วิปัสนาญาณแรก
ได้ฟังธรรมะที่ท่านอาจารย์บรรยาย ท่านว่าวิปัสนาญาณจะเกิดที่มโนทวารเท่านั้น และธรรมะจะต้องแยกขาดออกจากกัน ถ้ามีคนที่เคยทราบว่าหรือเห็นว่า มัจฉริยะปรากฎซึ่งเป็นลักษณะเดียวที่ปรากฎให้ทราบและธรรมะต่อมาคือ โทมนัสเวทนา ซึ่งแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง แล้วก็แสดงว่าเป็นวิปัสนาญาณด้วยใช่ไหม?
แต่ว่าวิปัสนาแรก คือ นามรูปฯ ในกรณีนี้ไม่มีรูปปรากกฏดังนั้นจึงไม่ใช่วิปัสนาญาณหรือเปล่าครับ หรือยังไงครับช่วยอธิบายด้วยครับ
คำว่าวิปัสสนาญาณ หมายถึงปัญญาที่รู้ชัด รู้แจ้ง ในสภาพธรรมะที่แยกขาดจากกันคือ ไม่เห็นสภาพธรรมปะปนกันเหมือนก่อนวิปัสสนาญาณจะเกิด ในชีวิตประจำวันของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ย่อมเห็นสภาพธรรมะปะปนรวมกัน แยกไม่ออกว่าไหนนามไหนรูป แต่เมื่อปัญญาสมบูรณ์ขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณย่อมเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่ก็อยู่ไกลตัวมากครับ เพราะขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏมีอยู่รู้หรือยังเข้าใจหรือยังว่าเป็นธรรมะ
วิปัสสสนา หมายถึง ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมะตามความเป็นนจริง เช่น
วิปัสสานาญาณขั้นที่ ๑ ปัญญาที่แยกขาดนามธรรมรูปธรรมออกจากกัน
ในสังสารวัฏฏ์เกิดยาก ส่วนใหญ่ไม่เคยเกิดเลยค่ะ
ถึงแม้ว่าจะไกลตัว ถ้าอบรมสั่งสมมาก็จะรู้ได้นะครับ
อย่างอาจารย์บรรยายว่า ธรรมต้องรู้ทีละอย่างและขาดจากกัน ตรงที่ขาดจากกันนั้นคืออะไร ในเมื่อไม่มีอะไรเลยเห็นก็ไม่ใช่ จนอาจารย์บรรยายว่าตรงนั้นคือ ภวังคจิตก็เข้าใจว่าเป็นไปตามนั้นและเข้าใจว่าที่อาจารย์บรรยายนั้น อาจารย์ไม่ใช่เปิดตำราเพียงอย่างเดียวอาจารย์ทราบตามนั้นด้วย
อาจารย์ได้บรรยายต่อไปอีกว่า ถ้าจะประจักษ์รูปนามเกิดดับ ก็หมายความต้องรู้รูปธรรมนามธรรมทั้งหกทวารจนทั่วก่อนจึงจะสามารถทราบได้ ก็เชื่อตามที่ท่านบอก แต่คงไม่ใช่ตอนนี้หรือชาตินี้ คงอีกนานแสนเป็นอันมาก ยังไงผมก็คิดว่าถึงแม้จะไกลแสนไกลก็ยังเห็นแสงไฟที่แม้จะริบหรี่บ้างแล้วก็ตาม
เป็นไปได้ไหมครับที่จะนำคำถามที่ผมถามในกระทู้แรกนี้ ไปกราบเรียนถามท่านอาจารย์ หรือผู้บรรยายธรรมะในมูลนิธิ ฯ เพราะว่าตอนนี้ผมทำงานอยู่แม่ฮ่องสอน ขอขอบคุณล่วงหน้าเป็นอันมากครับ
ขณะนี้เห็น แล้วคิดนึก เป็นสิ่งต่างๆ แต่ก่อนรู้ว่าเป็นสิ่งใด มีเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) เท่านั้นแยกไม่ออก เพราะไม่รู้ แยกออก ด้วยปัญญา แต่ต้องเริ่มจากฟังให้เข้าใจ
ครับเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ สติระลึก ปัญญาจะค่อยๆ พิจารณาสภาพธรรมตรงลักษณะที่กำลังปรากฎขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น สี เสียง กลิ่น....ความรู้สึก ฯลฯ เป็นเพียงธัมมะที่ปรากฏครับ ไม่ใช่ตัวเรา
คุณสมเจตน์ครับ ที่คุณกล่าวว่า
ที่อาจารย์บรรยายนั้น
อาจารย์ไม่ใช่เปิดตำราเพียงอย่างเดียว
อาจารย์ทราบตามนั้นด้วย
เห็นด้วยครับ
ขออนุโมทนา
ได้ฟังคำบรรยายท่านอาจารย์เมื่อคืน รู้สึกเหมือนเพิ่งเข้าใจ รูป กับนาม
เข้าใจว่า นาม กับจิต เป็นอย่างเดียวกัน ถูกหรือเปล่าคะ
สังขารธรรมที่เป็นนามธรรมคือ สภาพรู้ มี ๒ ประเภทคือ จิต และเจตสิก จิตเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง จิตเป็นใหญ่ในการรู้ ซึ่งนามธรรมก็คือสภาพรู้นั่นเอง
ดังนั้นจะกล่าวว่า นามธรรมและจิตเป็นอย่างเดียวกันไม่ได้ เพราะนามธรรม มีทั้งจิต และเจตสิก แต่มีความหมายคือ จิตเป็นนามธรรมเพราะเป็นสภาพรู้ เช่นเดียวกับเจตสิกก็เป็นสภาพรู้จึงเป็นนามธรรมด้วย
ทั้งจิตและเจตสิกเป็นสภาพรู้ แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์
ส่วนเจตสิกมี 52 ประเภท มีหน้าที่แตกต่างกันไปเช่น เวทนา เป็นความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ในอารมณ์ที่ปรากฏกระทบนั้น
ขอบพระคุณท่านที่ให้ความกระจ่าง ขอถามต่ออีกสัก ๒ เรื่องค่ะ
๑. แสดงว่า จิตกับเจตสิก เป็นฝาแฝดกัน ไปไหนเป็นคู่รวมเรียกว่า นาม นามเกิดเมื่อเราระลึกได้เช่น แข็ง จิตเกิดตรงแข็งนั้น เจตสิกทำหน้าที่ประมวลผลจากความจำที่เคยมีแล้วนึกคิดเป็นชอบเป็นชัง ถูกหรือผิดคะ
๒. จิต เจตสิก รูป นิพพาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ทีแรกเข้าใจว่า เมื่อจิตเกิดเจตสิกทำหน้าที่ จึงเห็นเป็นรูป แล้วจึงเกิดกุศลหรืออกุศล
อย่าเพิ่งรำคาญพุทธอนุบาลนะคะ
จิตและเจตสิก ไม่น่าจะเรียกว่าฝาแฝดนะครับ
เพราะจิตเป็นประธาน เกิดขึ้นหนึ่งขณะ ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างต่ำ ๗ ประเภท อย่างสูงที่สุดคือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ประเภทที่ ๑ หรือ ๒ เกิดขึ้นหนึ่งขณะจะมีเจตสิกประกอบด้วย ๓๘ ประเภท
ปรมัตถธรรม ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิตปรมัตถ์ และ เจตสิกปรมัตถ์ เป็นนามธรรม ที่รู้อารมณ์
รูปปรมัตถ์ หรือ รูปธรรม ไม่รู้อารมณ์
นิพพานปรมัตถ์ เป็น นามธรรม ที่ไม่รู้อารมณ์
ขณะนี้ เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
"เห็น" เป็น "จิต" เป็น "นาม"
สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือ สี เป็น "รูป"
จึงไม่ใช่ตัวเราที่กำลังเห็นเป็นเพียงนามธรรม นามธาตุ ที่เกิดขึ้นรู้รูปธรรมทางตาเท่านั้น
จากความเห็นที่ 14
๑. แสดงว่า จิตกับเจตสิก เป็นฝาแฝดกัน ไปไหนเป็นคู่รวมเรียกว่า นาม นามเกิดเมื่อเราระลึกได้เช่นแข็ง จิตเกิดตรงแข็งนั้น เจตสิกทำหน้าที่ประมวลผลจากความจำที่เคยมีแล้วนึกคิดเป็นชอบเป็นชัง ถูกหรือผิดคะ
จิตและเจตสิก เป็นสภาพธรรมคนละอย่าง แต่เป็นนามธรรมเหมือนกันคือ รู้อารมณ์ ที่ว่าเป็นฝาแฝดนั้นจะหมายถึงนัยที่ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้น เจตสิกต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอ มีจิตโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ จิตและเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เกิดที่เดียวกัน ส่วนที่กล่าวว่า เจตสิกทำหน้าที่ประมวลให้รักให้ชอบ จากความจำนั้น
ควรเข้าใจว่า เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต เจตสิกมีหลายประเภท ทำให้จิตมีหลายประเภทตามการปรุงแต่งของเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เจตสิกมีหลายประเภท ไม่ใช่แค่ชอบ (โลภะ) หรือชัง (โทสะ) หรือจำ (สัญญา) ส่วนจะปรุงแต่งเป็นชอบหรือชังหรือเป็นกุศลก็ตามการสะสมมาของแต่ละบุคคลและอารมณ์ที่มากระทบ เป็นต้น
๒. จิต เจตสิก รูป นิพพาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ทีแรกเข้าใจว่า เมื่อจิตเกิด เจตสิกทำหน้าที่ จึงเห็นเป็นรูป แล้วจึงเกิดกุศลหรืออกุศล จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เมื่อจิตเกิด เจตสิกย่อมเกิดด้วย เมื่อจิตเกิดแล้วต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ (อารมณ์) เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตนั้น ก็มีอารมณ์เดียวกับจิตนั้นที่รู้ ขณะที่เห็น เป็นสิ่งต่างๆ จิตทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้ เจตสิกก็รู้อานมณ์เดียวกับจิตนั้นเอง แต่เจตสิกก็ทำหน้าที่ต่างๆ ในขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น เช่น สัญญาทำหน้าที่จำ แต่ก็รู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็น เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นแล้วก็มี จิตประเภทต่างๆ เกิดขึ้น แล้วจึงเป็นกุศลหรืออกุศลตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล ซึ่งควรเข้าใจถูกว่า ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ และเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขออนุโมทนา
คุณพุทธอนุบาลขอให้ฟังธรรมไปเรื่อยๆ นะครับ ของผมเองก็ฟัง MP3 เกือบทุกวัน ไปอ่านคำที่ผมสอบถามกระดานสนทนาเก่าๆ ก็ทราบว่าเรามีความรู้เพิ่มขึ้น (อย่างมาก แต่ก็ยังไม่หยุดฟังนะครับ) ซื้อหามาฟังเองก็จะปะติดปะต่อดีครับ