ทุคตสูตร และ สุขิตสูตร - ๑๙ ก.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ก.ค. 2551
หมายเลข  9297
อ่าน  2,209

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๙ ก.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

๑. ทุคตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้เหมือนทุคตบุรุษ

และ

๒. สุขิตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้เหมือนบุคคลผู้มีความสุข

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๒๔


[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๒๔

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. ทุคตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้เหมือนทุคตบุรุษ

[๔๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบทุคตสูตรที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒


อรรถกถาทุคตสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในทุคตสูตรที่ ๑ แห่งทุติยวรรค ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุคฺคตได้แก่คนขัดสน คือ คนกำพร้า. บทว่า ทุรูเปตํ ความว่าทุคตบุรุษมีมือและเท้าไม่สมประกอบ.

จบอรรถกถาทุคตสูตรที่ ๑


[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๒๕

๒. สุขิตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้เหมือนบุคคลผู้มีความสุข

[๔๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ. . . เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบสุขิตสูตรที่ ๒


อรรถกถาสุขิตสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสุขิตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขิตความว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข คือ มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. บทว่า สุสชฺชิต ความว่า ประดับตกแต่งขึ้นคอช้าง คือมีบริวารมาก.

จบอรรถกถาสุขิตสูตรที่ ๒



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
opanayigo
วันที่ 19 ก.ค. 2551

ซาบซึ้งในความหมายอันลึกซึ้ง

เราควรกรุณาทุกคนเสมอเหมือนกัน ไม่ใช่เพราะเขาต่ำกว่าเรา หรือ เพราะเขาสูงกว่าเราเพราะอันเราเคยเป็นเช่นเขามาก่อนแล้วทั้งนั้น

กอปรกับฟังท่านอาจารย์สุจินต์บ่อยๆ เนืองๆ ยิ่งทำให้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้นตามกำลังปัญญาตนและการสะสมมา เมื่อเห็นถูกเกิดความละคลายทีละน้อยๆ

กราบท่านอาจารย์ด้วยความสำนึกยิ่ง

ขออนุโมทนาทีมงานทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 19 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พิสุทธิ์
วันที่ 2 ก.ค. 2559

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ