พระอรหันต์ไม่ละทิ้งสมมติทางโลก [อรหันตสูตร]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
๕. อรหันตสูตร
[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี
กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้
ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง.
[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี
กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้
ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บาง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด
ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ
ที่พูดกัน.
อรรถกถาอรหันตสูตร
บทว่า อห วทามิ ความว่า เทวดาผู้อยู่ในไพรสณฑ์นี้นั้น ฟัง
โวหารของพวกภิกษุอยู่ป่าพูดกันว่า เราฉันอาหาร เรานั่ง บาตรของเรา จีวร
ของเรา เป็นต้น จึงคิดว่า เราสำคัญว่าภิกษุเหล่านี้ เป็นพระขีณาสพ ก็แต่ถ้อยคำอิงอาศัยความเห็นว่า เป็นคน เป็นสัตว์ ชื่อเห็นปานนี้ของพระขีณาสพ
ทั้งหลาย มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เพื่อจะทราบความเป็นไปนั้น จึงได้กราบทูล
ถามแล้วอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลสมีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน. บทว่า สมญฺญํแปลว่า คำพูด ถือเป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก.
บทว่า กุสโล แปลว่า ฉลาด คือ ฉลาดในธรรมมีขันธ์เป็นต้น. บทว่าโวหาร มตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่ เมื่อละเว้น ถ้อยคำ
อันอิงอาศัยความเห็นเป็นคน เป็นสัตว์แล้ว ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึง
สมควรที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้ จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์
ทั้งหลายย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวร
ของขันธ์ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใครๆ ก็
ทราบไม่ได้เพราะฉะนั้น พระขีณาสพ จึงไม่พูดเช่นนั้น ย่อมพูดไปตาม
โวหารของชาวโลกนั่นแหละ.