การแก้บน ไปบนบานศาล ขอให้ได้ที่ต้องการ

 
oom
วันที่  25 ก.ค. 2551
หมายเลข  9370
อ่าน  5,072

มีน้องที่ทำงาน เขาต้องการที่จะย้ายห้องทำงานใหม่ จึงไปบนบานศาลกล่าว ขอให้ได้ห้องที่ต้องการ และก็ได้ตามนั้น ซึ่งกรณีนี้ดิฉันคิดว่าไม่ต้องบนก็ได้อยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องงาน ถ้าผู้ใหญ่เห็นควรย้ายก็ต้องได้อยู่แล้ว ไม่เห็นต้องไปบนบานอะไรเลย แสดงว่าน้องคนนี้ขาดปัญญาหรือไม่ จึงต้องทำแบบนั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 ก.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
oom
วันที่ 25 ก.ค. 2551
วันนี้น้องที่ได้สมใจ จากการบน ตามความเชื่อได้แก้บนด้วยไข่ต้มจำนวน 100 ฟอง
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 ก.ค. 2551

เรื่องความประพฤติของผู้อื่น ถ้าเราห่วงใยเขาด้วยความหวังดี ก็เป็นกุศลจิตครับ แต่จิตของผู้อื่น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะนำเอาสิ่งที่เขาแสดงออกมาให้เห็นภายนอก มาคิดวิเคราะห์ แล้วก็ตัดสินว่าเขามีปัญญาหรือขาดปัญญา เพราะต้องอาศัยการสนทนาธรรมอาศัยการฟังการแสดงความเห็นของเขาในหลายๆ อย่างว่าถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ด้วย เพราะทุกคนที่ยังเป็นปุถุชน ย่อมมีความเห็นผิดไปต่างๆ นาๆ ตามการสะสมได้แต่ไม่ลืมว่าเป็นคนละส่วน ไม่ปะปนกันกับปัญญา ปัญญาต้องเกิดกับจิตที่ดีเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 25 ก.ค. 2551

การบนบานศาลกล่าว เป็นมงคลตื่นข่าว ถ้าเรามั่นคงในเรื่องของกรรม ไม่ว่าเราจะ ได้อะไรมา หรือสูญเสียอะไรไป ทุกอย่างไม่พ้นไปจากกรรมที่เราทำเองค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 ก.ค. 2551

ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมจะไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่งการกระทำด้วยความไม่รู้จึงมีให้เห็นกันทั่วๆ ไปแต่หากมั่นคงเรื่องกรรมและผลของกรรมไม่มีใครบันดาลอะไรให้ใครได้ ไม่มีใครต้องการไข่ต้ม ๑๐๐ ฟองสรุปก็คือ ไม่มีใครทั้งนั้นเป็นเหตุที่สมควรแก่ผลคือ วิบากที่เกิดจากกรรมเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปที่เหลือ คือ เรื่องราวคามเห็นจาก คนประมาท.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เหตุดี ผลย่อมดี เหตุไม่ดี ผลย่อมไม่ดี อะไรคือเหตุดี คือกุศลกรรม คือเหตุดี อะไรคือเหตุไม่ดี อกุศลกรรมคือ เหตุไม่ดี ดังนั้น เมื่อได้รับผลของกรรมที่ดี จึงต้องมั่นคงว่าเกิดจาก เหตุคือกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ แต่ไม่ใช่เหตุคือการขอ หรือใครบันดาลให้ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ซึ่งหากไม่มั่นคงในเรื่องของกรรม และไม่รู้จักว่าอะไรเป็นเหตุ (กุศลหรืออกุศล) อะไรเป็นผล (วิบาก) แล้ว ก็จะสับสน ทำให้เข้าใจผิดได้ว่า สิ่งที่ไม่ใช่เหตุคือ ไม่เป็นกุศลที่ทำไปในปัจจุบัน (บนบาน) ทำให้เกิดผลคือวิบากที่ดี ทั้งๆ ที่วิบากที่ดีที่ได้รับเป็นผลของกุศลที่ทำในอดีต ไม่ใช่เป็นผลมาจากการกระทำที่ไม่ใช่เหตุคือ กุศล เช่น การบนบาน เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 ก.ค. 2551

ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎกในเรื่อง บนบานและความเชื่อที่แสดงถึงความไม่มั่นคงในเรื่องของกรรมเช่น ในเรื่อง มหาสุตตโสมชาดก พระยาโปริสารท ถูกคนติดตามล่า เหยียบตอไม้ เป็น

แผลที่เท้า จึงบนบานกับเทวดาที่ต้นไทรว่า ถ้าแผลหายจะเอาเลือดในลำคอกษัตรย์มาบูชา แผลที่เท้าหายใน 7 วันเพราะไม่ได้ทานอาหาร แต่พระยาโปริสารทสำคัญผิดว่าเพราะอานุภาพของเทวดา (พระไตรปิฎก เล่ม 62 หน้า 662)

อีกเรื่อง ประวัติ เรื่องป่าทัณฑกี มีดาบสผู้หนึ่งอาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน คราวนั้นมีหญิงโสเภณีประจำเมืองถูกพระราชาปลดจากตำแหน่งก็เสื่อมยศ นางจึงเดินไปทั่วพบพระฤาษีผู้ทรงคุณ แต่ท่านหนวดเครา รกรุงรัง ดูไม่น่าดู นางจึงคิดว่าเจอตัวกาลกรรณี จึงล้างลูกตาตัวเอง ถ่มน้ำลายรดฤาษีแล้วหลีกไป วันนั้นเองพระราชานึกถึงนางจึงมอบตำแหน่งคืนให้ นางกับมียศดังเดิม จึงสำคัญผิดว่าเพราะเราทำสิ่งนี้กับฤาษีจึงได้ตำแหน่ง จริงๆ แล้วนางอาศัยกรรมดีที่เคยทำไว้จึงได้ตำแหน่งคืน ต่อมาปุโรหิตถูกถอดจากตำแหน่งก็ไปถามนางว่าทำอะไรจึงได้ตำแหน่งคืน นางก็บอกว่าทำกับฤาษีอย่างนี้ ปุโรหิตจึงทำบ้าง ซึ่งก็ได้ตำแหน่งคืนจริงๆ แต่จริงๆ แล้วเขาได้เพราะผลบุญแต่ครั้งก่อนที่ทำให้ผล เมื่อคนรู้ข่าวและพระราชาสั่งให้ทำ ก็ทำกับฤาษี ด้วยการถ่มน้ำลายมากมาย ต่อมา เทวดาโกรธที่ทำกับผู้มีคุณอย่างนั้นจึงบันดาล ฝนดาบ ฝนเพลิงต่างๆ มากมาย ถล่มเมืองจนกลายเป็นป่าไป ชื่อป่าทัณฑกี (พระไตรปิฎก เล่ม 20 หน้า144)

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prakaimuk.k
วันที่ 26 ก.ค. 2551

บุคคลขาดที่พึ่งจึงบนบาน พระธรรมและการศึกษาพระธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาเป็น ของตัวเองเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่ง เป็นเกาะ เพี่อให้ไม่หวั่นไหวในความเชื่อต่างๆ ที่ผิดไป จากเหตุและผล ขออนุโมทนาทุกๆ ความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 26 ก.ค. 2551

สาธุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย [เล่มที่ 42] คาถาธรรมบท (บางส่วน) เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๒๗๗

มนุษย์เป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะนั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดมเพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 26 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 27 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 13 ก.พ. 2558

ขอกราบนมัสการอย่างสูงสุดแด่พระรัตนตรัย

ขอบพระคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่งในความเห็นของทุกๆ ท่านที่เป็นประโยชน์ ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
kullawat
วันที่ 13 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
thilda
วันที่ 13 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็จะมีความเชื่อผิดๆ เกือบทั้งหมดเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
peem
วันที่ 14 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Jarunee.A
วันที่ 10 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ