กุศลขั้นทาน ต่างกับกุศลที่เป็นการอนุโมทนาอย่างไร

 
dhamma_s
วันที่  17 มี.ค. 2549
หมายเลข  932
อ่าน  2,411

กุศลขั้นทาน ถ้าคิดในใจอย่างเดียว จะครบกรรมบถ คือนำปฏิสนธิไหม ถ้าไม่ แล้วกุศลขั้นการอนุโมทนาล่ะครับ อนุโมทนาในใจอย่างเดียวครบกรรมบถนำเกิดไหมครับ

แล้วถ้าในใจนำเกิดได้ กุศลขั้นทานคิดในใจอย่างเดียว นำเกิดได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่ได้เพราะเหตุใด แล้วกุศลขั้นอนุโมทนาทำไมถึงได้ แค่ทางใจเหมือนทาน

อธิบายโดยละเอียดและความแตกต่าง ของกุศลทั้งสองด้วยในเรื่องครบกรรมบถ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 20 มี.ค. 2549

กุศลขั้นทานจะครบเป็นทานต่อเมื่อ มีผู้ให้ ๑ มีสิ่งของที่จะให้ ๑ มีผู้รับของนั้น ๑ ต้องครบองค์ทั้ง ๓ นี้จึงเรียกว่า การให้ทาน คือ ถ้าเป็นเพียงคิดอยู่ในใจอย่างเดียว ไม่สามารถให้ผลนำปฏิสนธิได้ ต่างจากกุศลขั้นอนุโมทนา เพราะการอนุโมทนาเมื่อผู้อื่นมีการทำกุศลนั้นสำเร็จแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
dhamma_s
วันที่ 20 มี.ค. 2549

ยังสงสัยอยู่ การอนุโมทนา ก็เป็นเพียงทางมโนทวารเท่านั้น จึงเหมือนกับการคิด ที่จะให้แต่ยังไม่ได้ให้ก็เป็นทางมโนทวารเหมือนกัน ทำไมถึงครบกรรมบถ สำหรับการอนุโมทนาแต่การคิดในใจไม่ครบ ทั้งๆ ที่มโนทวารเหมือนกัน ถึงแม้การอนุโมทนาจะเป็นการอนุโมทนาที่บุคคลอื่นทำกุศลสำเร็จแล้ว นั่นเป็นการทำครบกรรมบถของบุคคลอื่น เป็นกุศลของคนอื่น (เป็นเพียงอารมณ์ของผู้อนุโมทนา) ส่วนบุคคลผู้ อนุโมทนา ก็เป็นทางมโนทวารเหมือนกันกับการคิดที่จะให้ ดังนั้นกรุณาอธิบายให้ ละเอียดอีกครั้งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 21 มี.ค. 2549

โดยทั่วไปเวลาเราอนุโมทนาบุญของผู้อื่น เราไม่เพียงอยู่ในใจเท่านั้น คือ มือ ก็ยกเหนือหัว ปากก็กล่าวว่าสาธุ หรือพูดว่าขออนุโมทนาด้วย ฉะนั้น เวลาท่านอธิบาย เป็นที่เข้าใจกันว่า บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา ก็ไม่ใช่เพียงอยู่ในใจเท่านั้น สำหรับเรื่องการให้ทาน จะสำเร็จเมื่อครบองค์จึงเรียกว่า ทาน ถ้าเพียงคิดในใจ ก่อนให้เป็นเพียงบุพเจตนาเท่านั้น เหมือนกับอกุศลกรรมบถข้อที่ ๑ ถ้าเพียงคิดจะฆ่า ยังไม่สำเร็จเป็นกรรมบถ เป็นเพียงบุพเจตนาเท่านั้น จะสำเร็จองค์กรรมบถเมื่อมีการฆ่าและสัตว์นั้นตายฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natnicha
วันที่ 21 มี.ค. 2549

แล้วการอนุโมทนาที่มีใจยินดีในกุศลของบุคคลอื่น แต่ไม่ได้ยกมือเหนือหัว และกล่าวว่าสาธุ ล่ะคะ? ซึ่งตัวเองนั้นมักจะรู้สึกยินดีเมื่อเพื่อนหรือพบเห็นใครที่ทำกุศลอยู่ แต่ก็ไม่เคยกล่าวอนุโมทนา หรือยกมือไหว้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 22 มี.ค. 2549

การอนุโมทนาในกุศลของผู้อื่นเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
dhamma_s
วันที่ 22 มี.ค. 2549
แสดงว่าการอนุโมทนาทางใจ ไม่ออกมาทางกาย วาจา ก็ไม่ครบกรรมบถ ใช่ไหมครับ ต้องออกมาทางกายวาจาเท่านั้น ถึงจะครบกรรมบถ เหมือนกับทานหรือครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prakaimuk.k
วันที่ 23 มี.ค. 2549

ขอร่วมสนทนากับคุณ dhammahouse นะคะ กระทู้น่าสนใจค่ะ

การอนุโมทนาทางใจในกุศลของคนอื่น (ซึ่งเป็นเพียงอารมณ์ของผู้อนุโมทนา)

เราคิดอย่างนี้ได้ไหมคะว่า กุศล (ของคนอื่น) อันนั้นได้สำเร็จเป็นกุศลกรรมบถแล้ว และเราอนุโมทนากุศลกรรมบถที่สำเร็จแล้ว ดังนั้น การอนุโมทนานี้จึงถือเป็นกุศลกรรมบถเช่นกัน เป็นกุศลกรรมบถทางมโนทวารค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
dhamma_s
วันที่ 23 มี.ค. 2549

ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า การอนุโมทนา ก็มีทั้งครบกรรมบถและไม่ครบกรรมบถขึ้นอยู่กับ อารมณ์ที่อนุโมทนาด้วย ถ้าอนุโมทนาในอารมณ์ที่ทำครบกรรมบถแล้ว การอนุโมทนา ก็ครบกรรมบถ ในนัยตรงกันข้าม ถ้าอนุโมทนา ในอารมณ์ที่ทำไม่ครบกรรมบถแล้ว การอนุโมทนาก็ไม่ครบกรรมบถ ถ้าเป็นอย่างนั้น คือ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ว่าครบกรรมบถหรือไม่ การที่เรายินดีในการฆ่าบุคคลอื่น การยินดีนั้นเป็นทางมโนทวาร และมีอารมณ์ที่ครบกรรมบถ การยินดีนั้น ที่ไม่ออกมาทางกาย วาจา ก็ครบกรรมบถใช่ไหม ครับ เพราะยึดเอาอารม์ที่ครบกรรมบถแล้วเป็นเกณฑ์ ดังนั้น การอนุโมทนาจะครบกรรมบถ ไม่ครบกรรมบถขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่ครบกรรมบถหรือครับ ช่วยแสดงข้อมูลในพระไตรปิฎกด้วยครับ ถ้ามี

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 24 มี.ค. 2549

ข้อมูลในพระไตรปิฎก ที่กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องอนุโมทนายังไม่พบ แต่ถ้าเป็นองค์ของอกุศลกรรมบถแต่ละข้อมีกล่าวไว้ชัดเจน ซึ่งผู้ตอบได้อธิบายตามหลัก องค์อกุศลกรรมบถ มีทั้งครบองค์และไม่ครบองค์ มีข้อที่น่าพิจารณาว่า ถ้าเราตั้งใจ ให้ทาน แต่ไม่มีผู้รับทาน การให้ทานก็ไม่สำเร็จ แต่มีผู้อนุโมทนาในการกระทำทาน นั้น บุญที่เกิดจากการอนุโมทนาจะสำเร็จเป็นกรรมบถหรือ ในเมื่อตัวผู้ให้เองยังไม่สำเร็จเป็นทาน สำหรับการยินดีทางใจเมื่อผู้อื่นทำอกุศลกรรมบถ กล่าวโดยนัย ของอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ไม่ครบองค์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
win
วันที่ 24 มี.ค. 2549

ตอนที่พระโพธิสัตว์ เคยเกิดในอดีตชาติ เป็นลูกชาวประมง เห็นเขาจับปลาได้เป็นจำนวนมาก แล้วพลอยยินดีกับเขาด้วย อย่างนี้เป็นการครบองค์กรรมบถหรือไม่? อย่างไรครับ? ทำไมจึงเป็นวิบาก ที่ติดตามมาถึงภพชาติสุดท้ายของพระพุทธองค์?

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
study
วันที่ 26 มี.ค. 2549

ข้อความโดยตรงมีดังนี้

เชิญคลิกอ่าน ... ยินดีกับการจับปลาได้จำนวนมากเป็นกรรมบถ

จากข้อความดังกล่าว มีโดยย่อว่า ได้ไปสถานที่ที่ฆ่าปลา ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้น ทำให้พระโพธิสัตว์เกิดในอบายภูมิ และชาติสุดท้ายทำให้ปวดศีรษะ กรรมนั้นนำเกิดในอบายได้ก็หมายถึงล่วงกรรมบถ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 24 ม.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ