อย่าตัดต้นไม้

 
พุทธรักษา
วันที่  23 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8974
อ่าน  2,456

จากคาถานี้ "ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลายพวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้วเป็นผู้ไม่มีป่า เถิด

ขอเรียนถามว่าต้นไม้ ในที่นี้ คืออะไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

ต้นไม้ในที่นี้ก็คือ ภูตคาม พีชสีเขียว ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุตัดต้นไม้ไม่ได้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 23 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

ภิกษุรูปหนึ่งตัดต้นไม้แล้วไปฟันถูกลูกของเทวดา พระพุทธเจ้าก็เลยบัญญัติไม่ให้ภิกษุตัดต้นไม้ อีกเรื่องหนึ่ง ภิกษุตัดต้นไม้มาทำเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านติเตียน พระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติไม่ให้ภิกษุตัดต้นไม้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

จากคาถานี้ "ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้วเป็นผู้ไม่มีป่า เถิด ถ้อยคำง่ายดาย แต่ลึกซึ้งและมิใช่กระทำได้โดยง่ายหากมิได้สะสมปัญญามามาก

ป่า คือกิเลส ตัดได้ยาก ทำลายได้ยากจริงหนอ

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษา

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านผู้ให้ความรู้ความเห็นเพิ่มเติมทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มาณพน้อย
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

คำว่า อย่าตัดต้นไม้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงหมายถึงนั้น พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทสำหรับพระภิกษุว่า การที่ภิกษุตัดเอง หรือ ใช้ให้คนอื่นตัดต้นไม้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ การที่พระภิกษุตัดเอง หรือใช้ให้บุคคลอื่นตัดต้นไม้ เป็นการกระทำ ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ ขอเรียนถามต่อว่า "และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่า" หมายความว่าอะไรค่ะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 23 มิ.ย. 2551

จากคำตอบของวิทยากร เข้าใจว่าพระมหากรุณาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกื้อกูลพุทธบริษัททั้ง ๔ เพื่อความผาสุกของพุทธบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะพระภิกษุ ซึ่งเป็นเพศที่ต้องขัดเกลาอย่างยิ่งเพื่อรักษาคุณของสังฆรัตนะ ซึ่งเป็นหนึ่งในรัตนตรัยคนที่จะบวชเป็นพระภิกษุจึงต้องมีอัธยาศัยจริงที่จะขัดเกลากิเลสอย่างอุกฤษฏ์เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสังฆรัตนะนอกจากเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาแล้วยังเป็นการรักษาความบริสุทธิ์แห่งเนื้อนาบุญในการเจริญกุศลของคฤหัสถ์ด้วยความเลื่อมใสด้วยความนอบน้อมต่อไป
ผู้ที่จริงใจต่อตนเองและพระศาสนาจึงควรพิจารณาอัธยาศัยของตนให้ดี ก่อนตัดสินใจที่จะบวช เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ความไพเราะลึกซึ้งของพระวินัยก็อยู่ที่ความเข้าใจในอรรถนี้เอง

ขออนุโมทนาทุกท่านที่เกื้อกูลความเข้าใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prakaimuk.k
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

จากคาถานี้ ถ้าป่าหมายถึงกิเลส สี่งที่ตั้งอยู่ในป่า ก็คงจะหมายถึง สี่งที่เป็นที่ตั้งของกิเลส ใช่ไหมคะ ซึ่งก็คืออวิชชานั่นเอง

โมหสูตร - ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๑๑๐

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่าสงสาร

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ คือเป็นมูลเหตุแห่งสงสารย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น เพราะตัดขาดแล้วด้วยประการทั้งปวง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ตุลา
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

ขออนุญาติเสริมความเห็นที่ ๘ นะคะ

สิ่งที่ตั้งอยู่ในป่า "เบญจขันธ์ ที่กำหนดรู้แล้วมี รากขาดตั้งอยู่ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพอีกต่อไป"

"เห็นอริยสัจแล้วถอนตัณหา ผู้นำไปสู่ภพได้แล้วตัดมูลรากแห่งทุกข์ขาดแล้วย่อมไม่มีภพอีกต่อไป"

"เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตรายต้นไม้ แม้ถูกตัดแล้ว ย่อมงอกได้อีกฉันใดเมื่อตัณหานุสัย ยังไม่ถูกกำจัดแล้วทุกข์นี้ ย่อมเกิดร่ำไป ฉันนั้น"

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เมตตา
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณ prakaimuk.k และขอขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
happyindy
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 24 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
all-for-ละ
วันที่ 24 มิ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[๗๐๖] ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท่านภิกษุ ท่านทำงานอะไร หรือ จึงอยู่ในป่าสาลพฤกษ์ พระโคดมอยู่ในป่าผู้เดียว ได้ความยินดีอะไร

[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่มีกรณียกิจในป่าดอก เพราะเราถอนรากเหง้าป่าอันเป็นข้าศึกเสียแล้ว เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือ กิเลส ละความกระลันเสียแล้ว จึงยินดีอยู่ผู้เดียวในป่า

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 มิ.ย. 2551

จากความเห็นที่ ๑๔....พระสูตรไพเราะเหลือเกิน

นุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ