ทำบุญด้วยเงินได้รับกุศลต่างกับการทำบุญด้วยอาหารอย่างไร?

 
จ่าหนาน
วันที่  19 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8939
อ่าน  5,523

ในเมื่อผมรู้อยู่แก่ใจว่า อาหารที่มีคนทำบุญมีมากเกินความต้องการของพระ ถ้าผมจะนำเงินตามจำนวนที่จะซื้ออาหารทำบุญ ไปใส่ในตู้บริจาคค่าน้ำค่าไฟแทนจะได้รับบุญกุศลต่างกันอย่างไร เพราะถ้าประโยชน์ที่มองเห็นได้ด้วยตา การนำเงินใส่ตู้จะได้ประโยชน์มากกว่ามากมาย แต่ผมก็ไม่ทำเพราะลังเลสงสัย ก็เลยใส่บาตรเหมือนคนอื่นๆ เขา คิดว่าใส่บาตรเป็นสังฆทาน แต่ใส่เงินเป็นอะไรก็ไม่รู้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 มิ.ย. 2551

การทำบุญให้ทานมีหลายประเภท ถ้าเราเลื่อมใสที่ไหน เห็นประโยชน์ที่ไหนก็ทำตรงนั้น ที่สำคัญต้องไม่ขัดกับพระวินัยด้วย อนึ่งคำว่าสังฆทานหมายถึง ทานที่ให้แก่สงฆ์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องอาหารเพียงอย่างเดียว ถ้าถวายสิ่งอื่น เช่น จีวร กุฏิ วิหาร เสนาสนะ ยารักษาโรคเป็นต้น ก็ได้ชื่อว่าถวายสงฆ์ (สังฆทาน) เหมือนกันและบุญจะมีผลมากอยู่ที่องค์ประกอบหลายอย่าง ที่สำคัญคือ สภาพจิตของผู้ให้ ผู้รับก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ถ้าท่านมีศีลมีคุณธรรม ไทยธรรมที่ได้มาบริสุทธิ์หรือไม่เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
all-for-ละ
วันที่ 19 มิ.ย. 2551

การทำอะไรซักอย่างหนึ่งนั้น จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อได้ เพื่อเรา เพื่อได้กุศล แต่ควรคำนึงถึงความถูกต้อง และของที่จะให้จะต้องเป็นสิ่งที่สมควรกับภิกษุ และพิจารณาว่าสิ่งใดมีประโยชน์มีโทษในการให้ครั้งนั้น กุศลไม่ได้เลือกที่จะทำว่าสิ่งนี้มีบุญมากจึงทำ แต่ควรเจริญกุศลทุกประการแต่พร้อมด้วยปัญญาที่พิจารณาว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร ไม่ประมาทแม้กุศลเพียงเล็กน้อย
ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 19 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 19 มิ.ย. 2551

จุดประสงค์ที่แท้จริงในการเจริญกุศล ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสให้เบาบาง เพราะกิเลสมีมากเหลือเกิน และก็เกิดบ่อยมาก ผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส จึงเจริญกุศล เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง ไม่ว่าจะเป็นกุศลประการใดๆ ก็ตาม, แม้แต่ทาน ก็เช่นเดียวกัน เป็นการให้หรือสละวัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุข แก่ผู้อื่น ในเมื่อผู้รับทานเป็นพระภิกษุ ผู้ถวายก็จะต้องเป็นผู้มีความรู้ว่า สิ่งใดควรถวาย สิ่งใดไม่ควรถวาย หรือสิ่งใดควรถวายในเวลาใด ไม่ควรถวายในเวลา จึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะเป็นการป้องกันไม่ให้พระภิกษุท่านเป็นอาบัติ จากการรับสิ่งที่เราได้ถวายไป ถ้าไม่ใช่โอกาสของการให้ทาน โอกาสใดๆ ก็ตามที่สามารถจะเจริญกุศลได้ก็ควรที่จะเจริญ เพราะกุศลหรือความดี เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ไม่ก่อให้เกิดโทษจึงควรที่จะเจริญ (เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่า โอกาสในการเจริญกุศลจะหมดลงเมื่อใด) ที่สำคัญ คือศึกษาธรรม อบรมเจริญปัญญา สั่งสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปเรื่อยๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 19 มิ.ย. 2551

ถ้าพระมีอาหารมากมายเกินความจำเป็น ไปบริจาคน้ำไฟ หรือบริจาคให้มูลนิธิเด็กกำพร้า หรือมูลนิธิสงเคราะห์คนชรา คนพิการ ฯลฯ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์กับผู้รับ บุญกุศลจะมีกำลังมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 3 กาล คือ มีความตั้งใจก่อนให้ กำลังให้จิตผ่องใส ให้ไปแล้วไม่เสียดาย คิดถึงทีไรก็ปลื้มใจค่ะ และก็อยู่ที่วัตถุทานด้วยคือ ได้มาโดยสุจริต ผู้รับมีคุณธรรม ทานจึงจะมีอานิสงส์มากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 20 มิ.ย. 2551


บุญคือกุศลจิต

กุศลจิตเกิดขณะใดขณะนั้นเป็นบุญ

ไม่ควรจำกัดแค่ทานอย่างเดียว เช่น ไม่มีปัจจัย (สิ่งของ) ก็ทำบุญได้ เช่น ดูแลความสะอาดเรียบร้อยในสถานที่ของสงฆ์ (ศีล) หรือระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย (ภาวนา) เป็นต้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
happyindy
วันที่ 20 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ตุลา
วันที่ 20 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 20 มิ.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prakaimuk.k
วันที่ 20 มิ.ย. 2551

จิตผ่องใสก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้....

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไม่มีเรา
วันที่ 20 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เทียน
วันที่ 21 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
จ่าหนาน
วันที่ 28 มิ.ย. 2551

สา...ธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ