สีและความแปรปรวน

 
พุทธรักษา
วันที่  20 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8965
อ่าน  1,280

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความพอใจ และความไม่พอใจ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งที่เห็น (เป็นต้น) ขณะที่มองเห็นเป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ได้ ก็เพราะมี "สี"ทุกคนทราบว่าวัตถุสิ่งของต่างๆ ไม่เที่ยง มีการเสื่อมสลายแปรปรวนไปตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อสีเป็นรูปที่มีอยู่ในวัตถุสิ่งของต่างๆ สีก็ต้องไม่เที่ยงเช่นเดียวกับวัตถุสิ่งของต่างๆ นั้นด้วยแต่ ถ้าเราไม่รู้ความจริงข้อนี้ เราก็จะยึดมั่น และติดในสีสันวัณณะ จนเกินควรเป็นเหตุนำมาซึ่งความยินดียินร้ายต่างๆ

การรู้สภาพธรรมถูกต้องตามความเป็นจริงเกิดขึ้นในขณะใด ก็เป็นปัญญาในขณะนั้นการรู้ความจริง จะทำให้เราละคลายความยึดมั่นในสีสันวัณณะต่างๆ ลงได้ทำให้เรามีความสันโดษ มีความพอใจในสิ่งที่ได้รับ
ถ้าได้รับสิ่งดีๆ สีที่ถูกใจ เราก็จะไม่หลงไหลจนเกินไปเพราะรู้ว่า สีนั้นก็ต้องเสื่อมสลายไปแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นอกจากนั้น ก็ทำให้เราไม่ทะนงตัว ไม่โอ้อวด ในเวลาได้รับสิ่งต่างๆ ที่ดีไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดที่ปรากฎให้เห็นได้ ก็เป็นเพียงสีสันวัณณะ เท่านั้นเอง

.

เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ รากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นธรรมดาลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดากิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เราก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา (นันทโกวาทสูตร)

จากบทสนทนาธรรมโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 21 มิ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่ 21 มิ.ย. 2551

สาธุและยินดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
all-for-ละ
วันที่ 21 มิ.ย. 2551

ก็เป็นเพียงธรรมและมีความแปรปรวนเป็นธรรมในสิ่งได้มา

สุมนสูตร
เด็กสองคนสนทนากันว่า เขาได้บอกว่า เจ้าดูสมบัติของเราสิ เรานอนบนที่นอนมีสิริ อยู่ภายใต้เศวตฉัตร เจ้านอนบนเตียงต่ำ ข้างบนลาดด้วยของแข็ง

สหายกล่าวว่า ก็ท่านอาศัยสิ่งนั้นแล้ว ยังทำมานะหรือ สิ่งของนั้นทั้งหมด เขาเอาซี่ไม้ไผ่ นำเอาผ้าขี้ริ้วห่อพันไว้ เป็นเพียงปฐวีธาตุ (ดิน) เท่านั้น มิใช่หรือ ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
happyindy
วันที่ 22 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prakaimuk.k
วันที่ 22 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ เมื่อค่อยๆ เข้าใจว่าขณะที่เห็นวัตถุสิ่งของใดๆ ก็ตาม ก็เป็นเพียงเห็นสีสันวัณณะของสิ่งต่างๆ ที่ไม่เที่ยง เสื่อมสลาย แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ก็จะคลายการติดในสีสันวัณณะและในวัตถุทั้งหลายลงได้บ้าง ทำให้ค่อยๆ ลดการแสวงหาอามิส ซึ่งได้แก่สิ่งที่น่าปรารถนาพอใจต่างๆ ลง และหันมาแสวงหาธรรม ซึ่งเป็นการแสวงหาที่เลิศแทน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 22 มิ.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3

ก็เป็นเพียงธรรมและมีความแปรปรวนเป็นธรรมในสิ่งได้มา

สุมนสูตร

เด็กสองคนสนทนากันว่า เขาได้บอกว่า เจ้าดูสมบัติของเราสิ เรานอนบนที่นอนมีสิริอยู่ภายใต้เศวตฉัตร เจ้านอนบนเตียงต่ำ ข้างบนลาดด้วยของแข็ง สหายกล่าวว่า ก็ท่านอาศัยสิ่งนั้นแล้ว ยังทำมานะหรือ สิ่งของนั้นทั้งหมด เขาเอาซี่ไม้ไผ่นำ เอาผ้าขี้ริ้วห่อพันไว้ เป็นเพียงปฐวีธาตุ (ดิน) เท่านั้นมิใช่หรือ ดังนี้

ด้วยเหตุปัจจัยที่อดีตสมณเทวบุตรทั้งสองได้สะสมมา ความเป็นธาตุ ปราศจากตัวตน ย่อมปรากฏแก่เขา ตั้งแต่ยังเป็นเด็กทีเดียว อนึ่ง เมื่อไม่ยึดมั่นว่า เป็นเรา ของเราแล้ว ความแปรปรวนของสิ่งที่มี ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่ทำให้ใจของท่านเหล่านั้นหวั่นไหว

สาธุ

ไม่เคยได้อ่านอรรถกถาสุมนสูตรเลยครับ ทราบแต่ว่า สุมนาราชกุมารี ทูลถามพระศาสดาเรื่องผลแห่งทาน เท่านั้น การศึกษาโดยละเอียดเช่นนี้ ผมจะจดจำไว้เป็นแบบอย่าง

ในอรรถกถานั้น มีคำที่ผมยังไม่เข้าใจ ได้โปรดอธิบายด้วยครับ เอโก อทายโก ความว่า คนหนึ่งเป็นผู้ไม่แบ่งสิ่งที่ตนได้แล้ว ให้แก่คนอื่นบริโภค เป็นผู้บำเพ็ญวัตรในโรงครัว

วัตรในโรงครัว คือ ข้อปฏิบัติอย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ

ปล. ข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ [เล่มที่ 36] สุมนสูตร หน้า ๖๐

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 22 มิ.ย. 2551

อริยะ ผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส ประเสริฐ อริยสัจจ์ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกขอริยสัจจ์เป็นผล ส่วนสมุทัยคือตัณหาเป็นเหตุ นิโรธและมรรคเป็นโลกุตร ธรรม ผู้ที่ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ได้ความเลื่อมใสและมีความเข้าใจ จึงน้อมประพฤติปฏิบัติตาม จนกว่าจะบรรลุธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ