สัมปชัญญะเป็นอย่างไร?

 
lichinda
วันที่  14 ก.ค. 2551
หมายเลข  9246
อ่าน  3,147

สัมปชัญญะคือความรู้ตัวนั้น หมายถึงมีตัวตนที่รู้หรือ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัมปชัญญะเป็นปัญญา แต่ปัญญาก็มีหลายระดับ ขณะที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ก็เป็นปัญญาระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ปัญญาที่เรียกว่า สัมปชัญญะ

ดังนั้น สัมปชัญญะจึงเป็นขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ปัญญารู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นสัมปชัญญะ โดยสติทำหน้าที่ระลึก สัมปชัญญะทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ก.ค. 2551

สัมปชัญญะเป็นชื่อของปัญญาขั้นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ขณะที่จิตเป็นไปกับสมถภาวนาและสติปัฏฐาน ขณะนั้นชื่อว่ามีสติและสัมปชัญญะ ปัญญาขั้นทาน ศีลไม่ใช้คำว่าสัมปชัญญะ

สุตมยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง จินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา ภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา

ข้อความทั้งหมดอ้างอิงจากstudy......ดังนั้นจากคำถาม

สัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวนั้น หมายถึงมีตัวตนที่รู้หรือน่าจะสรุปว่าขณะที่เป็นสัมปชัญญะต้องไม่มีความยึดมั่นว่าเป็นตัวตนที่รู้ เพราะว่าสติปัฏฐานมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ไม่มีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ค. 2551

สัมปชัญญะคือ ความรู้สึกตัวในการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบสัมผัส การก้าว การเดิน การนั่ง การนอน การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นสติที่เกิดร่วมกับปัญญา แต่ไม่ใช่ตัวตนที่รู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lichinda
วันที่ 16 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
happyindy
วันที่ 18 ก.ค. 2551

* * * ขออนุโมทนาค่ะ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 20 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ก.ค. 2551

อ่านใน.. สัมปชัญญะ ๔ เรื่องสาตถกสัมปชัญญะ อ่านแล้วคิดเองว่าผู้ที่ยังไม่ละความเป็นตัวตนก็สามารถมีสาตถกสัมปชัญญะได้ ทำให้สงสัยคำตอบที่ว่าขณะที่มีสัมปชัญญะต้องไม่มีตัวตนที่รู้
ความเข้าใจที่ว่าถ้าพิจารณาเป็นขณะจิต ขณะที่ที่เป็นสาตถกสัมปชัญญะ ต้องมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมซึ่งไม่เกิดขึ้นพร้อมกับมิฉาทิฏฐิที่ยึดมั่นว่าเป็นตัวตน..ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ก.ค. 2551

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ ๕๐๙

สัมปชัญญะ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.
.................
สัมปชัญญะเป็นปัญญาเจตสิกหรือเป็นสัมมาทิฏฐิเจตสิก..?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 23 ก.ค. 2551

ตอบความเห็นที่ ๘

ถูกครับ มิจฉาทิฏฐิกับสัมปชัญญะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่หลังจากสัมปชัญญะดับไปแล้ว มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นยึดในกุศลได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 24 ก.ค. 2551

อนึ่ง สติย่อมไม่มีในอกุศลจิตเพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงไม่ถือเอา.

ถามว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่ระลึกถึงการงานอันตนกระทำบ้างหรือ?

ตอบว่า ย่อมระลึก แต่การระลึกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสติ เพราะอาการระลึกนั้น เป็นความประพฤติของอกุศลจิตอย่างเดียว ฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอาสติ.

ถามว่า เมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในพระสูตรจึงตรัสว่า มิจฉาสติ เป็นความระลึกเล่า?

ตอบว่า เพื่อจะทรงยังมิจฉัตตะแห่งมิจฉามรรคให้บริบูรณ์ เพราะอกุศลขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะเว้นจากสติและเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ จึงทรงทำเทศนามิจฉาสติไหวในพระสูตรนั้นโดยปริยาย แต่มิจฉาสตินั้นว่าโดยนิปปริยายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา อนึ่ง ปัญญา ย่อมไม่มีในจิตของอันธพาลนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา.

ถามว่า ความรู้ (ปญฺญา) เป็นเครื่องหลอกลวงของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีหรือ? ตอบว่า มีอยู่ แต่ความรู้เป็นเครื่องหลอกลวงนั้นไม่ชื่อว่า ปัญญา ความรู้นั้นชื่อว่าเป็นมายา ว่าโดยใจความ มายานั้นก็คือตัณหานั่นเอง

(พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ ๘)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 ก.ค. 2551

สัมมาทิฏฐิเจตสิกคือปัญญาเจตสิกไม่เกี่ยวข้องกับทิฏฐิเจตสิก

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคะ..

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prakaimuk.k
วันที่ 24 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ....สัมปชัญญะเป็นปัญญาเจตสิก เป็นกิริยาที่รู้ชัด โดยไม่มีตัวตน

เข้าไปรู้.....

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ludwig
วันที่ 24 ก.ค. 2551

แล้วอย่างนี้จะกล่าวได้หรือไม่ว่า.. มีสติรู้ตามธรรมเป็นปัญญาคือสัมปชัญญะ

อย่างนั้นสติตามกาย ตามเวทนา ตามจิต จะเป็นสัมปชัญญะได้หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอให้เริ่มเข้าใจพื้นฐานก่อนว่าสติคืออะไร ปัญญาคืออะไร ซึ่งก็เริ่มจากว่าธรรมคืออะไรก่อนครับ

เมื่อเข้าใจเบื้องต้นแล้ว ย่อมเป็นพื้นฐานในการเข้าใจการเจริญสติปัฏฐาน สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ รู้ตามความเป็นจริง ไม่มีตัวตนตามที่จะไปรู้ ไปตามระลึก เมื่อสติและสัมปชัญญะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ขณะนั้นก็รู้ทันสภาพธรรม ไม่มีตัวตนตามไปรู้ จึงควรพิจารณาว่า เมื่อสติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีสติและสัมปชัญญะด้วย สติทำหน้ที่ระลึก สัมปชัญญะ (ปัญญา) ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้ลองฟังเพิ่มเติมดังนี้ครับ

เชิญคลิกฟังได้ที่นี่ครับ ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง สติเป็นไฉน สติและสติปัฏฐาน ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Komsan
วันที่ 24 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
narisornpl
วันที่ 30 ก.ค. 2551

สติ กับ สัมปชัญญะ

สติ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ

สัมปชัญญะ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้

สติ กับ สัมปชัญญะ ในรูปแบบที่ข้าพเจ้าเข้าใจนั้น สติ คือ ความระลึกรู้ได้ (ความคิด) ส่วน สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกในขณะที่ระลึกรู้ หรือ คิดอยู่ “ความหมายที่ข้าพเจ้าแปลนี้มาจากความเข้าใจในการอ่านหนังสือธรรมะแปลออกไป” ซึ่งทั้งสองมีความต่อเนื่องสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันมาก นั้นคือ ขณะที่เรามีการคิดนั้นเราก็จะมีความรู้สึกกับการคิดของตัวเราเองด้วย ซี่ง การคิดนี้ผู้ที่คิดจะรู้สึกได้ว่าเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ, สุข หรือ ทุกข์, ดี หรือ ไม่ดี, ชอบ หรือ ไม่ชอบ, เฉยๆ หรือ ไม่เฉยๆ , ปล่อยวาง หรือ ไม่ปล่อยวาง ฯลฯ

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างต่อเนื่องจากข้างต้น ขณะที่เรามีสมาธิ (การให้ความสนใจ) ในการฟังอาจารย์สอนในห้อง จิตหรือสมองจะรับข้อมูลต่างๆ เข้ามาในจิตหรือสมอง แต่การที่เราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้นั้น เราต้องมีการคิดตาม (สติ) ถามตัวเองและใช้ความรู้สึก (สัมปชัญญะ) ว่าเราเข้าใจไหม เข้าใจอย่างไร หรือไม่เข้าใจ ซึ่งกระบวนการคิดต่างๆ เหล่านี้เรียกว่าสติสัมปชัญญะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ