การรักษาศีล 5 จำเป็นต้องสมาทานศีลบ่อย ๆ หรือไม่ ?

 
จ่าหนาน
วันที่  15 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8899
อ่าน  13,526

พุทธศาสนิกชน คงไม่มีใครที่ไม่เคยรับศีล 5 จากพระ ในเมื่อเราตั้งใจจะรักษาศีล จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องสมาทานศีลบ่อยๆ หรือว่าพอรู้ว่าศีลขาดก็สมาทานศีลใหม่ หรือว่าต้องทำทุกวันเพื่อเตือนสติตนเอง และถ้าสมาทานศีลด้วยตนเอง (ที่บ้าน) ต้องมีการอาราธนาศีลด้วยหรือไม่ ครับ (ได้ยินว่า ถ้ามีคำว่า วิสุง วิสุง เป็นการแยกศีลออกเป็นข้อๆ แต่ถ้าไม่มีจะเป็นศีลพวง) ขอท่านผู้รู้ เมตตา ให้ธรรมะเป็นทานกับบัวในโคลนตม ด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 มิ.ย. 2551

ควรทราบว่าการสมาทานศีลสำหรับผู้ที่ไม่มีศีล หรือมีศีลวิบัติ สำหรับผู้ที่มีศีลอยู่แล้วกิจในการสมาทานศีลไม่มี คือไม่ต้อง เพราะเป็นผู้ตั้งใจรักษาศีล งดเว้นจากทุจริตอยู่แล้ว ส่วนการจะสมาทานด้วยวิธีใดไม่ควรกังวลว่าจะแยกหรือจะรวม แต่ควรตั้งใจเว้นทุกข้อตามกำลังศรัทธา ส่วนคำการสมาทานด้วยตนเองไม่ต้องกล่าวคำอาราธนา..


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
นิโรธะ
วันที่ 15 มิ.ย. 2551

สีล ท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้หลายนัย ดังนี้

๑. สีลนะ แปลว่า ความปกติ หมายความว่า ควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยดีงาม พ้นจากการเบียดเบียนกันและกัน และหมายความว่าสามารถรองรับความดีชั้นสูงทุกอย่าง เหมือนแผ่นดินรองรับของหนักมีมหาสมุทรและภูเขา เป็นต้นเอาไว้ได้ โดยไม่มีความผิดปกติอะไร

๒. สิระ แปลว่า ศีรษะ หมายความว่า เป็นยอดของความดีเหมือนศีรษะเป็นอวัยวะที่อยู่สูงที่สุดของร่างกาย

๓. สีสะ แปลว่า ยิ่งใหญ่ คือมีความสำคัญ หมายความว่า ถ้าขาดศีลเสียแล้ว คุณธรรมหรือความเจริญอย่างอื่นก็เกิดไม่ได้

๔. สีตละ แปลว่า มีความเย็น หมายความว่า ศีลสร้างความเย็นให้แก่จิตใจผู้รักษา และสร้างความร่มเย็นให้แก่สังคม

๕. สิวะ แปลว่า ปลอดภัย หมายความว่า ศีล สร้างความไม่มีภัยความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนให้แก่สังคมมนุษย์

วิรัติคือความละเว้น

บุคคลผู้เว้นจากข้อห้ามในสิกขาบท ๕ ประการนั้น ได้ชื่อว่า ผู้มีศีลกิริยาที่เว้นเรียกว่าวิรัตินั้นมี ๓ ประเภท คือ ๑. สัมปัตตวิรัติ ๒. สมาทานวิรัติ๓. สมุจเฉทวิรัติ

๑. สัมปัตตวิรัติ แปลว่า ความละเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า โดยไม่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลนั้นพิจารณาเห็นการที่ทำดังนั้นไม่สมควรแก่ตนโดยชาติตระกูล ยศศักดิ์ ทรัพย์ บริวาร ความรู้ หรือมีใจเมตตาปรานี คิดถึงเราบ้าง เขาบ้าง มีหิริ คือความละอายแก่ใจ มีโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวจะได้บาป หรือคิดเห็นประโยชน์ในการเว้นอย่างอื่นๆ อีก และเขาไม่กระทำกรรมเห็นปานนั้น

๒. สมาทานวิวัติ แปลว่า ความละเว้นด้วยการสมาทาน ได้แก่ความละเว้นของพวกคนจำศีล เช่น ภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา เป็นต้น การงดเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า ด้วยเห็นว่า ไม่สมควรจะทำและการงดเว้นด้วยการสมาทาน คือ การไม่ล่วงข้อห้ามของนักบวช นักพรตทั้งหลาย นอกจากจะจัดเป็นวัติแล้ว ยังจัดเป็นพรตคือ ข้อควรประพฤติของเขาด้วย

๓. สมุจเฉทวิรัติ แปลว่า ความละเว้นด้วยตัดขาด ได้แก่ ความเว้นของพระอริยเจ้า ผู้มีปกติไม่ประพฤติล่วงข้อห้ามเหล่านั้นจำเดิมแต่ท่านได้เป็นพระอริยเจ้า

เป็นประโยชน์กับผู้อ่านและศึกษาครับ

สาธุการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 15 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 มิ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คำว่า สมาทาน หมายถึง ถือเอา..ถือเอาด้วยการเห็นประโยชน์ของศีล และโทษ

ของการล่วงศีล จึงถือเอาด้วยการประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยการมีเจตนาที่จะงด

เว้น ย้ำอีกครั้งครับ เจตนาที่จะงดเว้นเพราะเห็นโทษของการล่วงศีล ดังนั้นเมื่อ

สมาทานแล้วตามที่กล่าวมา ก็ชื่อว่าเป็นผู้เห็นโทษของการล่วงศีลจึงถือเอาด้วย

ดี ซึ่งก็เป็นไปตามอุปนิสัยของแต่ละคน ซึ่งบางคนก็มีอัธาศัยบริสุทธิ์คือเห็น

โทษของการล่วงศีลอยู่แล้ว บางคนก็อาจเกิดสติคือเห็นโทษในการล่วงศีล ก็มี

เจตนาที่จะงดเว้น ในขณะนั้น (สมาทาน) สมาทานจึงไม่ใช่วาจะต้องมานังท่อง

สวด ถ้าจำบาลีไม่ได้ก็ไม่ต้องสมาทานกัน อย่างนั้นไม่ใช่ครับ แต่ตามที่กล่าวมาสมาทาน คือ จิตที่มีเจตนางดเว้นในการล่วงศีล จึงถือเอา (สมาทาน) แม้จะไม่

กล่าวคำบาลีก็ตาม แต่จิตก็มีเจตนางดเว้นแล้วครับ บุญหรือบาปจึงอยู่ที่จิตครับ ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
happyindy
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 16 มิ.ย. 2551

อยู่ที่การสั่งสมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสมาทานศีลเพียงครั้งเดียวคือ ตั้งใจ

รักษาศีล 5 ตลอดชีวิต แต่บางคนก็สมาทานศีลทุกวัน หรือบ่อยๆ ก็ได้ไม่เป็นไรค่ะ

เพราะขณะที่สมาทานศีล เป็นกุศลจิตที่ตั้งใจงดเว้นทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ

ขณะที่ล่วงศีลเป็นอกุศลมีโทษมาก บั่นทอนปัญญา และเป็นเหตุให้ไปอบายภูมิค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จ่าหนาน
วันที่ 28 มิ.ย. 2551
สา...ธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ