ไม่สงสัยในธาตุ ไม่สงสัยในธรรม

 
คุณย่า
วันที่  29 พ.ค. 2551
หมายเลข  8748
อ่าน  1,403

สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ที่มูลนิธิฯ
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๐

ณรงค์ ในช่วงเวลาที่สนทนากันนี้ มีคำๆ หนึ่งที่ผมอยากจะให้อาจารย์ช่วยขยายความ คือ คำว่า ไม่สงสัยในธาตุ ไม่สงสัยในธรรม นี่เป็นคำถาม แต่ในคำตอบที่ผมคิด คำว่าไม่สงสัยในธาตุ ไม่สงสัยในธรรมนี้ หมายถึง ไม่สงสัยในการเกิดดับของธาตุและธรรม ใช่หรือเปล่าครับ เพราะก่อนนั้น จะคิดว่าไม่สงสัยในธาตุ คือ เอ..นี่เป็นสี นั่นเป็นเสียง ผมอยากให้อาจารย์ช่วยขยายความตรงคำว่า ไม่สงสัยในธาตุและไม่สงสัยในธรรม

อาจารย์ ใครดับความสงสัยในธรรมได้ณ.๒ ...ผู้ที่มีปัญญาในธรรม ดับความสงสัยในธรรมได้ อาจารย์ ดับไม่เกิดอีกเลย ใคร

ณรงค์ พระอรหันต์ ครับ

อาจารย์ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป หมายความว่า ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม หมดความสงสัยในอริยสัจ ๔ จึงเป็นพระอริยบุคคลเป็นพระโสดาบัน ดับความสงสัย แสดงว่าความสงสัยมีมาก ละเอียดด้วย ตามไปแล้วแต่ว่าจะเป็นวิปัสสนาญาณไหน อะไรๆ ก็ตามแต่ ตราบใดที่ยังมีวิจิกิจฉานุสัย ก็เป็นปัจจัยให้ความสงสัยเกิดขึ้น แต่ปัญญาก็สามารถจะเข้าใจว่า เป็นธรรมค่ะ ในขณะนั้นความสงสัยนั้นไม่ใช่เรา คือ ทั้งหมดนี้เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมะ

เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงคำว่า ธาตุ ที่ว่า ขณะนี้ทั้งหมดเป็นธาตุ ฟังเข้าใจ เพราะว่า มีลักษณะของธาตุหลากหลาย จะเป็นอย่างเดียวกันไม่ได้เลย อย่างเสียงนี้ จะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นกลิ่นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น แต่ละอย่างก็มีลักษณะเฉพาะของตนๆ ใครก็เปลี่ยนแปลงบังคับบัญชาไม่ได้

นั่นคือ ความหมายของคำว่า “ ธาตุ ” หรือ “ ธรรม ” เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เมื่อใดที่เกิดขึ้น หมายความว่า ต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นปัจจัยทำให้สิ่งนั้นเกิดแล้วก็ดับ นี่คือความหมายของสัจธรรม ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วจะไม่ให้ดับก็ไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นก็ไม่ได้ สงสัยในลักษณะความเป็นธาตุขณะนี้หรือเปล่า ขั้นการฟังๆ เข้าใจแต่ว่า ขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตา อย่างนี้ๆ แหละ เป็นธาตุมาจากไหน อยู่ดีๆ ก็ปรากฏได้

ณรงค์ ก็คือไม่รู้

อาจารย์ แล้วก็สงสัย

ณรงค์ จุดประสงค์ของคำถามนี้ คือผมอยากจะถามว่า ขอบเขตความหมายของคำว่า สงสัยหรือรู้ความจริงว่า สิ่งนี้เกิดดับ

อาจารย์ รู้ความจริงว่าเป็นธรรม

ณรงค์ ซึ่งธรรมก็เกิดดับ

อาจารย์ แต่ละลักษณะ ขณะนี้คุณณรงค์เห็นอะไร

ณรงค์ เห็นสี ครับ

อาจารย์ ตอบว่าอย่างนี้นะค่ะ หมดความสงสัยหรือเปล่า

ณรงค์ ยังไม่หมด เพราะยังไม่ประจักษ์ความเกิดดับ

อาจารย์ นี่เป็นความเข้าใจตามขั้นต้นที่จะต้องฟัง จนกระทั่งจริงๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะตอบว่าเห็นสี แต่ความจริงแล้วไม่ได้รู้หรอก จะคงเป็นคนนั้น คนนี้ เพราะสติสัมปชัญญะไม่ได้เกิด ที่จะรู้เฉพาะลักษณะที่มีจริงที่ปรากฏตามความเป็นจริงว่า เป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเพียงปรากฏให้เห็น

ณรงค์ เห็นแล้วสงสัยกับเห็นแล้วติดข้อง อย่างเดียวกัน หรือเปล่าครับ

อาจารย์ เจตสิกคนละประเภทค่ะ สงสัยเป็น “ วิจิกิจฉาเจตสิก ” ความติดข้อง เป็น “ โลภเจตสิก ”

ณรงค์ แต่ก็เกื้อหนุนกัน ทำให้อยู่ในวัฏสงสารอยู่ดี

อาจารย์ ตราบใดที่ยัง มีโลภมีอวิชชา พ้นจากสงสารวัฎฏ์ ไม่ได้

ณรงค์ ซึ่งสงสัยกับติดข้อง ก็ยังอยู่ปนเปกันไป

อาจารย์ ธรรมไม่ปนเปนะคะ แต่เกิดดับสลับเร็วมาก สุดที่จะประมาณได้เสมือนกับว่า เดี๋ยวนี้ ทั้งเห็นทั้งได้ยินเกิดพร้อมกัน แต่ความจริงไม่พร้อมกัน

ณรงค์ ทั้งไม่รู้ทั้งติดข้องด้วย

อาจารย์ เพราะฉะนั้น สัทธรรมแต่ละอย่าง ก็เป็นแต่ละลักษณะ ไม่ปนกัน แต่เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก


  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อนุโมทนา
วันที่ 29 พ.ค. 2551

พระอริยบุคคลดับความสงสัยในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ความสงสัยมีหลายระดับ เพราะความละเอียดของกิเลส รู้ลักษณะว่าเป็นนามธรรมและรูปธรรมก่อน จึงจะรู้การเกิดดับของสภาพธรรม

รู้ชื่อ กับ รู้ลักษณะต่างกัน สภาพธรรมแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ปะปนกัน โลภะ ติดข้อง วิจิกิจฉา สงสัย สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก จึงทำให้หลงปะปนกันในสภาพธรรมแต่ละอย่าง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 30 พ.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 31 พ.ค. 2551

ตราบใดที่เรายังเป็นปุถุชน ก็เป็นธรรมดาที่เรายังมีความสงสัยในสภาพธรรมะ หรือสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนกว่าจะบรรลุเป็นพระโสดาบัน จึงละวิจิกิจฉา ละเห็นผิดในตัวตน ละหนทางข้อปฏิบัติผิดได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 2 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 3 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 15 ต.ค. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 7 มิ.ย. 2564

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ