เรื่อง ห้ามคนให้ทาน

 
อนัตตา
วันที่  6 มี.ค. 2549
หมายเลข  880
อ่าน  1,821

ผมได้อ่านเรื่องห้ามคนให้ทาน เกี่ยวข้องกับคน 3 จำพวก ขอความกรุณาอธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ แบบชาวบ้านให้ด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ. ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ........จ้า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 มี.ค. 2549

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 228

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระ-สมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นมิได้กล่าวตามคำที่เรากล่าว อนึ่ง ชนเหล่านั้นใส่ความเราด้วยเรื่องอันไม่มีไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คน ทำร้ายต่อคน ๓ คน ๓ คนคือใคร คือ ทำอันตรายต่อบุญของทายก ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก อนึ่ง ตัวของผู้นั้นชื่อว่าถูกก่น (ขุดรากคือความดี) และถูกประหาร (ตายไปจากความดี) เสียก่อนแล้ว วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คนทำร้ายต่อคน ๓ คนนี้ อรรถกถอธิบายว่า บทว่า อนฺตรายกโร โหติ ความว่า กระทำอันตราย คือความพินาศ คือให้ได้รับความลำบาก ได้แก่ให้เกิดความเดือดร้อน. บทว่าปาริปนฺถิโก ได้แก่ โจรที่ดักจี้ปล้นคนเดินทาง. บทว่า ขโต จ โหติได้แก่ถูกขุด โดยขุดคุณความดีทิ้งไป. บทว่า อุปหโต ได้แก่ ถูกขจัดโดยการทำลายคุณงามความดี.

จากข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถาก็เห็นได้ว่า การห้ามการให้ทาน เป็นการกระทำที่ไม่สมควรทำความเสียหายให้กับคน ๓ คน คือ๑. ผู้ให้ทาน (ทายก) หวังบุญจึงทำทาน แต่ถูกห้ามบุญที่เกิดจากทานนั้นจึงไม่สำเร็จ๒. ผู้รับ (ปฏิคาหก) หวังได้ลาภคืออาหารจึงมาแสวงหา เมื่อไม่มีการให้ผู้รับก็ไม่ได้ลาภ๓. ตัวผู้ห้ามขณะนั้นจิตเป็นอกุศล แทนที่จะอนุโมทนาในบุญ กลับห้ามการให้ทาน ชื่อว่าความดีไม่มี ถูกทำลายคือ คุณความดีถูกขุดทิ้งไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อนัตตา
วันที่ 7 มี.ค. 2549

อ่านแล้วเข้าใจดีมากครับ ขออนุโมทนาบุญอีกครั้ง ....สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
natnicha
วันที่ 7 มี.ค. 2549

เดี๋ยวนี้ได้ดูข่าวทางโทรทัศน์เกี่ยวกับแก๊งค์ขอทานหรือพวกลักเด็กไปเป็นขอทาน ทำให้มีความรู้สึกว่า เมื่อเจอขอทานแล้วไม่อยากให้ เพราะอาจจะเป็นการส่งเสริมให้มีมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ห้ามถ้าจะมีใครจะให้ ท่านมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 8 มี.ค. 2549

ผู้ที่มาขอทาน โดยมากเพราะไม่มีความสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ เป็นผู้น่าสงสารมาก ความจริงเราไม่สามารถจะรู้ที่ไปที่มาของเขาได้ ถ้ามีคนคิดว่าขอทานทุกคนจะมีที่มาเหมือนกันทุกคน การให้ก็ทานกับผู้ด้อยโอกาสก็ไม่มี วันหนึ่งๆ กุศลจิตเกิดยาก ถ้าเราไปคิดมากไป กุศลที่เกิดจากการให้ก็ไม่เกิด ถ้าเราคิดจะแบ่งเศษเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นค่าอาหารหรือใช้จ่ายที่จำเป็นของเขาจะเป็นความคิดที่แยบคายกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
win
วันที่ 9 มี.ค. 2549
บางทีเราก็สับสน เพราะใจจริงก็สงสารพวกมาขอทานอยากจะให้ แต่อีกใจก็สงสัยว่า เขาจะเป็นพวกที่อาจจะถูกแก็งค์บังคับมา
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
อนัตตา
วันที่ 16 มี.ค. 2549

อย่าสับสนเลยครับ ขอเพียงแต่ตั้งใจที่จะทำทานเป็นหลัก ส่วนผลหลังจากการให้ทานแล้วจะเป็นอย่างไร ไม่ควรสนใจ ขอเพียงแต่น้อมใจในบุญกุศลก็พอเพียงแล้วครับผม........ สาธุ อนุโมทนากับสมาชิกที่ร่วมออกความคิดเห็นครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natnicha
วันที่ 21 มี.ค. 2549

ดูความคิดเห็นที่หกแล้วแปลกๆ นะคะ ถ้าอย่างนี้จะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีแกงค์ลักเด็กมาขอทานมากขึ้นหรือคะ ยิ่งมีคนให้เยอะ คนเหล่านั้นก็ยิ่งไปขโมยเด็กมาขอทานเพราะถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง และมันก็จะทำให้ครอบครัวที่ถูกลักพาเด็กไปเป็นทุกข์ และเด็กเสียอนาคต อันที่จริงแล้ว การที่เรามีจิตเมตตาสงสารและอยากช่วยเหลือคนเหล่านั้นก็ดี แต่การช่วยเหลือนั้นก็ไม่ควรจะไปกระทบกับสังคมในอนาคต และก็เป็นการช่วยเหลืออย่างจริงจัง พูดไปพูดมามันก็คงจะยากที่จะทำ ที่คนเหล่านั้นต้องมาเป็นแบบนี้ก็คงเป็นเพราะวิบากกรรมที่เคยทำมาในอดีต ขอยกตัวอย่าง การนำช้างเข้ามาเดินในเมือง เพราะคนในเมืองจำนวนมากชอบให้อาหารช้าง เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ควาญช้างพาช้างมาหากินในเมือง ช้างที่เข้ามาก็ถูกรถชนบ้าง ขาเจ็บบ้าง เลยเป็นที่มาของการรณรงค์ไม่ให้นำช้างเข้ามาในเมือง รวมไปถึงไม่อยากให้คนทั่วไปซื้ออาหารให้ช้าง เพราะเป็นการสนับสนุน ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยให้เหมือนกัน เพราะเป็นคนชอบให้อาหารสัตว์ อย่างไรก็ตามก็เห็นด้วยนะคะ ที่จะให้ดูที่จิตในขณะนั้นมากกว่า จิตที่เป็นกุศลก็ควรเจริญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 22 มี.ค. 2549
คงเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าผู้ที่มาขอทานมาจากแกงค์ลักเด็กมาขอทาน หรือเป็นผู้ที่มีความขัดสนจริงๆ เงินที่เราให้ทานไปจะช่วยเกื้อกูลให้เขามีชีวิตอยู่ได้ตามสมควรนะครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chackapong
วันที่ 17 ม.ค. 2550
ผมมีลูกน้องหลายคนเป็นคนงาน มักจะให้เสี้อ กางเกง เป็นจำนวนมาก บางคนก็ให้จักรยานยนต์ก็มี ขณะที่ให้ไม่ได้คิดอะไรเลยสักนิด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอะไร คือให้โดยไม่ได้คิดอะไรเลย พรรคพวกบอกใจถึง ภาษาธรรมะเรียกว่าอะไรครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 17 ม.ค. 2550
การให้สิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นกุศลขั้นทาน บางคนอาจหวังในผลของทานบางคนไม่คิดหวังในผลของทานให้โดยคิดว่าการให้เป็นความดี เป็นการสละความตระหนี่ หรือคิดที่จะแบ่งปันสิ่งของที่มีประโยชน์ที่เราไม่ใช้ให้ผู้ที่ขาดแคลน บางคนให้สะสมการให้เป็นอุปนิสัย มีปกติให้ทาน ทั้งหมดก็คือเจตนาให้ทาน ที่ว่าใจถึงน่าจะหมายถึง มีความสามารถสละสิ่งของของตนให้ผู้อื่นได้เพราะโดยทั่วไปคนส่วนมากจะมีความตระหนี่ไม่ต้องการให้สิ่งของของตนแก่ผู้อื่น คนที่ให้ได้ชื่อว่าเป็นคนใจถึง คือขณะที่ให้ชนะความตระหนี่ได้
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 18 ม.ค. 2550
สาธุ... ขออนุโมทนาค่ะ ดิฉันเพิ่งผ่านประสบการณ์การให้ของรักของหวงที่หามาได้โดยยาก และต้องใช้ทรัพย์จ่ายไปไม่น้อยในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เมื่อคิดจะให้ ก็คิดชั่งใจตนเองอยู่หลายตลบว่าให้ได้จริงๆ หรือ มีความเสียดายอยู่บ้างไหม จะไปนึกเสียดายทีหลังรึเปล่า แต่พอตัดใจได้ว่า เขาได้ไปจะเป็นประโยชน์มากกว่าอยู่ที่เรา ก็ให้ไปด้วยใจยินดีที่จะให้หลังจากวันนั้น ก็สามารถให้ของหวงไปกับอีกหลายคนและหลายชิ้น น่าแปลก แทนที่จะนึกถึงแล้วเสียดายของ แต่เมื่อนึกถึงการได้ให้เขาไปทีไร กลับอิ่มใจทุกที เพิ่งเข้าใจว่า การละความตระหนี่ได้นั้น (แม้จะไม่ได้สละของหวงได้บ่อยๆ ก็ตาม) มันเกิดความเบาใจ สบายใจมากจริงๆ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
olive
วันที่ 19 ม.ค. 2550

แทนที่จะแก้ด้วยการไม่ให้ทานแต่แก้ด้วยการพัฒนาหรือช่วยรณงค์แก้ปัญหาอย่างจริงจังจะดีกว่านะ มันต้องอาศัยความร่วมมือจากเราทุกคนเพื่อนของเราก็ชอบห้ามเราไม่ให้ให้ทานแก่ขอทานเพราะเหตุผลว่าอาจจะเป็นแก๊งขอทานมาขอก็ได้แต่เราให้เพราะแม้จะเป็นแก๊งแต่เด็กที่มาขอทานวันนั้นเขาไม่ได้เงินตามที่กำหนดเขาก็จะถูกทรมานเราคิดว่าเราจะทำให้เขาพ้นจากการถูกทรมานเฉพาะหน้าไปก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pornpaon
วันที่ 20 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ