ทำไมต้องเป็นสอง?
บางท่านกล่าวว่า ชีวิตของท่านมี ๒ อย่าง คือการอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติอย่างหนึ่ง และการนั่งสมาธิอีกอย่างหนึ่ง
.................................
ทำไมต้องสองอย่างล่ะคะ ทำไมไม่ใช่อย่างเดียวอะไรทำให้ต้องเป็นสอง แทนที่จะเป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ก็ยังมีทางที่จะติดอยู่ แล้วถ้าไม่รู้ว่าขณะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย เพราะถึงแม้ว่าจะไปนั่งสมาธิ ก็ไม่อาจที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติตามความเป็นจริงได้ แต่จะมีความพอใจ เพราะมีความรู้สึกว่า มีนามธรรมและรูปธรรมปรากฏให้รู้ชัดไม่ว่าจะเย็นในขณะนั้น ก็รู้ หรือไม่ว่าจะคิดนึก หรือไม่ว่าจะมีกลิ่นปรากฏ มีเสียงปรากฏ ก็ดูเสมือนว่า เป็นความรู้ชัด แต่ถ้าไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ทำขึ้น ด้วยความต้องการ แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วในขณะนี้ กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้อย่างนี้ ก็ไม่มีทางที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ แล้วก็ยังมีความพอใจที่จะทำสมาธิ เพราะคิดว่า ในขณะนั้นสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมชัด
.................................
แต่อย่าลืมว่า ไม่ใช่อารมณ์ชัด แต่ต้องเป็นปัญญาที่รู้ชัดในลักษณะของอารมณ์ที่กำลังปรากฏในขณะนี้จึงจะชื่อว่า รู้ชัด ไม่ใช่คอยไปเงียบๆ แล้วสิ่งใดเกิดปรากฏก็ว่าชัด แต่ในขณะนี้เอง ที่ชัด คือ ปัญญาสามารถรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดขึ้นแล้ว ตามเหตุตามปัจจัย ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ก็จะทราบได้ว่า หนทางไหน เป็นหนทางที่ถูก และหนทางไหน เป็นหนทางที่จะต้องอาจหาญ ร่าเริง เข้มแข็งที่จะไม่ติด เพราะการอบรมเจริญสติปัฏฐาน อย่าลืมนะคะ เพื่อละ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่รู้สึกว่าติด ขณะนั้นไม่ใช่การละ เมื่อไม่ใช่การละจึงไม่ใช่หนทาง และการละ ต้องเป็นการละด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นพิจารณา รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จึงจะละได้
บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ข้อความตอนจาก ... แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๑๐๔๒
หนทางปฏิบัติควบคู่เป็นสองด้วยโลภะ
เป็นหนทางที่ไม่มีวันมาบรรจบ
เพราะหนทางที่ผิด ย่อมไม่มีวันมาบรรจบกับหนทางที่ถูก
ขออนุโมทนาค่ะ
มหัศจรรย์ สุดยอดแห่งความจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์
หนทางเดียว ตรงที่สุด
ข้อความบางตอนจากคัมภีร์เนติปกรณ์กล่าวไว้ว่า"การได้ความเป็นมนุษย์ย่อมเป็นผู้มีกิจ (หน้าที่) ๒ อย่างคือกิจที่ควรและกิจที่ไม่ควรทีเดียวบุญทั้งหลายคือการละสังโยชน์เป็นกิจดี ควรทำ"ดังนี้.
....................................
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเหล่านี้มี ๒ อย่างความเพียร ๒ อย่างเป็นไฉน
บุคคลใดย่อมสละจีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ถวาย) ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ผู้ออกบวชจากเรือนนั้น บุคคลใดสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นการสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นวิราคะ นิโรธะ และนิพพาน."
เรียนท่านเจ้าของกระทู้ ขออนุญาติแสดงความเห็นที่ต่างไปจากกระทู้แต่เคยผ่านตา พระสูตรนี้จาก คัมภีร์เนติปกรณ์
และเห็นว่า คำว่า ๒ นั้น มีความหมายกว้างและหลากหลายและที่เหมือนกันคือ
"บุญทั้งหลาย คือการละสังโยชน์ เป็นกิจดี ควรทำ"