ขอถามองค์ธรรม ในพระสูตรนี้ครับ

 
Beckham
วันที่  14 มี.ค. 2549
หมายเลข  916
อ่าน  1,724
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณกายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่นเราอาศัยวิญญาณดังนี้
อยากทราบว่า "มโนวิญญาณ" ในสูตรนี้ องค์ธรรม ได้แก่อะไร?
_/I_ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2549

องค์ธรรมของมโนวิญญาณ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุ คือ จิต ๗๖ ดวง

(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิฉันนจิต ๒)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Beckham
วันที่ 16 มี.ค. 2549
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ

ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ฯ
ขอเรียนถาม องค์ธรรมของคำว่า "ใจ" และ "มโนวิญญาณ" ในพระสูตรนี้ด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 17 มี.ค. 2549

คำว่า ใจ ได้แก่ มโนทวาร คือ ภวังคุปัจเฉทะ ส่วน มโนวิญญาณ ได้แก่ จิต ๗๖ ดวงตามความเห็นที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Beckham
วันที่ 17 มี.ค. 2549

_/I_ ขอบพระคุณครับ ขอถามต่อนะครับ

ประโยค " เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ" ตามพระสูตรในคคห.ที่2 นี้ หมายถึง มโทวารวิถีจิต อย่างเดียว หรือหมายถึงทั้ง ปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 19 มี.ค. 2549

จิตทั้ง ๗๖ ดวง (มโนวิญญาณ) เกิดได้ทั้งทางปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
win
วันที่ 19 มี.ค. 2549

ความเข้าใจของผมต่อไปนี้ ถูกต้องหรือไม่? เพราะเหตุใด?แต่กรุณาอ่านช้าๆ นะครับ จะได้เข้าใจ....เวลาเราฝัน เราก็สามารถเห็นภาพ (ทางมโน) ได้ และจำภาพนั้นได้ด้วย จำสี จำหน้าได้ แสดงว่า เวลาที่ตากระทบรูป แล้วส่งสัญญาณไปทางกระแสประสาทในที่สุด ผู้ที่รับรู้ภาพนั้น ก็คือ "วิญญาณ หรือ จิต" นั่นเอง แสดงว่า ภาพที่ตาเราเห็นจริงๆ แล้ว ไม่ใช่ว่าภาพนั้นวิ่งเป็นสัญญาณอนาล็อก ทื่อๆ ไปแต่อย่างใด (แบบเราส่งวัตถุสีแดงด้วยมือ ไปให้เพื่อนรับ) แต่ความจริงสัญญาณภาพนั้น วิ่งเป็นแบบสัญญาณดิจิตอล (เป็นรหัสคลื่น) แล้วจิตก็แปลงสัญญาณที่มาจากประสาทตานั้นไปให้จิตเห็น (ด้วยมโน) อีกทีแบบเดียวกับภาพที่เห็นในความฝัน เพราะภาพที่เห็นด้วยประสาทตา และภาพที่เห็นในเวลาหลับ บางทีก็ชัดเจนพอๆ กัน และสามารถทำให้เราจำสีสันได้เท่ากัน แสดงว่า "ภาพ" ที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จริงๆ แล้วเราใช้จิตเห็น ไม่ได้ใช้ "ตา" เ ห็นแต่ประการใด... ใช่หรือไม่???

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 22 มี.ค. 2549

ตามหลักปรมัตถธรรมกล่าวถึงสภาพธรรม ๒ อย่าง คือ สภาพรู้ ๑ สภาพไม่รู้ ๑ จิต เจตสิก เป็นสภาพรู้ เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน จิตคิดนึก ความรู้สึก ความจำ และ ปัญญา เป็นต้น ส่วนรูปเป็นสภาพไม่รู้อะไร เช่น สี เสียง กลิ่น รส ความเย็นความร้อน ปสาทตา หู เป็นต้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ