เบิกบาน
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๔๓๔ อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้มีความเบิกบาน โดยความเป็นผู้เบิกบานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ.
ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดความรู้ ความเข้าใจเห็นจริงตามพระธรรมที่ทรงแสดง จึงเกิดความปลื้มใจ ปีติ ยินดี เบิกบาน ซึ่งผู้ที่อ่านพระสูตรจะพบข้อความตอนท้ายหลายพระสูตรว่า แจ่มแจ้งนัก ไพเราะนักพระพุทธเจ้าข้า เปรียบเหมือน อย่างนี้คือผู้ที่เบิกบานในธรรมครับ
เบิกบานในพระธรรมมีหลายระดับ เช่น ฟังธรรมเข้าใจซาบซึ่งเกิดปิติโสมนัส อย่างในครั้งพุทธกาลบุคคลที่ได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า พระองค์ทรงประกาศธรรมเปรียบเหมือนบุคคลที่หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูป ฉะนั้น ฯลฯ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขณะที่เข้าใจความจริงย่อมเบิกบาน เบิกบานด้วยกุศล ด้วยปัญญา ขณะนี้มีธรรมแต่ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม เห็นมีจริงเป็นธรรม แต่ยึดถือว่าเป็นเราที่เห็น ที่ได้ยิน หากแต่ว่าเมื่ออบรมปัญญาขั้นการฟังจนเริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรม แม้ขั้นการฟัง ก็อาจหาญ ร่าเริงและเบิกบาน ด้วยความเข้าใจว่าเป็นธรรม และเบิกบานที่จะศึกษา ฟังพระธรรมต่อไปเพื่อเข้าใจตัวจริงของธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมจริงๆ และเมื่อปัญญารู้ลักษณะของธรรมจริงๆ ที่ปรากฏในขณะนี้ ย่อมเบิกบาน ปิติ โสมนัสเพราะรู้ความจริง ความจริงไม่หลอกใคร แต่มีจริงขณะนี้ เมื่อรู้ตัวจริงของสภาพธรรมจึงเบิกบานเพราะเกิดจากปัญญาที่เข้าใจความจริงนั่นเอง
ขออนุโมทนาครับ .. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เบิกบานเพราะเกิดความเข้าใจในพระธรรม แม้จะเป็นเพียงความเข้าใจที่เล็กน้อยมาก และเป็นเพียงความเข้าใจในขั้นการฟังและต่างกันไกลกับความร่าเริงดีใจเพราะโลภะที่ยินดีพอใจในการได้มาซึ่งสิ่งที่ช
ขออนุโมทนาค่ะ
เบิกบานเพราะได้เข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เกิดความซาบซึ้งเห็นตามความเป็นจริง ว่าสภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง มีสภาพธรรมหลายอย่างหลายประการเช่น สภาพธรรมที่เป็นกุศล สภาพธรรมที่เป็นอกุศล กุศลธรรมเป็นสิ่งที่ควรเจริญส่วนอกุศลธรรมเป็นสิ่งที่ควรละ อย่างเช่นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าผู้ที่ยังมีราคะโทสะ โมหะ ยังละราคะ โทสะ โมหะ ไม่ได้ ผู้อื่นยั่วให้โกรธ ก็แสดงความโกรธให้เกิดขึ้น ย่อมถึงความนับว่าเป็นคนดุ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว ถูกคนอื่นยั่วก็ไม่โกรธย่อมเป็นผู้ถึงความนับว่าเป็นคนสงบเสงี่ยมอย่างแท้จริง เมื่อได้ฟังแล้วได้ศึกษาแล้ว พิจารณาไตร่ตรองตามก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่พระองค์ทรงแสดง ทำให้ได้เห็นโทษของอกุศล และเห็นคุณประโยชน์ของกุศลแล้วพร้อมที่จะอบรมเจริญกุศลธรรมให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน ครับ
...ขออนุโมทนาครับ...
เมื่อระลึกถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคราใด
ข้าพเจ้าเกิดความรู้สึกเบิกบานใจเสมอ.
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๔๓๔ อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้มีความเบิกบาน โดยความเป็นผู้เบิกบานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ.