เมื่อพบกันแล้วก็ควรเกื้อกูลกัน ดีกว่าโกรธกัน

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  22 ก.ค. 2551
หมายเลข  9328
อ่าน  2,212

บางคนฟังพระธรรมก็เห็นจริงว่า เกิดมาไม่นาน ก็ต้องจากโลกนี้ไป แต่ก็ยังผูกโกรธคนนั้นคนนี้ แล้วพระธรรมจะมีประโยชน์อะไร เมื่อพบกันแล้วก็ควรเกื้อกูลกัน ดีกว่าพบกันแล้วก็โกรธกัน แล้วก็ตายจากกันไปทั้งๆ ที่ยังโกรธกันอยู่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 23 ก.ค. 2551

โทสะนั้นมีความดุร้ายเป็นลักษณะ พึงเห็นเหมือนอสรพิษถูกประหาร มีการกระสับกระส่ายเป็นรส พึงเห็นเหมือนถูกยาพิษ อีกอย่างหนึ่ง มีการหม่นไหม้ นิสัยของตนเป็นรส พึงเห็นเหมือนไฟไหม้ป่า มีการประทุษร้ายเป็นปัจจุปัฏฐาน พึงเห็นเหมือนศัตรูได้โอกาส มีอาฆาตวัตถุเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นเหมือนน้ำมูตรเน่าเจือด้วยยาพิษฉะนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 ก.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 1 โดย study

ผู้ที่ดับความโกรธได้เป็นสมุทเฉท คือ พระอนาคามี ท่านจะไม่โกรธอีกเลยส่วนปุถุชน หรือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี เมื่อมีเหตุให้โกรธก็โกรธเป็นธรรมดา ควรระลึกรู้ตามเป็นจริงว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา วิธีบรรเทาความโกรธทรงแสดงไว้มากมายในพระไตรปิฎก ฟังเรื่องความโกรธ คลิกที่นี่ ฟังเรื่องอัตตสัญญาหรือความเป็นเรา คลิกที่นี่

ในขณะที่โกรธไม่สามารถที่จะเกื้อกูลใครได้ต้องระงับความโกรธก่อนและความโกรธย่อมค่อยๆ น้อยลง ตามกำลังของปัญญา

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prakaimuk.k
วันที่ 24 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ ความโกรธมีลักษณะดุร้ายจริงๆ แสดงออกให้เห็นชัดทั้งทางกาย และทางวาจาที่พ่นพิษออกมาดังอสรพิษจริงๆ แถมยังกระพือโหมเหมือนไฟป่ายากที่จะดับลงได้ง่ายๆ จนกว่าสติจะรู้ทันบ่อยๆ ขึ้น สามารถระลึกรู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เราจะรู้จักกันอีกไม่นานการเห็นกันครั้งนี้อาจเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายก็ได้ ควรทำดีต่อกันและให้อภัยกันเพราะไม่มีความอดทน (ขันติ) ทำให้เดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้าถ้าผู้มีคุณทำความเสียหายไม่ควรโกรธ แม้ผู้ไม่มีคุณทำผิดก็ยิ่งควรสงสารเป็นพิเศษ

ถ้าไม่มีผู้ทำให้เสียหาย ขันติสัมปทาของเราจะเกิดได้อย่างไร ทุกคนก็ยังมีกิเลส แม้คนที่ทำผิดและแม้ตัวเราเองก็ผิดพลาดเหมือนเขาได้ จะห่างไกลกันด้วยความเป็นมิตรหรือใกล้ชิดด้วยความเป็นศัตรู

เพราะเป็นธรรมฝ่ายดี (ขันติ) จึงไม่มีคำว่าสาย เมื่อเห็นประโยชน์ที่จะอบรม ไม่ใช่ทุกคนจะมีแต่ความไม่ดี ใครไม่ชอบเรา กิเลสของเขา ส่วนเรามีความเป็นมิตรด้วยใจจริงได้ โกรธบุคคลอื่น ใครทุกข์ ตัวเองหรือบุคคลอื่น ควรสงสารคนที่ทำผิดหรือทำความเสียหายให้เพราะเขากำลังสร้างเหตุที่ไม่ดี ถ้าสะสมความผูกโกรธ ความไม่เป็นมิตร ชาติหน้าก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีไม่ได้ ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ดับไปใน ขณะนั้นเอง บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่ใครเพราะธรรมทั้ง ปวงเป็นอนัตตา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 24 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nity
วันที่ 23 มี.ค. 2554

ใครไม่ชอบเรา (ก็เป็นกิเลสของเขา) ก็เป็นความไม่ดีของเราเหมือนกันใช่ไหมคะ ที่ทำให้เขาไม่ชอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 24 มี.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๘

ไม่แน่ครับ คนไม่ชอบกัน แม้เขาทำความดีก็ไม่ชอบเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ