เจตสิก4

 
pratin
วันที่  18 ก.ค. 2551
หมายเลข  9300
อ่าน  2,023

ขอเรียนถาม เรื่องลักษณะของเจตสิก 4 ที่ว่า ...เกิดที่เดียวกับจิต1 ดับที่เดียวกับจิต1 รู้อารมณเดียวกับจิต1 เมื่อครบลักษณะ 3 ย่อมเป็นวัตถุเดียวกัน1 ขออภัยที่ถามโดยไม่ได้คัดลอกมา (จำมาจาก หนังสือปริเฉทที่ 2) ที่ไม่เข้าใจคือวัตถุเดียวกันคืออย่างไร ใช่วัตถุที่จิตอาศัยเกิดขึ้น? ขอขอบพระคุณในความกรุณาของทุกท่าน มา ณ ที่นี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 18 ก.ค. 2551

คำว่า วัตถุเดียวกัน ในที่นี้หมายถึง ที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เช่น จิตทางตาอาศัยจักขุปสาทรูปเกิด เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตนั้นก็อาศัยจักขุปสาทรูปเกิดเช่นกันโดยนัยเดียวกันนี้ วัตถุอื่นๆ ปสาทรูปหรือหทัยวัตถุก็เช่นเดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 18 ก.ค. 2551

วัตถุ เป็นรูปธรรมล้วนๆ (จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ) ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ครบทั้ง ๕ ขันธ์ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด
เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ประกอบกับจิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. เอกุปปาทะ (เกิดพร้อมกับจิต) ๒. เอกนิโรธะ (ดับพร้อมกับจิต) ๓. เอการัมมณะ (รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต) และ ๔. เอกวัตถุกะ (อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต)

จิตเห็น ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยจักขุวัตถุ เป็นที่เกิด

จิตได้ยิน ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยโสตวัตถุเป็นที่เกิด

จิตได้กลิ่น ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยฆานวัตถุ เป็นที่เกิด

จิตลิ้มรส ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยชิวหาวัตถุ เป็นที่เกิด

จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยกายวัตถุ เป็นที่เกิด

จิตที่เหลือ ต้องอาศัยหทยวัตถุ เป็นที่เกิด ครับ

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 18 ก.ค. 2551

จิตและเจตสิกเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ จิตเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกปรุง

แต่งจิต ให้ดีหรือไม่ดี เช่น มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย หรือ จิตโลภ จิตโกรธ

จิตหลง ฯลฯ ส่วนรูปทั้งหมดไม่ใช่สภาพรู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 2 โดย khampan.a วัตถุ เป็นรูปธรรมล้วนๆ (จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ) ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ครบทั้ง ๕ ขันธ์
จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด
เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ประกอบกับจิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. เอกุปปาทะ (เกิดพร้อมกับจิต) ๒. เอกนิโรธะ (ดับพร้อมกับจิต) ๓. เอการัมมณะ (รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต) และ ๔. เอกวัตถุกะ (อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต)

จิตเห็น ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยจักขุวัตถุ เป็นที่เกิด จิตได้ยิน ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยโสตวัตถุ เป็นที่เกิด จิตได้กลิ่น ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยฆานวัตถุ เป็นที่เกิด จิตลิ้มรส ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยชิวหาวัตถุ เป็นที่เกิด จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๒ ประเภทและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน อาศัยกายวัตถุ เป็นที่เกิด จิตที่เหลือ ต้องอาศัยหทยวัตถุ เป็นที่เกิด ครับ ...ขออนุโมทนาครับ...

ขออนุโมทนาครับ อธิบายได้ละเอียดดีมากครับ ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
happyindy
วันที่ 18 ก.ค. 2551

* * * ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 19 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาทั้งคำถามและคำตอบค่ะ....

ความรู้ทางธรรมะทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ละเอียด หรือแม้ข้อความสั้นๆ ก็มีประโยชน์มากเสมอ ในการเตือนใจและนำไปคิดพิจารณาเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ให้เกิดกุศลจิต เกิดความเข้าใจ เกิดปัญญาตามลำดับและทุกอย่างคือ สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 19 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Pararawee
วันที่ 21 ก.ค. 2551

อนุโมทนาที่เกื้อกูลความรู้ค่ะ......

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ