ความแตกต่าง ระหว่าง เจตสิก ที่เกี่ยวข้องกับ ความคิด

 
sucheep
วันที่  13 มี.ค. 2549
หมายเลข  909
อ่าน  1,586

ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ โดยกรุณา แจ้งเกี่ยวกับ ความแตกต่างระหว่าง... 1. ความคิดในความหมายของภาษาไทยที่เข้าใจกันกับเจตสิก ที่แบ่งออก เป็น สัญญา, วิตก, วิจารณ์, เจตนา2. มีเจตสิกอื่นหรือไม่ ในสังขารขันธ์ ที่เป็นลักษณะของความคิดในภาษาไทย นอก เหนือจากในข้อ 13. กรุณา ยกตัวอย่าง ลักษณะของ เจตสิก ที่เกิดขึ้น เช่นในกรณีที่ กำลังคิดเรื่องเมตตา ต่อคนหรือสัตว์ หรือ จะให้ทาน โดยเกี่ยวพันกับเจตสิก อื่นๆ 4. ตามที่ได้ยินว่า ทุกขณะที่เริ่มรับรู้ทาง ทวาร 6 เป็นผลของวิบาก ไม่สามารถ สร้าง วิบากได้ แต่ในกรณี ถ้าร้อนแล้ว ไปเปิดแอร์ ดูเสมือนว่า เราสามารถสร้างวิบากได้ จากการศึกษา ผม เข้าใจว่า อย่างไรก็เป็นเรื่อง ของจิต เจตสิก และ รูป อยู่ดี แต่ยัง ไม่สามารถเข้าใจจริงๆ ได้ ช่วยกรุณา อธิบาย เพิ่มเติมด้วยครับ ใช้ตัวอย่างการเปิด แอร์ก็ได้ครับ

ด้วยความเคารพ อย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2549

ในภาษาไทยเวลาพูดอันเป็นที่เข้าใจกันใช้คำว่า ความคิดนึกเป็นจิตคิดทางมโนทวารแต่พอกล่าวแยกอย่างละเอียดโดยนัยปรมัตถธรรม จิตเป็นเพียงสภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น กิจอื่นๆ เป็นกิจของเจตสิก แต่เนื่องจากจิตเป็นประธานกิจทั้งหมด เราจึงใช้คำว่าจิตนำหน้า เช่น ขณะโกรธ โลภ หลง เมตตากรุณา เป็นต้น ก็ว่าจิตโกรธ จิตโลภ จิตเมตตา เป็นต้น ความจริง โกรธ โลภ หลงและเมตตาเป็นต้น ไม่ใช่จิต ลักษณะที่ตรึกหรือจรดในอารมณ์ เป็นลักษณะของวิตก

เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตและเจตสิกหลายประเภท เช่น ขณะมีเมตตา ขณะนั้นมีเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตอย่างน้อย ๓๒ ประเภท มี ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโทสะ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2549

การศึกษาพระะรรมถ้าใช้ตัวอย่างที่เคยคิดเหมารวมเป็นเรื่องราวยาวๆ จะไม่สามารถเข้าใจในความจริงได้ แต่ถ้าแยกเป็นแต่ละขณะจิต จะทำให้เข้าในความจริงได้ คือตามหลักธรรมพระพุทธองค์แสดงความจริงว่า สังขารธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยจิตแต่ละขณะเกิดเพราะมีปัจจัย รูปแต่ละขณะเกิดเพราะมีปัจจัย ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ไม่มีเจ้าของ ไม่มีเรา ไม่มีแอร์ จึงไม่มีการสร้าง แต่ลักษณะเย็นมีจริง ลักษณะร้อนมีจริง จิตเจตสิกที่คิดมีจริง เกิดเพราะมีปัจจัย ไม่มีเรา คือ ต้องแยกเป็นแต่ละขณะจิต

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ