เพราะเราไม่คุ้นเคยกับการละ !

 
all-for-ละ
วันที่  1 ก.ค. 2551
หมายเลข  9094
อ่าน  937

ได้ฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์สุจินต์ที่มูลนิธิช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ท่าอาจารย์พูดคำว่า...เพราะไม่คุ้นเคยกับการละ

ดูจะเป็นคำง่ายๆ ตื้นๆ (พยัญชนะตื้น อรรถความหมายลึก) แต่ทำให้ข้าพเจ้าคิดอะไรในสิ่งต่างๆ จากคำนี้

หากแต่ว่าสหายธรรมแต่ละท่าน เมื่อเห็นหรือได้ยินคำนี้ท่านคิดตรึกอย่างไรกับคำว่า เพราะไม่คุ้นเคยกับการละ


Tag  การละ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 1 ก.ค. 2551

เราสั่งสมอวิชชามานานนับชาติไม่ได้ เราคุ้นเคยกับการติดชื่อและบัญญัติ ยึดถือ

สภาพธรรมะทั้งหมดที่ไม่ใช่ของเรา ว่าเป็นของเรา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prakaimuk.k
วันที่ 1 ก.ค. 2551

ชีวิตเราเต็มไปด้วยความอยากมี อยากเป็น อยากได้ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก จึงไม่คุ้นเคยกับการละ และเพราะไม่คุ้นเคยกับการละ จึงสะสมความอยากเหล่านี้ต่อๆ ไปอีก เป็นการต่อภพ ต่อชาติ ต่อสังสารวัฏฏ์ยาวนานจนนับไม่ถ้วน

การศึกษาธรรมะให้เข้าใจจนคุ้นเคยกับสภาพธรรมตามความเป็นจริง จะทำให้ค่อยๆ คุ้นเคยกับการละมากขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 1 ก.ค. 2551

เพราะไม่คุ้นเคยกับการละ

เนื่องด้วยเรายังเป็นปุถุชนหนาด้วยกิเลส เพราะความไม่รู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริงในชีวิตปัจจุบัน อกุศลจิตจึงเกิดมากกว่ากุศลจิต เราคุ้นเคยกับอกุศลเป็นไปกับความติดข้อง คือโลภเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่คุ้นเคยกับการละความไม่รู้ คืออวิชชานั่นเองจึงควรศึกษาพระธรรมให้เกิดความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริงซึ่งเป็นปัญญา ปัญญาเท่านั้นที่จะละความไม่รู้

ขออนุโมทนาค่ะ ..

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 2 ก.ค. 2551

เพราะคุ้นเคยอยู่กับการสะสมอวิชชา ไม่คุ้นเคยกับการค่อยๆ สะสมปัญญา

เพราะคุ้นเคยอยู่กับความไม่เข้าใจ ความไม่รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง

เพราะคุ้นเคยอยู่กับการยึดถือความเป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา

เพราะคุ้นเคยอยู่กับการรักสุข เกลียดทุกข์

มีความเข้าใจผิดแล้ว เลยเลือกรักโลภะ เกลียดโทสะ เพราะ...ไม่คุ้นเคยกับการละ ละความเห็นผิด สะสมความเห็นถูก

ขออนุโมทนาค่ะ
..

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 2 ก.ค. 2551

กระแสน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นปกติฉันใด การทวนกระแส (กิเลส) จากที่ต่ำไปที่สูงย่อมต้องมีเหตุปัจจัย (ปัญญา-บารมี) ฉันนั้น หากการเสพคุ้นกับปริยัติและปฏิบัติเป็นเหตุการพบมิตรแท้ คือปฏิเวธย่อมเป็นผลและเหตุจะสมควรแก่ผลก็ต่อเมื่อพบหนทางคือ สัมมามรรคเท่านั้น

.

ขอนอบน้อมแด่ท่านอาจารย์ ขออนุโมทนาท่านเจ้าของกระทู้ผู้พูดให้คิดและเป็นมิตรในพระธรรมเสมอมา.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 3 ก.ค. 2551
สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ