อุเบกขาคือวางเฉยธุระไม่ใช่ ปล่อยให้สัตว์ตายไปต่อหน้า

 
lichinda
วันที่  12 ก.ค. 2551
หมายเลข  9229
อ่าน  9,773

อุเบกขาในพรหมวิหารนี้ เราเรียนกันมาก็มาก ฟังพระเทศน์ก็บ่อย ไม่เข้าใจอยู่ดี เห็นสัตว์ตายต่อหน้าวางเฉยไม่ช่วยเหลือ ไม่เป็นไร แต่ถ้าเห็นคนจะตายไม่ช่วยเหลือละก็ ผิดกฎหมาย มีความผิดแน่ครับ ท่านจะว่ากระไรผมเคยฟังเทศน์ว่าบิดามารดาเป็นพรหมของลูก มีพรหมวิหาร ๔ มาฟัง "ตะแม่งๆ " ก็ตรงอุเบกขา นี่แหละ ขอไม่นำมากล่าวไว้ในที่นี้ แต่ขอฟังท่านผู้รู้โปรดแสดงความคิดเห็นไว้ให้แจ้งเถิด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 ก.ค. 2551

เรื่องอุเบกขาในพรหมวิหาร ๔ เป็นเรื่องของผู้ที่ฉลาดมีปัญญา ไม่ใช่ทั่วไปกับทุกคนคือ พรหมวิหารหมายถึงเครื่องอยู่ของท่านผู้ประเสริฐ มีถึง ๔ ประการ อุเบกขาเป็นข้อสุดท้าย คือ ก่อนจะมีอุเบกขาต้องผ่านการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตาเสียก่อน จึงจะเจริญอุเบกขาได้และท่านผู้ฉลาดจิตของท่านย่อมไม่เศร้าหมองเพราะ มีเมตตาหรือกรุณา ไม่ได้เท่านั้นท่านย่อมสามารถเจริญอุเบกขา คือพิจารณาความที่สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม จิตไม่เป็นอกุศล แต่ไม่ใช่ไม่กระทำการช่วยเหลือ โปรดศึกษาโดยละเอียดด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 ก.ค. 2551

กว่าจะไปถึงอุเบกขา เมตตาจะต้องหาประมาณไม่ได้ในสัตว์ทั้งปวงครับ ถ้ายังเลือกว่าจะไม่ช่วยสัตว์ใดๆ ควรจะช่วยแต่คน เพราะเดี๋ยวจะเป็นการไม่กระทำตามกฏหมาย อย่างนี้เมตตาก็ยังน้อย ยังจำกัดมาก ยังไม่แผ่ออกไปสู่สรรพสัตว์จริงๆ เหตุนี้ อุเบกขาจึงยังไม่ต้องกล่าวถึง เพราะที่กล่าวถึงโดยทั่วไปนั้น เป็นแต่การกล่าวถึงชื่อเท่านั้นครับคนไทยเรานำคำบาลีมาพูดให้เข้าเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันบ่อยเหลือเกินว่า ถ้าอะไรเกิด ควรจะนำธรรมะที่ดี อย่างพรหมวิหาร ๔ มาใช้ให้เป็น อย่างนั้นๆ แต่เราพูดไปโดยที่เราก็ไม่ได้เข้าใจหนทางในการเจริญพรหมวิหาร ๔ ที่ถูกต้องจริงๆ ว่าควรจะต้องเป็นไปเพื่ออะไร ซึ่งถ้าเข้าใจจุดประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพรหมวิหาร ๔ ไว้ทำไมการศึกษาธรรมของเราก็จะไม่หลงทาง และก็จะไม่คล้อยตามไปกับความเห็นของผู้อื่นที่ขาดเหตุผล ที่ไม่ได้มาจากศึกษาพระธรรมโดยละเอียด ที่เพียงนำมาจากการที่ตรึกที่คิดเองว่าเข้าใจแล้วมาพูด โดยที่อาจจะไม่รู้ว่า กำลังทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้นไปอีกอยู่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บรรพต
วันที่ 14 ก.ค. 2551

อุเบกขาบารมี ธรรมที่ทำให้ถึงฝั่ง คือ ความวางเฉยในสัตว์สังขาร

www.dhammahome.com/webboard/topic/8038

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lichinda
วันที่ 14 ก.ค. 2551

"ก่อนจะมีอุเบกขาต้องผ่านการเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตาเสียก่อน จึงจะเจริญอุเบกขาได้""กว่าจะไปถึงอุเบกขา เมตตาจะต้องหาประมาณไม่ได้ในสัตว์ทั้งปวงครับ" คำถาม " อุเบกขาในพรหมวิหาร มีกิจอะไรที่ต้องทำบ้าง กรุณายกตัวอย่างประกอบด้วยครับ? "

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2551

พรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ คือ เมตตา ความเป็นมิตร เป็นเพื่อน, กรุณา ความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์, มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดีและอุเบกขา ความเป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความรักหรือความชัง มีความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า มีสัตว์บุคคล เป็นอารมณ์ สภาพธรรมทั้ง ๔ ประการ เป็นกุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดีที่ควรจะอบรมเจริญในชีวิตประจำวัน โดยที่มีเมตตา เป็นเบื้องต้น เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีเมตตา ไม่มีความเป็นมิตรเป็นเพื่อนแล้วการที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ รวมถึงการที่จะมีความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ดี โดยไม่มีความริษยาเลยนั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

สำหรับกิจของอุเบกขานั้น ได้แก่ความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ คือ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง มีความเป็นไปเสมอ โดยเว้นการยินดียินร้ายคือ ไม่ยินดียินร้าย ดุจตาชั่งที่จับไว้เสมอกัน เวลาที่เห็นใครกระทำผิด เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ถ้าเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญอุเบกขา ก็จะมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง จะมีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่าผู้ที่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ผลที่ไม่ดีก็ย่อมจะเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นอย่างแน่นอน หรือแม้กระทั่งเวลาที่ได้รับในสิ่งที่ดี ที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ก็จะไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไป ด้วยอำนาจของโลภะความติดข้องยินดี พอใจ ครับ

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
PUM
วันที่ 15 ก.ค. 2551

อุเบกขา คือ ความวางเฉย ไม่ใช่ ดูดาย หมายความว่า ถ้าเห็นสัตว์กำลังได้รับความทุกข์ ได้พยายามช่วยแล้วแต่ช่วยไม่ได้หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยได้ ก็ต้องวางเฉย เพราะถือว่านั่นเป็นวิบากกรรมของสัตว์ ไม่ใช่เศร้าโศกตีโพยตีพายเพราะช่วยเขาไม่ได้ทำให้ใจตัวเองเป็นทุกข์

อุเบกขา ของพ่อแม่จะเห็นได้จากการที่ท่านอดทนอดกลั้น และไม่พยาบาทลูก แม้ลูกเผลอล่วงเกิน ทำให้เสียใจ ทำให้ผิดหวัง ยังคงรักและห่วใยลูกปราถนาดีต่อลูกเสมอ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมหลอกลวงประการหนึ่ง คือ ความเป็นผู้ไม่มีกรุณา ด้วยเหมือนเป็นผู้วางเฉยมีอุเบกขา อุเบกขาพรหมวิหารนั้นเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายดี ไม่ใช่อุเบกขาที่เป็นความรู้สึกที่เป็นเวทนาเจตสิกที่รู้สึกเฉยๆ ซึ่งความรู้สึกเฉยๆ นั้นเป็นอกุศลก็ได้ครับ ดังนั้นความวางเฉยที่เป็นอุเบกขาพรหมวิหารนั้น เกิดจากการที่เห็นสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น

ของๆ ตนไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ช่วยเหลือ ช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ครับ แต่เมื่อไม่สามารถช่วยได้มากกว่านี้ ก็มีปัญญาที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน เขามีกรรมที่จะต้องได้รับอย่างนั้น แต่การที่ไม่ช่วยดูเหมือนเป็นผู้มีอุเบกขาพรหมวิหาร แต่อาจเป็นธรรมหลอกลวงได้ เพราะเห็นแก่ตัว กลัวตัวเองเดือดร้อน มีอันตราย หรือไม่เป็นที่รัก เป็นต้น จึงเป็นความไม่มีกรุณานั้นเอง ดังนั้น กิจหน้าที่ของอุเบกขาพรมหวิหารคือความวางเฉยไม่เอนเอียงไปในทางอกุศลทั้งโลภะ โทสะ เป็นต้น เพราะเกิดจากปัญญาที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตนครับ แม้ตัวเขาและตัวเราเอง เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ

ขออนุโมทนาครับ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ก.ค. 2551

เรื่องราวของสิ่งที่เรียกว่า กฏหมายไม่ใช่สิ่งทีตัดสินสัจจธรรม สัจจธรรม คือกุศลต้องเป็นกุศล อกุศล ต้องเป็นอกุศลหากสติระลึกได้ในขณะนั้นๆ ย่อมทราบได้ด้วยตนเองว่า การกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งต่างๆ จิตขณะนั้นประกอบด้วยกุศลหรืออกุศล ซึ่งอาจเกิดดับสลับกันก็ได้ตามเหตุตามปัจจัย สะสมสิ่งใดมากก็จะไวในสิ่งนั้น ทุกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งพิสูจน์ปัญญา ที่เกิดจากการศึกษาพระธรรมตามเหตุตามปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 16 ก.ค. 2551
สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ