สัปปุริสธรรม
สัปปุริสธรรม คือธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ ผู้มีปัญญา
สัปปุริสธรรม ๗ มีดังนี้
๑. ธัมมัญญู เป็นผู้รู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญู เป็นผู้รู้จักผล
๓. อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน
๔. มัตตัญญู เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญู เป็นผู้รู้จักกาลเวลา
๖. ปริสัญญู เป็นผู้รู้จักบริษัท
๗. ปุคคลัญญู เป็นผู้รู้จักบุคคล.
จากสังคีติสูตรหมวด ๗ ครับ
มีบุคคล เช่นนี้ ในโลก จะเป็นสุขสักแต่ไหน สาธุ สาธุ
ขออนุโมทนา
ผู้มีปัญญา รู้ว่าสิ่งใดควรเจริญ สิ่งใดควรละ เช่น อกุศลควรละ กุศลควรเจริญ อวิชชาควรละ ปัญญาควรเจริญ ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง สัปปุริสธรรม คือ ธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ มีดังนี้ เสขปฏิปทาสูตร สัปปุริสธรรม 7 ประการ เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา
สัปปุริสะ หมายถึง บุคคลผู้สงบ, สัปปุริสะกับสัตบุรุษ มีความหมายเหมือนกัน ในจูฬปุณณมสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๒๒) แสดงลักษณะของสัตบุรุษไว้ดังนี้
๑. ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ (ตามที่คุณอนุโมทนา ได้ยกมาครับ)
๒. มีความภักดีต่อสัตบุรุษ (คบหาสมณพราหมณ์ ผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นมิตร)
๓. มีความคิดอย่างสัตบุรุษ (ไม่คิดเบียดเบียนตน ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น)
๔. มีความรู้อย่างสัตบุรุษ (รู้เพื่อไม่เบียดเบียนตน รู้เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น)
๕. มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ (งดเว้นจากวจีทุจริต)
๖. มีการงานอย่างสัตบุรุษ (งดเว้นการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น)
๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (มีความเห็นถูกว่า ทานที่ให้แล้วมีผล เป็นต้น)
๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (ให้ทานด้วยความเคารพ เป็นต้น) .