วิปลาส เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ ดวง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ก.ค. 2551
หมายเลข  9334
อ่าน  13,057

ความคลาดเคลื่อน ความตรงกันข้าม ความผันแปร หมายถึง ความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงด้วยอาการ ๓ ที่เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น คือ

สัญญาวิปลาส ๑

จิตตวิปลาส ๑

ทิฏฐิวิปปลาส ๑

วิปลาส ๓ นี้ เป็นไปในอาการ ๔ คือ

ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑

ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑

ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑

จึงกลายเป็นวิปลาส ๑๒ อย่าง คือ

๐๑. สัญญาวิปลาส จำผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

๐๒. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

๐๓. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้

๐๔. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันจึงละได้

๐๕. จิตตวิปลาส คิดผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

๐๖. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

๐๗. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันจึงละได้

๐๘. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้

๐๙. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่ารูปเป็นงาม พระโสดาบันละได้

๑๐. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระโสดาบันละได้

๑๑. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันละได้

๑๒. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้

พระโสดาบันและ พระสกทาคามี ละวิปลาสได้ ๘ ประเภท คือ

สัญญาวิปลาสในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑

ในธรรมที่เที่ยง ๑

จิตตวิปลาสในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑

ในธรรมที่เที่ยง ๑

ทิฎฐิวิปลาสในอาการทั้ง ๔

พระอนาคามี ละวิปลาสได้อีก ๒ คือ

สัญญาวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑

จิตตวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑

พระอรหันต์ ละวิปลาสที่เหลือทั้งหมดอีก ๒ คือ สัญญาวิปลาส และจิตตวิปลาส ในเวทนาที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๒ อกุศลจิตทุกดวง เป็นจิตตวิปลาสอย่างหนึ่ง ในอาการ ๔ สัญญาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทุกดวง เป็นสัญญาวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตทิฎฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง เป็นทิฏฐิวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละวิปลาสทั้ง ๔ แต่ไม่ควรเจาะจงละวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะว่าทุกท่านที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลย่อมมีวิปลาสครบทั้ง ๔ ขณะที่สติปัฎฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยความเป็นอนัตตา เพราะความเข้าใจจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง จึงเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติฯ เกิดขึ้น ขณะนั้นย่อมเป็นสติปัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ และความเข้าใจสภาพธรรมที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ก็ย่อมค่อยๆ ละคลายวิปลาสนั้นๆ จนกว่าจะละได้เด็ดขาดเมื่อมรรคจิตเกิดขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 26 ก.ค. 2551

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 12 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 11 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 27 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 23 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลธรรมทานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
มกร
วันที่ 16 มิ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Kitipornchai.c
วันที่ 13 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ