เพราะเหตุใดการเจริญภาวนาจึงไม่ก้าวหน้า

 
อนัตตา
วันที่  8 มี.ค. 2549
หมายเลข  888
อ่าน  2,136

ผมได้เจริญภาวนาที่บ้านในห้องพระเป็นระยะๆ เช่น เข้าพรรษาปฏิบัติตลอดพรรษาวันละ 1-2 ชม. สังเกตว่าได้เพียงขณิกสมาธิ ส่วนสภาวธรรมอื่นๆ ไม่มี แต่เวลาไปปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย 11 วัน ที่ศูนย์ 2 ขังเดี่ยว ปิดวาจา ปฏิบัติกำหนดสติตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอน วันที่ 1-5 สังขารเล่นงานพอสมควร และค่อยๆ น้อยลงเรื่อยๆ จนวันที่ 8-11 เริ่มปฏิบัติดีขึ้นมีสภาวธรรมเกิดขึ้นแต่ไม่มาก เวทนาหายเป็นบางบรรลังก์ จึงอยากสอบถามว่า เพราะเหตุใดจึงปฏิบัติที่บ้านไม่ค่อยก้าวหน้า มีวิธิใดที่จะให้ก้าวหน้า

ขอความกรุณาแนะนำด้วยครับ.

ขออนุโมทนาบุญในกุศลครั้งนี้ด้วยครับ ......สาธุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 8 มี.ค. 2549

การปฏิบัติธรรม คือ การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม ที่สำคัญ คือ การปฏิบัติเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าขาดปัญญา คือ ความเข้าใจแล้วจะปฏิบัติไม่ได้ ในพระไตรปิฎกพระพุทธองค์แสดงข้อปฏิบัติว่ามี ๒ อย่าง คือ ปฏิบัติผิด (มิจฉามรรค) ๑ ปฏิบัติถูก (สัมมามรรค) ๑ ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า สัมมามรรคเป็นอย่างไร มิจฉามรรคเป็นอย่างไร ทรงแสดงไว้ว่าถ้าปฏิบัติผิด การไม่ปฏิบัติดีกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
weera2548
วันที่ 9 มี.ค. 2549
ทำไมคนปัจจุบันนี้ มีความรู้ปริญญาตรี โท เอก แต่ขาดคุณธรรม และศีลธรรม
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 10 มี.ค. 2549

การศึกษาวิชาการทางโลกเป็นการเรียนเพื่อการใช้ดำรงชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่คำสอนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม หรือการขัดเกลากิเลสแต่อย่างใด สำหรับคำสอนของพระพุทธองค์เป็นคำสอน เพื่อการขัดเกลากิเลสเพื่อการดับ โลภะ โทสะ โมหะ เพื่อการเจริญขึ้นของคุณธรรม เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา วิริยะ สติ เมตตา และขันติ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 17 มี.ค. 2549
การอบรมเจริญภาวนามีทั้งการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็นสมถภาวนา และการอบรมเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนา ทั้งสองอย่างต้องอาศัยปัญญาจึงจะเจริญได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่าง กุศลจิตและอกุศลจิต ก็ย่อมจะเจริญสมถะ คือ ความสงบจากอกุศล ไม่ได้ ฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบของจิตจึงต้องมีสติสัมปชัญญะที่สามารถรู้สภาพที่ต่างกันของกุศลจิต และ อกุศลจิต ในขณะนี้เสียก่อน แล้วจึงจะอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบ คือ สมถภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนาเป็นสติสัมปชัญญะ ที่สามารถรู้สภาพที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมตามความเป็นจริง ควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ จนความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น และสามารถรู้สภาพที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมตามความเป็นจริงเสียก่อน ไม่ควรทำอะไรที่ยังไม่ใช่ความเข้าใจของเราเอง และไม่ควรทำตามวิธีที่คนอื่นบอกให้ทำ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 17 มี.ค. 2549

ที่สำคัญคือควรศึกษาให้เข้าใจก่อนปลอดภัยกว่า มิฉะนั้น อาจทำตามความเห็นผิดได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
raynu
วันที่ 24 มี.ค. 2549

การปฏิบัติธรรมต้องมีความเข้าใจตั้งแต่ต้น เพราะการปฏิบัติไม่ใช่ไปทำโดยไม่มีความเข้าใจของตนเอง ปฏิบัติคือการถึงเฉพาะลักษณะ .....ลักษณะอะไร ....ก็ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง เมตตามีจริงเป็นอโทสเจตสิก เมี่อเกิดขึ้นกับจิตก็จะทำหน้าที่กิจการงานของสภาพธรรมนั้นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suntarara
วันที่ 16 พ.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ