมฺม (การกระทำ เจตนาเจตสิก)
การกระทำทางใจ หมายถึง เจตนาเจตสิกที่ทำให้เกิดการกระทำทางใจเป็นส่วนมาก
อกุศลมโนกรรม ๓ ได้แก่
๑. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยทุจริต (โลภเจตสิก)
๒. พยาบาท ความอาฆาตมุ่งร้ายปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ (โทสเจตสิก)
๓. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากสภาพธรรมตามความเป็นจริง เช่น มีความเห็นว่า บาปบุญไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี สัตว์ที่จะมาเกิดในโลกนี้หรือโลกหน้าไม่มี (ทิฏฐิเจตสิก)
กุศลมโนกรรม ๓ ได้แก่
๑. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น (อโลภเจตสิก)
๒. อพยาบาท ความไม่อาฆาตมุ่งร้ายต่อผู้อื่น (อโทสเจตสิก)
๓. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น มีความเห็นว่าบาปบุญมีจริง มารดาบิดามีคุณจริง สัตว์บุคคลตัวตนเป็นเพียงสมมติ ไม่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ สิ่งที่มีจริงคือนามธรรมและรูปธรรมเท่านั้น (ปัญญาเจตสิก)